หน้าเว็บ

นายอนุสรณ์ วิเศษวงษา รหัส 5210125401029 เอกการจัดการทั่วไป



แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการ

การจัดการ (management) เป็นกระบวนการของการวางแผน การอำนวยการและ การควบคุม เพื่อให้งานนี้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ซึ่ง ชุชาติ ประชากล (2513, หน้า 4-6) ได้อธิบายว่า

ประการแรก คือ การวางแผน การตั้งนโยบายของกลุม วางวัตลุประสงค์และ โครงการสำหรับอนาคต

ประการที่สอง คือ การจัดมอบหมายความรับผิดชอบเฉพาะอย่างให้กับแผนกต่าง ๆ และระดับต่าง ๆ ทั้งทีมผู้ทำงาน การใช้ทรัพยากรที่มีอย่อย่างมีประสิทธิภาพ

ประการที่สาม ได้แก่ การควบคุมงานนั้น คือ การนำทางและเป็นผู้ชี้แนะทางให้ เกิดความสะดวกในการตรวจสอบการปฏิบัติงาน และโดยการควบคุมนี้ผู้จัดการสามารถ พบวา ได้มีการทำอะไรบัางเพื่อตอบสนองต่อวัตถประสงค์และการมอบหมายงาน การบริหาร หมายถึง ใช้ศาสตร์และศิลป์ในการนำเอาทรัพยากรการบริหาร (administrative resource) มาประกอบกันขึ้นให้เป็นไปตามกระบวนการทางการบริหาร (process of administration) เพื่อให้บรรลุวัตลุประสงค์ที่กัาหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ(สมพงษ์ เกษมสิน, 2514, หน้า 13-14)

การบริหาร หมายถึง การทำงานของคณะบุคคล (group) ตั้งแต่สองคนขึ้นไปที่ ร่วมกันปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน ฉะนั้นคำว่าการบริหารนี้จึงใช้สำหรับแสดง ให้เห็นลักษณะการบริหารงานแต่ละประเภทได้เสมอแล้วแต่กรณีไป แต่ถ้าเป็นการทำงาน โดยบุคคลคนเดียวเรียกว่า เป็นการทำงานตามธรรมดาเท่านั้น (ชุบ กาญจนประกร อ้างถึงใน สมพงษ์เกษมสิน,2514, หน้า 13)

จากความหมายของการบริหารดังกล่าวมาแล้ว จะเห็นว่าการบริหารมีลักษณะเด่น เป็นสากลอยู่หลายประการ คือ (สมพงษ์เกษมสิน,2514, หน้า 14)

1. การบริหารยอมมีวัตถุประสงค์

2. การบริหารอาศัยปีจจัยบุคคลเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุด

3. การบริหารฅ้องใช้ทรัพยากรทางการบริหารเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน

4. การบริหารมีลักษณะการดาเนินงานเป็นกระบวนการ

5. การบริหารเป็นการดำเนินงานร่วมกันของกลุ่มบุคคล

6. การบริหารมีลักษณะเป็นการร่วมมือกันดำเนินงานอย่างมีเหตุผล



บรรณานุกรม

สมพงษ์ เกษมสิน. (2514). การบริหาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เกษมสุวรรณ.

อมร รักษาสัตย์และขัตติยา กรรณสูต. (2515). ทฤษฎีและแนวความคิดในการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.


ไม่มีความคิดเห็น: