หน้าเว็บ

นางสาวนพมาศ พิณทมร รหัส 5210125401067 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4


บทที่ 6 การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgkH2NR9w5U2oE4YiK6Y_SNGUaoHQbpRIJRcJoP4OiM4POHBhH_sG7tJu1LX6CXJji5Sc4XcOhzkk0LY6c1eq8IioqNQjlUthxEmkMRXWQyKOewn2c-l3v18_QlvLHkyOMZK6KUFlarxGNq/s1600/ASEAN10_psd.jpg
สำหรับการเตรียมความพร้อมของการศึกษาไทยนั้น กระทรวงศึกษาธิการ มีจุดมุ่งหมาย ดังนี้

๑. การสร้างประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ให้ประเทศไทยเป็น Education Hub มีการเตรียมความพร้อมในด้านกรอบความคิด คือ แผนการศึกษาแห่งชาติ ที่จะมุ่งสร้างความตระหนักรู้ของคนไทยในการจัดการศึกษาเพื่อสร้างคนไทยให้เป็นคนของประชาคมอาเซียน พัฒนาสมรรถนะให้พร้อมจะอยู่ร่วมกันและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการศึกษา โดยให้มีการร่วมมือกันใน ๓ ด้านคือ ด้านพัฒนาคุณภาพการศึกษา การขยายโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริการและจัดการศึกษา

๒. ขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในประชาคมอาเซียน มีการเพิ่มครูที่จบการศึกษาด้านภาษาอังกฤษเข้าไปในทุกระดับชั้นการศึกษา เพื่อให้นักเรียนไทยสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับภาคเอกชนในการรับอาสาสมัครเข้ามาสอนภาษาต่างประเทศ รวมถึงวัฒนธรรมของประเทศต่างๆเพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจกันของประเทศในประชาคม

ส่วนด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษานั้น จะพัฒนาตามหลัก 3N ได้แก่ Ned Net โครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ NEIS ศูนย์กลางรวบรวม จัดเก็บ และเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา NLC ศูนย์เรียนรู้แห่งชาติ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดเวลา มีการพัฒนาผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองอาเซียน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ความเอื้ออาทร โดยใช้การศึกษาเป็นกลไกในการสร้างวัฒนธรรมใหม่ นักศึกษาที่จบจากอาชีวศึกษาจะต้องเป็นแรงงานที่มีคุณภาพ มีทักษะการทำงานร่วมกันในประชาคมอาเซียน

นอกจากนี้ ยังต้องส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งทั้งหมดนี้จะดำเนินงานภายใต้นโยบายเชิงยุทธศาสตร์ ๖ เดือน ๖ คุณภาพของ ศธ. เพื่อพัฒนาไปสู่ประชาคมอาเซียนและสากลต่อไป

อ้างอิง: www.chinnaworn.com และ patcharaporn4.blogspot.com (รูปภาพ)ขอขบคุณ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

นางสาวนพมาศ พิณทมร รหัส 5210125401067 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4
บทที่ 7 การพัฒนาองค์การไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
แนวทางการพัฒนาบุคลากรให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ
การสร้างความคิดที่นอกกรอบ (Lateral Thinking)
และความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
ให้เกิดขึ้นกับบุคลากรภายในองค์กร
กรรมวิธีหนึ่งที่สามารถเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรได้คือ
การเปิดโอกาสให้ได้แสดงความคิดเห็น

แม้ว่าองค์กรใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นมา ในช่วงแรกของการบริหาร
จำเป็นที่จะต้องใช้แนวการบริหารแบบเผด็จการอยู่บ้าง
เพื่อการพัฒนาองค์กรไปในแนวทางเดียวกัน แต่เมื่อพ้นขีดจำกัด
หรือช่วงเวลาหนึ่งมาบ้างแล้ว ควรที่จะมีการพัฒนาทางด้านความคิด
หรือการระดมความคิด (Brainstorming)
จากบุคลากรเพื่อการพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง

ปัญหาของการบริหารภายในองค์กร
การพัฒนาองค์กรจะหยุดชะงัก และไม่สามารถก้าวหน้าได้
ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก อันเนื่องมาจาก

1. ไม่มอบอำนาจเด็ดขาดในการตัดสินใจ (Non-empowerment)
เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารต้องเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ
ผู้ที่ตนเองว่าจ้างหรือผู้ที่ตนเองร่วมงานด้วย
เพราะความคิดของแต่ละบุคคลก็ล้วนเป็นแนวทางในการพัฒนาองค์กรทั้งสิ้น
คงไม่มีใครที่อยากจะทำงานแบบไม่มีผลงาน
หากเกิดการว่าจ้างเข้ามาทำงานให้องค์กรแล้ว
แต่ไม่ได้ให้อำนาจมนการตัดสินใจ
ทุกอย่างต้องส่งผ่านเพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงสุดตัดสินใจ
ถือเป็นเด็ดขาด จะเป็นเหตุให้กระบวนการทำงานเกิดความล่าช้า

