หน้าเว็บ

นางสาวนฤมล คำแหงพล รหัส 5130125401247 การจัดการทั่วไป รุ่น 19



สไตล์ของภาวะผู้นำที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ใหม่ๆในยุคปัจจุบัน มี 4 รูปแบบ คือ ภาวะผู้นำแบบปฏิรูป (transformational leadership) ภาวะผู้นำแบบผู้สอนงาน (coaching leadership) ภาวะผู้นำแบบพิเศษ (super leadership) และภาวะผู้นำแบบผู้ประกอบการ (entrepreneurial leadership) ดังมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

1. ภาวะผู้นำแบบปฏิรูป (transformational leadership)

Karl W. Kuhnert และ Philip Lewis ได้ร่วมกันพัฒนาทฤษฎีภาวะผู้นำแบบปฏิรูป(Transformational Leadership) โดยมีสาระสำคัญของทฤษฎีที่ชี้ให้เห็นว่า ความสำเร็จในการสร้างแรงจูงใจขององค์การ เกิดขึ้นเนื่องจากความเชื่อของบุคลากรที่เชื่อมั่นต่อองค์การ ตลอดจนเกิดความภาคภูมิใจในค่านิยมเกี่ยวกับความเป็นธรรม และความมีศักดิ์ศรี ขององค์การ สไตล์ภาวะผู้นำแบบนี้จะสร้างสรรค์ ภารกิจใหม่ ๆ ขึ้นในองค์การส่งเสริมให้แสวงหาวิธีการใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหา และส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนขององค์การเกิดการเรียนรู้ และเป็นสไตล์ภาวะผู้นำที่มีลักษณะใกล้เคียงกับภาวะผู้นำแบบบารมี และภาวะผู้นำแบบการสร้างแรงจูงใจ

ผู้นำแบบปฏิรูป ต้องปฏิบัติภารกิจโดยใช้กลยุทธ์ ดังต่อไปนี้ คือ

1. ทำให้บุคลากรตระหนัก (awareness) ถึงปัญหาขององค์การ และผลที่เกิดขึ้นจากปัญหา โดยสมาชิกองค์การต้องมีความเข้าใจถึงปัญหาที่มีความสำคัญเร่งด่วนขององค์การ และจะต้องทราบด้วยว่าถ้าปัญหาดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี จะเกิดผลในทางลบตามมาอย่างไรบ้าง

2.กำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การ (create vision) โดยการกำหนดว่าองค์การควรเจริญเติบโตไปทิศทางใดในอนาคต สร้างความผูกพันและการยอมรับ ในวิสัยทัศน์ให้ครอบคลุมทั้งองค์การ และสนับสนุนให้เกิดความสะดวกสบายในการเปลี่ยนแปลงองค์การตามแนวทางที่กำหนดไว้ในวิสัยทัศน์

3. พัฒนากลยุทธ์ (strategy) ขององค์การ ให้เกิดขึ้นในกระบวนการเชิงกลยุทธ์ทั้งระบบขององค์การ ผู้บริหารในยุคปัจจุบันและอนาคต ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ในองค์การเพราะแนวโน้มในอนาคต องค์การจะต้องเข้าสู่การแข่งขันในสภาพแวดล้อมของกิจการในยุคโลกาภิวัตน์ เป็นความจำเป็นที่การประยุกต์แนวความคิดของภาวะผู้นำแบบปฏิรูปจะกลายเป็นทางเลือกที่สำคัญขององค์การต่อไป



2. ภาวะผู้นำแบบผู้สอนงาน (coaching leadership)

Samuel Certo ได้นำเสนอแนวคิดว่า ภาวะผู้นำแบบผู้สอนงาน (coaching leadership) คือภาวะผู้นำ ที่ผู้บริหารให้คำแนะนำ แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาถึงวิธีการที่จะจัดการกับสถานการณ์ที่เป็นการท้าทายองค์การให้บรรลุผลสำเร็จได้ ส่วนแนวทางในการประยุกต์ต้องนำวิธีการจากการฝึกสอนกีฬามาปรับใช้



พฤติกรรมของภาวะผู้นำแบบสอนงาน (Coaching Behavior)

Pagonis เสนอแนวคิดที่เป็นพฤติกรรมกาสอนงานที่นำไปสู่ความสำเร็จ ดังนี้

1. การฟังด้วยความตั้งใจ (Listens Closely) ผู้นำแบบสอนงานพยายามจะมองปัญหาทั้งสองด้านกล่าวคือ จะต้องรวบรวมข้อความจริงจากสิ่งที่ผู้ใต้บังคับบัญชาพูด และขณะเดียวกันก็ต้องใส่ใจต่อความรู้สึก และอารมณ์ที่แอบแผงอยู่เบื้องหลังสิ่งที่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้แสดงออก ซึ่งถือว่าเป็นศิลปะการ

ฟังที่ดี และต้องไม่ตกหลุมพรางของผู้ใต้บังคับบัญชา



แผนภาพแสดง ลักษณะของภาวะผู้นำแบบผู้สอนงานที่มีประสิทธิผล



คุณลักษณะ เจตคติ หรือพฤติกรรม

(Trait, Attitude, of Behavior)

แผนปฏิบัติการในการปรับปรุงภาวะผู้นำ (Action Plan)


1. เอาใจใส่ความรู้สึกผู้อื่น (Empathy)

2. มีทักษะในการฟัง(Listening)

3.มีความสามารถในการมองผู้อื่นได้ทะลุปรุโปร่ง

(Insight)

4. มีกุศลโรบายทางากรทูตและมียุทธวิธี

(Diplomacy and tact)

5.มีความอดทนต่อผู้อื่น

6.สนใจจัดสวัสดิการให้บุคลากร (Welfare)

7. ไม่ทำตัวเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้อื่น (Minimum

Hostility)

8. มีความเชื่อมั่นในตนเอง และมีความมั่นคงทาง

อารมณ์

9. ไม่ทำตัวเป็นคู่แข่งขันกับสมาชิกในทีมงาน

10.กระตือรือร้นในการพบปะกับบุคคล

1. จะต้องฝึกรับฟังความคิดเห็นและทำความเข้าใจผู้อื่น

2. ฝึกความอดทนในการฟังเป็นพิเศษ

3. ฝึกสังเกตบุคคลเมื่อแรกพบ แล้วขยายผลในโอกาส

ต่อไป

4. จะต้องศึกษาจากตำราและเอกสารเกี่ยวกับ

จรรยาบรรณและพิธีกรรมทางการทูต

5. จะต้องฝึกอดกลั้นและสงบสติอารมณ์(calm) เมื่อพบ

เห็นผู้อื่นกระทำผิด

6. เมื่อพบปะกับผู้ใต้บังคับบัญชา จะต้องฝึกวิเคราะห์

ว่าแต่ละคนควรจะได้รับบริการทางด้านใด

7. จะต้องตรวจเช็คตนเองว่า ทำไมจึงโกรธให้ผู้อื่นเป็นประจำ

8. จะต้องพยายามปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเองในแต่ละด้าน

ให้ประสบผลสำเร็จ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

9. จะต้องรักษาความเป็นหนึ่งเดียวของทีมงาน

10. จะต้องค้นหาส่วนที่ดีงามที่มีอยู่ในแต่ละบุคคล


ที่มา : ปรับปรุงจาก Samuel C.Certo, Modern Management, 7th ed, (Upper Saddle River, NJ:

Prentice-Hall International, 1998), p. 369.



2. สนับสนุนจูงใจพนักงาน (Gives Emotional Support) ผู้นำแบบสอนงานจะต้องให้กำลังใจพนักงานเพื่อจูงใจให้เขาทำงานให้องค์การประสบผลสำเร็จ

3. สามารถแสดงพฤติกรรมให้เป็นแบบอย่างแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างเหมาะสม (Show by Example)

ผู้นำแบบสอนงานสามารถแสดงวิธีการทำงาน ให้เป็นแบบอย่างแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างเหมาะสมและสามารถแสดงวิธีการแก้ปัญหาในการทำงาน หรือวิธีการแก้ปัญหาการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพแสดงให้เห็นว่าตนเองมีความเชี่ยวชาญและสร้างความไว้วางใจ (trust) และความนับถือ(respect) จากผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างมีกลยุทธ์



3.ภาวะผู้นำแบบพิเศษ (super leadership)

Charles C. Manz และ Henry P. Sims ได้นำเสนอ ทฤษฎีภาวะผู้นำแบบพิเศษ (super leadership)” ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการนำผู้อื่นโดยการแสดงให้เห็นว่า บุคคลจะสามารถนำตนเองได้อย่างไร กล่าวคือ ผู้นำแบบพิเศษจะประสบผลสำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อพวกเขาสามารถพัฒนาผู้ตามให้เป็นบุคคลที่มีผลิตภาพสูงทำงานได้อย่างอิสระและต้องการให้ผู้นำเข้ามาควบคุมน้อยที่สุด

สำหรับความสำคัญอย่างยิ่งของผู้นำแบบพิเศษ คือ ความสามารถในการสอนให้ลูกน้องมีความสามารถในการคิดตามวิธีการของลูกน้องแต่ละคนพร้อมกับสามารถกระทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม และดำเนินการได้อย่างอิสระ ผู้นำแบบพิเศษจะพยายามส่งเสริมให้บุคลากรได้ขจัดความคิดและความเชื่อในทางที่ไม่ดีที่มีต่อองค์การและเพื่อนร่วมงานออกไปจากกระบวนการคิด พร้อมกับให้ทดแทนความคิดและความเชื่อดังกล่าวด้วยความเชื่อในทางบวกและเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ผู้นำแบบพิเศษยังต้องสร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยวิธีการยอมรับพวกเขาอย่างจริงใจ ยอมรับว่าผู้ใต้บังคับบัญชามีศักยภาพเพียงพอและพร้อมที่จะเผชิญกับสิ่งท้าทายต่างๆ ขององค์การในสถานการณ์การทำงาน



4.ภาวะผู้นำแบบผู้ประกอบการ (entrepreneurial leadership)

ภาวะผู้นำแบบผู้ประกอบการอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ผู้นำเป็นนายจ้างของตนเอง ผู้นำตามทฤษฎีนี้มี

ความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์การในการแก้ปัญหาวิกฤติ โดยต้องดำเนินการเสมือนว่าเขาเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงในทางการเงินสูงในการลงทุน แต่ก็อาจจะทำกำไรได้อย่างสูง ถ้าอีกฝ่ายเกิดการพ่ายแพ้ไป ความคิดพลาดที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง ถือว่ามีความสำคัญยิ่งต่อองค์การ

ไม่มีความคิดเห็น: