หน้าเว็บ

นางสาวนพมาศ พิณทมร รหัส 5210125401067 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4

บทที่ 4 เขียนขึ้นโดย มาร์แชล โกลด์สมิท กูรูทางด้านผู้นำเชิงกลยุทธ์ กล่าวถึงคุณลักษณะที่เป็นหัวใจหลักของผู้นำแห่งอนาคตหรือผู้นำยุคหน้าเพียง 5 ข้อ
คุณสมบัติหลัก 5 ประการของผู้นำแห่งอนาคต
1.ต้องคิดถึงภาพรวมโลก (Thinking Globally) – การทำธุรกิจในอดีตต่างจากปัจจุบันและอนาคต ทุกสิ่งในโลกเชื่อมถึงกันหมดจากการพัฒนาการสื่อสาร ถ้าจำกันได้ ภาวะการเงินต้มยำกุ้งในบ้านเราส่งผลกระทบไปทั่วภูมิภาคและทั่วโลกอย่างรวดเร็ว และในอนาคตการเปลี่ยนแปลงของตลาดทั่วโลกจะมีความสำคัญต่อการทำธุรกิจในประเทศ ดังนั้นผู้นำแห่งอนาคตต้องคิดถึงภาพรวมโลก ต้องศึกษาทำความเข้าใจเศรษฐศาสตร์มหภาค ต้องรู้ทันกฎหมายและการเมืองประเทศอื่นๆด้วย
2.ต้องเข้าใจความหลายหลายทางวัฒนธรรม (Appreciating Cultural Diversity) – จากการเปิดตลาดเสรี วัตถุดิบมาจากหลายแห่ง ธุรกิจอาจตั้งฐานการผลิตในต่างประเทศ หรือส่งสินค้าไปขายยังตลาดนอกบ้าน ดังนั้นผู้นำแห่งอนาคตจึงต้องเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรมของทีมงานและประเทศที่เข้าไปดำเนินธุรกิจ ต้องเข้าใจทั้งระบบเศรษฐกิจ กฎหมาย สังคม วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีด้วย และต้องเคารพความแตกต่างด้านนี้ของปัจเจกชน เพราะในมุมมองหนึ่ง คือการเปิดโอกาสทางการค้า
3.ต้องสามารถบริหารจัดการเทคโนโลยี (Demonstrating Technology Savvy) – ผู้นำยุคหน้าต้องสามารถบริหารจัดการ เข้าใจบทบาทของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับองค์กรโดยอาศัยกลยุทธ์เพียง 4 อย่างเท่านั้น คือ
1) ต้องรู้ว่าการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างชาญฉลาดนั้น สามารถช่วยองค์กรได้อย่างไรบ้าง
2) ต้องรู้จักคัดเลือก พัฒนา และจูงใจทีมงานที่เก่งเรื่องเทคโนโลยีให้อยู่กับองค์กรไปนานๆ
3) ต้องรู้วิธีการบริหารและการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ
4) ต้องเป็นผู้นำตัวอย่างในแง่การกล้าใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ
4.ต้องสร้างหุ้นส่วนธุรกิจ (Building Partnerships) – เพื่อให้สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้และได้เปรียบคู่แข่งธุรกิจ ผู้นำยุคหน้าต้องรู้จักสร้างหุ้นส่วนธุรกิจยิ่งมากยิ่งดี ในอนาคตคำว่าศัตรูคู่แข่งหรือคู่หู จะไม่ชัดเจนเท่าไหร่นัก ยิ่งในธุรกิจสำคัญๆ เช่น พลังงาน การสื่อสาร และยา องค์กรเดียวกันอาจเป็นทั้งลูกค้า เป็นผู้จัดส่ง เป็นหุ้นส่วน หรือคู่แข่งในเวลาเดียวกันก็ได้ ดังนั้น ผู้นำยุคหน้าจึงควรสร้างแนวคิดบวก สร้างความสัมพันธ์ระยะยาวและ แบบ “ชนะ-ชนะ” (win-win) กับองค์กรอื่นๆ ไว้จึงน่าจะเหมาะสมกว่า
5. ต้องแบ่งปันประสบการณ์ผู้นำ (Sharing Leadership) – ผู้นำในยุคหน้าไม่ได้เป็นแบบที่อยู่บนจุดยอดสุดของแผนผังโครงสร้างองค์กร ที่ยึดติดขยับอะไรไม่ได้อีกต่อไปแล้ว ในอนาคตหุ้นส่วนธุรกิจจะหันมาร่วมมือกันทำงานมากขึ้น พนักงานและทีมงานจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่มีความรู้มากขึ้น (knowledge workers) เพราะเดี๋ยวนี้สามารถหาข้อมูลในเรื่องต่างๆ ได้ทั้งง่ายและเร็ว การบริหารทีมงานที่มีความรู้ความสามารถจะเป็นเรื่องที่ยากขึ้น เพราะคนเก่งเหล่านี้จะอยู่กับองค์กรไม่นาน นอกจากว่าจะมีผู้นำที่เก่งกว่า ท้าทายกว่า และเปิดโอกาสให้มากกว่า

อ้างอิง: http://www.aircadetwing.com กรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

นางสาวนพมาศ พิณทมร รหัส 5210125401067 เอกการจัดการทั่วไป
บทที่ 5 ทฤษฎีความเป็นผู้นำ ติณ ปรัชญพฤทธิ์ ได้กล่าวถึงความเป็นผู้นำนั้นมีทฤษฎีความเป็นผู้นำที่สำคัญดังนี้
1. Great-man Theories ทฤษฎีผู้ยิ่งใหญ่ เชื้อว่าผู้นำมีลักษะพิเศษบางประการที่ผู้ตามไม่มี ซึ่งรวมถึง พลังกาย พลังสมอง และพลังศีลธรรม ที่สืบเนื่องมาจากพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมแต่ละยุคสมัย
2. Environmental Theories ทฤษฎีสภาพแวดล้อม ทฤษฎีนี้เชื้อว่าบุคคลที่จะเป็นผู้นำขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมกล่าวคือ ผู้นำจะเป็นผู้สามารถแก้ปัญหาในยามวิกฤตได้ซึ่งสอดคล้องกับแนวติดของ Ross and Hendry, 1958) สถานการณ์ที่กลุ่มเผชิญอยู่ก่อให้เกิดผู้นำได้
3. Personal Situational Theories ทฤษฎีบุคคลและสถานการณ์ โดยมีความเชื้อที่ว่าผู้นำเกิดจากลักษณะพิเศษ ผู้ตาม และสถานการณ์ หมายความว่าผู้นำ แต่ละคนจะต้องมีคุณลักษณะที่เด่นชัด และจำเป็นจะต้องศึกษาสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ และพันธุกรรมไม่สามารถอธิบายความเป็นผู้นำได้
4. Interaction Expectation Theories ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์และความคาดหวัง มีความเชื่อว่า การเป็นผู้นำเกิดจากปฏิกิริยาโต้ตอบและความคาดหวังระหว่าสมาชิกภายในกลุ่ม ผู้นำต้องเป็นผู้ริเริ่มไดสอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งอาจมองตามอำนาจตามตำแหน่ง มากหรือน้อย สถานการณ์กลุ่มก็แตกต่างกัน ภารกิจของกลุ่มเป็นงานของกลุ่มที่จะต้องทำให้สำเร็จ งานเหล่านี้จะยากง่ายแตกต่างกัน และความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับผู้ตาม หากผู้นำเป็นที่ยอมรับและมีความสามารถตามที่คาดหวังการติดต่อสัมพันธ์ภายในกลุ่มก็จะเป็นไปด้วยดี
5. Humanistic Theories ทฤษฎีมนุษยนิยม เป็นการมุ่งพัฒนาองค์การให้มีประสิทธิผลและมีความเป็นปึกแผ่น ผู้นำจะต้องให้ผู้ร่วมงานมีอิสระและเสรี เพื่อที่จะปฏิบัติงานสนองความต้องการของตนเองและองค์การ ซึ่งมนุษย์ต้องการแรงจูงใจในการทำงาน มีความต้องการ ความคาดหวังและ ความตั้งใจ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการควบคุมให้เป็นระเบียบ และต้องปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อธรรมชาติของมนุษย์อย่างเต็มที่
6.Exchange Theories ทฤษฎีการแลกเปลี่ยน เชื่อว่าการที่ผู้ตามยินดีคล้อยตามผู้นำเพราะต่างก็มีผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน กล่าวคือการที่สมาชิกคนใดในกลุ่มได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำ จะทำให้ผู้นั้นรู้สึกว่าตนได้รับรางวัลและผลประโยชน์ ซึ่งมีผลต่อสมาชิกอื่นๆ มีความพอใจและยอมรับ

อ้างอิง: http://www.oknation.net