2. การแข่งขันการทำงานอย่างดุเดือด (Internal of Red Ocean)
บุคลากรทุกฝ่ายต่างแข่งขันกันสร้างผลงาน
ไม่มีการอ่อนน้อมหรือยอมแก่กัน ไม่ได้มีการพูดคุยหรือการสื่อสารที่ดีต่อกัน
เน้นเพียงทำงานให้ตรงตามเป้าหมายหรือเพื่อเป็นการเอาใจผู้บริหารระดับสูง
โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริหาร ที่ถูกว่าจ้างด้วยจำนวนค่าจ้างที่ค่อนข้างสูง
เพื่อหวังให้เกิดการพัฒนาขององค์กรอย่างดีเยี่ยม

3. ผู้บริหารมากเกินความจำเป็น (Too More Executive)
ผู้บริหารมากความสามารถ จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ
แต่หากมีผู้บริหารมากเกินไป จะไม่สามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้
ผู้บริหารเป็นบุคคลสำคัญภายในองค์กร เพราะเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์
แนวความคิดที่ดี และเป็นผู้ปรับกระบวนแนวความคิดมาสู่การปฏิบัติ
ซึ่งโดยส่วนใหญ่ ผู้บริหารมักจะเป็นผู้ที่เสนอความคิด (Thinker)
มากกว่าจะเป็นผู้ปฏิบัติ (Worker)
จึงถือเป็นผู้ที่มีแรงผลักดันในการขับเคลื่อนองค์กร
แต่เนื่องจากผู้บริหารแต่ละคนย่อมมีความคิด มีวิสัยทัศน์ (Vision)
ที่แตกต่างกันออกไป มีความเก่งเฉพาะตัว
และต่างคนต่างก็ไม่ยอมลดความเก่งกาจของตนเองลง
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากการมีผู้บริหารจำนวนมาก
จะเป็นการทำให้องค์กรเกิดการพัฒนาล่าช้า
เพราะมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน เพราะเมื่อถึงเวลาปฏิบัติงานจริง
ความคิดหลายความคิด ก็จะถูกผลักดันออกมา
และกำหนดเป็นนโยบาย เพื่อให้กลุ่มปฏิบัติการณ์เป็นผู้ลงมือกระทำ
แล้วกลุ่มผู้ปฏิบัติการในองค์กรใด ๆ นั้น
ย่อมมีผู้ที่ตอบสนองเพียงแผนก หรือฝ่ายเดียว
ไม่มีเป็นฝ่าย ก1 หรือฝ่าย ก2
ดังนั้น ผู้ที่สนองนโยบายอันหลากหลายของผู้บริหารก็คือ
พนักงานกลุ่มปฏิบัติการเท่านั้น

4. จำนวนบุคลากรกับพื้นที่ในการทำงานไม่เหมาะสมกัน
การจะรับบุคลากรเข้ามาเพิ่มเติม หรือเพิ่มอัตราการว่าจ้าง
สิ่งที่ต้องให้ความใส่ใจก็คือ เรื่องของพื้นที่ในการทำงาน
ต้องมีความกว้างขวางและเหมาะสมเพียงพอ ต่อการทำงานนั้น ๆ
ซึ่งในแต่ละตำแหน่งหน้าที่ก็ย่อมมีการใช้สอยพื้นที่แตกต่างกันออกไป
การรับบุคลากรเข้ามาโดยมิได้มองพื้นที่ใช้สอยในการทำงาน
ทำให้กระบวนการปฏิบัติงาน ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
เพราะบุคลากรแต่ละคนล้วนต้องการพื้นที่ส่วนตัว
ในการปฏิบัติหน้าที่ และพื้นที่ใหม่ที่เกิดขึ้น
ไม่ควรที่จะไปเบียดบังหรือลดพื้นที่ของบุคลากรเดิม
เปรียบเสมือนอยู่บ้านแล้วมีผู้มาเวนคืนพื้นที่ส่วนหนึ่งไป
ซึ่งก็จะทำให้เกิดความไม่พอใจกับบุคลากรเดิม
และอาจจะก่อให้เกิดปัญหาการปฏิบัติงานไม่เต็มความสามารถ
ในโอกาสต่อไปได้

ทั้ง 4 ข้อ ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่หลายองค์กรกำลังเผชิญอยู่
การเปลี่ยนแปลงให้อุปสรรคดังกล่าวเบาบางลง
ก็จะสามารถแก้ปัญหาขององค์กรในระยะยาวได้เป็นอย่างดี

อ้างอิง : www.trainerpatt.com