หน้าเว็บ

นายอนุสรณ์ วิเศษวงษา รหัส 5210125401029 เอกการจัดการทั่วไป

ทฤษฎีผู้นำ ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย


ซีอีโอต้องเป็นผู้รอบรู้ ขณะเดียวกันจำเป็นต้องรู้ด้วยว่าตัวเองไม่รู้เรื่องอะไร แม้จะไม่รู้แต่ต้องไม่บอด


หลายคนรู้ว่าใครๆ ก็สามารถรับบทผู้นำได้ หากแต่คงไม่ง่ายเลยสำหรับความสำเร็จ และบ่อยครั้งไปที่คนเรามักจะฝันลมๆแล้งๆอยากเก่ง อยากเด่นอยากดัง เช่นเดียวกับ big shot อย่างสตีฟ จ็อบผู้ล่วงลับ บิลเกตต์ แจ๊ค เวลส์ ฯลฯ


แล้วจะมีใครสักกี่คนบนโลกใบนี้ที่ฝันไกลแล้วเป็นไปได้จริงๆ


ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย กรรมการและประธานกรรมการบริหารธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) ในฐานะต้นแบบผู้นำองค์กรชั้นนำของประเทศไทย กล่าวว่า ทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้ ในข้อแม้ที่ต้องเป็นอะไรที่ไม่ไกลตัวหรือต้องคาดหวังได้สุดมือสอยก็ปล่อยมันไป คำสอนของท่าน ว.วชิรเมธี ก็ว่าไว้เช่นนั้น


ดร.วิชิต บอกว่า ไม่มีห้องเรียน ไม่มีสูตรสำเร็จที่สอนความเป็นสุดยอดผู้นำ


หากดูประวัติการศึกษา เขาจบระดับมัธยมจากโรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และไปเรียนต่อสาขาเดียวกันที่เบิร์กเลย์ สหรัฐอเมริกา เมื่อจบก็ต่อปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจ (M.B.A.) ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส (U.C.L.A.) และตามด้วยปริญญาดุษฎีบัณฑิต (Ph.D.) ด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน


" ทุกวันนี้ผมแทบจะจำเนื้อหาที่เรียนมาไม่ได้เลย เช่นผมเรียนวิศวะเครื่องกล แต่ถ้าให้ดูเรื่องเครื่องยนต์กลไก หรือกระทั่งให้เปลี่ยนยางรถยนต์ก็แทบจะทำไม่ได้ " เป็นการสื่อความว่าการศึกษาไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่สุด


แม้แต่ เอ็มบีเอ หลักสูตรท้อบฮิตที่ผู้บริหารขององค์กรไซส์ใหญ่หรือเล็ก ทั้งภาครัฐหรือเอกชนต่างไม่พลาด รวมถึงดร.วิชิตเอง แต่เขาก็ยังให้คุณค่ามันน้อยมาก อย่างไรก็ดีคุณค่าสูงสุดที่เขาได้รับจากเอ็มบีเอก็คือ เครือข่าย หรือ Networking ทำนองเดียวกับคำกล่าวที่ว่า ชีวิตคนเราจะประสบความสำเร็จได้ อยู่ที่ว่าเรากินข้าวกินกับใคร เรียนกับใคร ใช้ชีวิตกับใคร


"เพื่อนๆ ในห้องเรียนเอ็มบีเอล้วนมีพื้นฐานด้านธุรกิจทุกคน เพื่อนคนนี้เก่งด้านการตลาด คนนั้นด้านการขาย อีกคนด้านการเงิน พอพวกเราได้พูดคุยกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ตรงนี้กลับได้ความรู้เยอะมาก "


เขาฟันธงว่าการก้าวเป็นผู้นำโดยเฉพาะตำแหน่งซีอีโอบริษัทยักษ์ใหญ่ต้องมีเครือข่าย ถ้าเป็นคนที่มีมุมมอง หรือประสบการณ์แคบๆ หรือเก่งแค่ด้านใดด้านเดียว คงเป็นได้แค่ Specialist เท่านั้น


เพราะซีอีโอต้องเป็นผู้รอบรู้ ขณะเดียวกันจำเป็นต้องรู้ด้วยว่าตัวเองไม่รู้เรื่องอะไร แม้จะไม่รู้แต่ต้องไม่บอด


