การบริหารองค์กรสู่การเปลี่ยนแปลง
โลกปัจจุบันอยู่ในยุคกระแสโลกาภิวัฒน์ ซึ่งในแต่ละวันมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศได้ย่นโลกให้เล็กลง การติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลและเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สามารถทำได้โดยไม่มีขอบเขตจำกัดด้วยความเร็วเวลาเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น กระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบให้เกิดความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านบริหารองค์การจากเดิมไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่ เช่น จากแนวความแบบยุคอุตสาหกรรม ไปสู่ยุคสารสนเทศ จากเดิมองค์การเน้นความมั่นคงไปสู่ มุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จากที่เคยใช้วิธีควบคุมที่ศูนย์อำนาจไปสู่การมุ่งกระจายอำนาจความรับผิดชอบในการตัดสินใจให้แก่พนักงานระดับล่าง จากแนวคิดขององค์การที่มุ่งการแข่งขันไปเป็นมุ่งแสวงหาความร่วมมือ จากที่เคยให้ความสำคัญของวัตถุเป็นหลักไปเป็นการยึดความสำคัญของคนและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และจากการเน้นความเหมือนกันไปสู่การเน้นให้มีความแตกต่างที่หลากหลาย เป็นต้น
แนวโน้มของกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับองค์กร
องค์การก็เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะกระแสโลกาภิวัตน์ของยุคสารสนเทศได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อองค์ประกอบด้านต่าง ๆ ขององค์การให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงขึ้น ได้แก่
1. ด้านโครงสร้าง (Structure) มีลักษณะเปลี่ยนไปเป็นแนวนอนมากขึ้น เกิดรูปแบบโครงสร้างใหม่ ๆ มีการเน้นการใช้ทีมงานและองค์การแบบไร้พรมแดน
2. องค์ประกอบของประชากร (Demographic) ประกอบด้วยคนทำงานที่มาจากต่าง วัฒนธรรมมากขึ้น ช่องว่างระหว่างวัยของพนักงานเก่ากับพนักงานใหม่เพิ่มขึ้น
3. เกิดจริยธรรมใหม่ของการทำงาน (New work ethic) โดยความจงรักภักดีต่อองค์การของพนักงานจะลดลง เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านค่านิยมในการทำงานมากขึ้น
4. การเรียนรู้และองค์ความรู้ (Learning and knowledge) องค์กรจะมีพนักงานที่เป็นผู้มีคุณวุฒิและมีความรู้สูงขึ้น องค์กรจะเปลี่ยนไปเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning organization) ที่ทุกคนต้องเรียนรู้ตลอดเวลาเพื่อสามารถเท่าทันการเปลี่ยนแปลง
5. เทคโนโลยีและการเข้าถึงสารสนเทศ (Technology and to information) มีเทคโนโลยีทรงประสิทธิภาพเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดวิธีการใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงและการใช้สารสนเทศร่วมกันได้รวดเร็วมากขึ้น
6. เน้นเรื่องความยืดหยุ่น (Emphasis on flexibility) กล่าวคือ องค์กรต้องมีโครงสร้างที่ยืดหยุ่นพร้อมที่จะปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว พนักงานขององค์กรต้องมีความคล่องตัวและยืดหยุ่นได้สูงเช่นกัน
7. ต้องพร้อมเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (Fast-paced change) อันเนื่องมาจากภาวะไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์กรซึ่งไม่สามารถ คาดการณ์ล่วงหน้าได้
สิ่งที่ต้องพิจารณาเปลี่ยนแปลงในองค์การ
โดยหลักการองค์การควรเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่าง ๆ ขององค์การให้เหมาะสมต่อการปฏิบัติภารกิจและยุทธศาสตร์ที่กำหนดได้ตลอดเวลา ด้วยการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ที่เรียกว่า SWOT (SWOT analysis technique) ซึ่งต้องวิเคราะห์ให้ทราบถึงจุดแข็ง (Strength) และจุดอ่อน (Weakness) ภายในองค์การ และต้องวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกในแง่โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) ที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินการขององค์การ เพื่อนำมาพิจารณาว่ามี ปัจจัยที่ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมีดังนี้
1. วิสัยทัศน์ (Vision) เป้าหมายและกลยุทธ์ (Goals and Strategies) องค์กรมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน เป้าหมายและกลยุทธ์ไปสู้เป้าหมายอยู่ตลอดเวลา เช่น เมื่อมีการขยายกิจการหรือเมื่อต้องเสนอสินค้าหรือบริการตัวใหม่เข้าสู่ตลาด เมื่อต้องแสวงหาตลาดใหม่เพื่อรองรับสินค้า เป็นต้น
2. เทคโนโลยีสารสนเทศ (Technology Information) การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยถึงระดับสำคัญ เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สายตรงเป็นระบบเครือข่ายให้ลูกค้า สามารถเข้าถึงสินค้าและใช้บริหารได้สะดวก ถือเป็นการเปลี่ยนเทคโนโลยีระดับเล็กน้อย แต่ถ้าทั้งกิจการต้องเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่ทั้งหมด เพื่อการผลิตให้ทันสมัย ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่
3. การออกแบบงานใหม่ (Job redesign) องค์การจำเป็นต้องจัดงานออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ใหม่ให้มีระดับความมากหรือน้อยในประเด็น เช่น ความหลากหลาย (Variety) การให้อิสระ (Autonomy) การมีลักษณะเฉพาะ (Identity) การให้ความสำคัญ (Significance) ตลอดจนการจัดระบบข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เป็นต้น
4. โครงสร้างองค์กรและจัดการ (Organization and management) เช่น จัดโครงสร้างแบบตามาหน้าที่หรือแบบที่เน้นผลผลิต จะมีความเป็นทางการและรวมศูนย์เพียงไร เน้นแบบแนวราบหรือแนวตั้ง (Flat or tall structure) หรือแบบเครือข่าย (Networking) เป็นโครงสร้างแบบจักรวาล (Mechanic structure) หรือแบบสิ่งมีชีวิต (Organic structure) เป็นต้น
5. การกระบวนการ (Process) ซึ่งเป็นขั้นตอนการทำให้งานสำเร็จ ก็อาจจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง เช่น แทนที่เคยทำตามลำดับเป็นขั้นตอน ไปเป็นการร่วมทำพร้อมกันจนงานสำเร็จ
6. คน (People) และศักยภาพของคน (Core competence) คนที่เคยปฏิบัติงานอยู่ในองค์กรจำเป็นต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเมื่อเงื่อนไขอื่นได้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธี วิธีแรกปรับเปลี่ยนคนออกแล้วจ้างคนที่เหมาะสมกับภารกิจใหม่เข้าแทน ทำนองที่เรียกว่าถ่าย “เลือดใหม่” (New blood) วิธีหลังใช้วิธีเปลี่ยนแปลงคนเดิมด้วยการพัฒนาฝึกอบรมด้านทักษะและเจตคติที่สอดคล้องกับงานใหม่ เป็นต้น นอกจากนี้รูปแบบของการเป็นผู้นำ (Leadership style) ต้องเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงจากเจ้านายเป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา สอนงาน (Couching) จากเจ้านายเป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา สอนงาน (Coughing)
7. ตลาด (Market) ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงกว้างขวางไร้พรมแดนมากขึ้นการซื้อขายสินค้าผ่านระบบ Internet และยังมีสัญญาการค้าต่าง ๆ เช่น WTO , FTA เป็นต้น
ผู้บริหารในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
จากสภาพสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตของคนบนโลกที่เจริญก้าวหน้าตามมันสมองของมนุษย์ เทคโนโลยีสื่อสารติดต่อเป็นสิ่งที่เกิดจากความรู้ของคนบนโลกของเรา เช่น ดาวเทียม โทรศัพท์ สายเคเบิ้ล ทำให้เกิดกระแสโลกาภิวัฒน์ (Globalization) และจากกระแสโลกาภิวัฒน์ ทำให้เกิดคน 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. กลุ่มเสรีนิยม ได้แก่ ทุนนิยม บริโภคนิยม แฟชั่นนิยม ท่ามกลางสภาวะการแข่งขัน
2. กลุ่มอนุรักษ์นิยม ได้แก่ การอนุรักษ์วัฒนธรรม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ธรรมชาติ ฯลฯ
3. กลุ่มสารสนเทศ หรือ ยุคข้อมูลข่าวสารที่ต้องใช้เครื่องเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ไร้สาย โทรสาร ทีวี อินเตอร์เน็ต เคเบิ้ลทีวี ฯลฯ
จากยุคของอนุรักษ์นิยม จึงเกิดคำว่า RE ต่าง ๆ เป็นคำที่นิยมมาจาก RE – ENGINEERING เช่น
RE – UES เป็นการนำมาใช้ใหม่
RE – CYCLE การนำกลับมาใช้ใหม่
RE – CLAIM การซ่อมแซมใหม่ แปลงใหม่
RE – DUCE การย่อลด ฯลฯ
RE – FORM การเปลี่ยนแปลงรูปโฉม
RE – HUMANEERING
เป็นการบริหารงานและบริหารคน เพราะถือว่าคนเป็นทรัพยากร (RESOURCE) ที่สำคัญขององค์กร สิ่งที่จำเป็นในการ
RE – HUMANEERING
การเปลี่ยนความคิดของคน
การเปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์กร
เปลี่ยนความคิดเรื่องวิธีการทำงาน
การสร้างวิสัยทัศน์ในการทำงาน / บริหารงาน
เน้นการทำงานเป็นทีม
การบริหารทรัพยากรบุคคลที่อยู่นานให้มีคุณค่า
จากผลกระทบของโลกาภิวัตน์และการทำให้เกิดกลุ่มคน 3 กลุ่ม และเกิดกระแสของการ RE ต่าง ๆ อันเนื่องมาจากปัจจัย 3C คือ
1. COMPETITION สภาพและสภาวะของการแข่งขัน
2. CUSTOMER สร้างและรักษาลูกค้า
3. CHANGE การเปลี่ยนแปลงรูปแบบและยุทธวิธี
จากสภาพการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน องค์กรมักขาดวัฒนธรรมในการเปลี่ยนแปลง เพราะอยู่สงบสุขไม่ค่อยมีภัยธรรมชาติที่รุนแรงบ่อย ๆ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด หิมะตก น้ำท่วม แล้วยังอุดมสมบูรณ์มาทุกยุคทุกสมัย ทำให้ใจเย็น จนต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยราคาแพง การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และคนเราอาศัยอยู่ในโลกของการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นหากเราไม่เตรียมรองรับการเปลี่ยนแปลงแล้ว เราก็จะกลายเป็นเหยื่อของการเปลี่ยนแปลงเสียเอง ดังนั้นหลักสูตรการบริหารการเปลี่ยนแปลงหรือ CHANGE MANAGEMENT และการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรหรือ CORPORATE CULTURE CHANGE จึงได้รับความสนใจสูงมาก เพราะหากองค์กรใดไม่มียุทธศาสตร์ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว ระบบการบริหารการจัดการสมัยใหม่ต่าง ๆ ที่องค์กรตัดสินใจนำมาประยุกต์ใช้ก็จะไม่ยั่งยืนและบรรลุผลได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง QCC หรือ 5ส หรือ TQM หรือ JUST IN TIME หรือ SIX SIGMA และรวมไปถึง REENGINEERING และ BALANCE SCORECARD นี้ด้วย
ดังนั้น องค์กรจะต้องรีบสร้างวัฒนธรรมแห่งการเปลี่ยนแปลง และปลูกฝังให้อยู่ในทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อ และพฤติกรรมการทำงานของพนักงานทุกคนโดยรีบด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ หรือแม้แต่ธุรกิจเอกสารที่ผู้นำสูงสุดขององค์กรมีบทบาทในการกำกับชี้นำสูงมาก การเปลี่ยนแปลงที่สำเร็จนั้นจะต้องมีเงื่อนไข ได้แก่ THEORY คือ ให้ทุกคนได้เรียนรู้ทฤษฎีเดียวกันเพื่อจะได้พูดภาษาเดียวกันและเข้าใจตรงกัน ทุกหน่วยงานจะต้องสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมและได้ผล ด้วยการให้พนักงานมีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงนั้น ด้วยความเชื่อที่ว่าไม่มีใครรู้จักองค์กรดีเท่ากับพนักงาน และไม่มีใครรักองค์กรมากกว่าพนักงาน ดังนั้นพนักงานเท่านั้นจะเป็นผู้ร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์ในการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น