"อย่างน้อยเราต้องรู้ว่าเราไม่รู้ การขึ้นบริหารงานระดับสูง ซีอีโอไม่ได้รู้เรื่องทุกเรื่อง แต่ซีอีโอต้องมี Sense รู้ว่าอะไรที่ขาดและควรจะหาได้จากที่ไหน ควรหาใครมาเสริมสิ่งที่ขาด อันนี้สำคัญ"






ทว่า การศึกษายังมีความจำเป็น และจะดีที่สุดหากจะเติมในสิ่งที่กำลังขาด


ดร.วิชิตยกตัวอย่างระบบการศึกษาที่น่ายกย่องของประเทศเยอรมันนี ซึ่งแม้ประเทศนี้จะไม่มีธุรกิจยักษ์ใหญ่เหมือนกับสหรัฐอเมริกา แต่ที่ผ่านมาบริษัทขนาดกลางของเขาขึ้นชื่อเป็น The Best ของโลก ทั้งนี้เนื่องจากเยอรมันโฟกัสการศึกษาระดับอาชีวะ ซึ่งผลิตคนให้คำนึงถึงเรื่องคุณภาพเป็นสำคัญ อีกทั้งเมื่อทำงานแล้วธุรกิจยังมีโปรแกรมพัฒนาพนักงานทุกปีอย่างต่อเนื่อง



ดังนั้นผู้นำในความหมายของดร.วิชิต จึงมีหน้าที่สร้างและพัฒนาคนด้วย


" เราต้องเติมความรู้ให้คนอย่างต่อเนื่อง ยิ่งในวันที่โลกเปลี่ยนไป วิธีคิดของคนเปลี่ยนไป การตลาดเปลี่ยนไป และเราจะต้องทำเรื่องนี้ให้เป็น DAY-TO-DAY ไม่ใช่เรียนจบแล้วก็จบกัน ซึ่งผลลัพท์จะช่วยทำให้คนสามารถปรับตัวเองและสนุกกับการเรียนรู้ใหม่ๆ ได้"



การพัฒนาคนของธนาคารไทยพาณิยช์ จึงเป็น journey ที่จะไม่มีวันสิ้นสุด


" ถามว่าอยากจะเห็นอะไรเกิดขึ้นที่ไทยพาณิชย์ สำหรับผมไม่ใช่กำไรที่มากที่สุด แต่แน่นอนถ้าทำได้ก็น่าดีใจ น่าภูมิใจ แต่ที่เป็นความฝันจริงๆ ก็คือ ผมอยากให้ที่นี่เป็นองค์กรที่คนมันสมองดีอยากเข้ามาทำงานด้วย"



เข้าข่ายเดียวกับ Employer of Choice และเขายอมรับว่าคนเก่ง คนหัวดีไม่อยากทำงานกับแบงก์ไทย เพราะไม่โก้ ไม่หรู ไม่เท่ห์ ฯลฯ


"ถามว่าทำไม? เราจ่ายเงินน้อยกว่าหรือ ก็ไม่ใช่ คนเก่งหางานที่ไหนก็ได้ แต่คนเก่งหาโอกาสในการพัฒนาตัวเอง หาโอกาสได้แสดงฝีมือต่างหาก


เราให้เขาได้หรือเปล่า ดังนั้นสิ่งที่จะดึงเขามาได้ เราจะต้องเป็นองค์กรที่มีเวทีให้เขาได้แสดง ได้มีโอกาสในการพัฒนาต่างหาก"






ดร.วิชิตบอกว่า Mission ในการมาบริหารธนาคารไทยพาณิชย์ของเขาก็คือ สร้างธนาคารแห่งนี้ให้เติบใหญ่ โดยชวนคนเก่งให้มาช่วยกันสร้าง



" พอสร้างใหญ่ขึ้น เค้กก็ใหญ่ขึ้น และโอกาสก็จะใหญ่ขึ้นด้วย ทุกคนที่เข้ามาช่วย ก็มีที่ไป มีโอกาสเติบโต ในวันนี้เราเลยได้แต่คนเก่งๆ เข้ามาทำงานด้วย"






องค์กรยิ่งโต ยิ่งดัง ก็ยิ่งดึงดูดคน ตรงกันข้ามกับองค์กรยิ่งชื่อเสีย มีข่าวลบ ใครๆ ก็อยากทำงานที่ Apple แต่กับ Blackberry ในวันนี้เป็นคนละเรื่องเดียวกัน



สำหรับดร.วิชิต ความท้าทายใหญ่หลวงของความเป็นผู้นำก็คือ โอกาสของธุรกิจ



" การบริหาร Blackberry ยากกว่าธุรกิจที่เติบโตได้ ผมเองยังมองว่าหากได้เข้าไปบริหารก็อาจไม่สำเร็จเหมือนกัน คงนั่งปวดหัวว่าต้องทำอย่างไร ผมว่ามันแก้ไขยากมาก ผิดกับธนาคารไทยที่ยังโอกาสอีกมาก"


ในวันข้างหน้าของธนาคารไทยพาณิชย์ ดร.วิชิตบอกว่ามันจะมีการเปลี่ยนแปลงต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง แม้ในความเป็นจริงธนาคารแห่งนี้จะมีอายุเก่าแก่ที่สุดก็ตามที






แต่ในทุกสัมผัสของลูกค้าต้องรู้สึกว่าธนาคารแห่งนี้ดูหนุ่ม สาว และต้องใหม่กว่าใครเพื่อน นี่คือหัวใจความสำเร็จ






" มันเป็นหน้าที่ของผู้นำที่ต้องตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่แน่นอนคือโลกเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน ซึ่งเราต้องรู้ว่ามันเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร อะไรที่เปลี่ยนไปบ้าง และธุรกิจของเราจะปรับตัวอย่างไร"



ผู้นำจะต้องรู้ว่าตัวเองไม่รู้






" ยากที่สุดคือตอนที่เราประสบความสำเร็จสูงสุด จนหลงละเริง ดังเช่น โซนี่ หรือ โนเกีย ทำให้ไม่รู้ว่าถึงเวลาที่ต้องปรับปรุง จำเป็นต้องปรับปรุง จะรู้ได้อย่างไร เราต้องไปดูตลาดอื่น ไปศึกษา ไปสอบถามลูกค้าของเราว่าเขาพร่ำบ่นเรื่องอะไร ทำไมเขาฝากเงินกับเรา ทำไมเขาไม่อยู่กับเรา"



โลกนี้ไม่มีทุกอย่างที่ดีเลิศแล้ว รวมถึงหนังสือของ Andy Grove's ที่ชื่อ Only the Paranoid Survive หรือผู้ตื่นตัวเท่านั้นที่อยู่รอด คือ สิ่งเตือนใจสำคัญที่สุดของเขา






ทว่าผู้นำที่ตื่นตัวก็อาจทำให้ลูกน้องตื่นตระหนก ดร.วิชิตบอกว่าที่ดี คือพยายามทำให้ลูกน้องตื่นเต้นและสนุก จนทำให้พวกเขาทั้ง Work Hard และ Work Smart






"ในทุกการเปลี่ยนแปลงของไทยพาณิชย์ที่ผ่านผมคิดไม่ออกว่าพึงพอใจเรื่องไหน เพราะทำมาหลายอย่างเยอะมาก สำหรับผมจะให้คิดว่าทำอะไรดีนึกไม่ค่อยออก แต่ให้คิดว่ายังขาดอะไร เยอะไปหมด สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตผมจะไม่ดูเลย ผมสนใจอนาคตตลอดเวลา เรายังขาดอะไร โอกาสที่ยังมีอยู่คืออะไร อยู่ในหัวตลอด เลยทำให้พนักงานเดือดร้อนไง"



และสิ่งหนึ่งที่ในความเป็นผู้นำจำเป็นต้องมี แม้เป็นเรื่องที่เสียหน้าก็คือ รับผิดให้เป็น






"อย่างธุรกิจครอบครัว ผมเลิก ขายทิ้งหมด เพราะคิดแล้วว่าไปไม่รอด เราต้องรู้จัก Cutloss เลิกเป็นเลิกนะ ดื้อไปไม่มีประโยชน์ ผมมาทำที่ไทยพาณิชย์ผมก็ทำผิดไปหลายอย่าง ถูกก็มีผิดก็มี "










อ้างอิง


ทฤษฎีผู้นำ.(ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.bangkokbiznews.com


๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕

ไม่มีความคิดเห็น: