การบ้าน วิชาสัมมนาปัญหาการจัดการ รหัส 3564903
ขอให้นักศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูล และ สรุปลง Blog ของวิชาสัมมนาปัญหาการจัดการ กรณีที่นักศึกษาไม่สามารถ เขียนใน blog ได้ ขอให้ส่งให้ครูทางอีเมล์ kitti2011s@gmail.com
บทที่ 6 การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และ วิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อการบริหารจัดการ (เขียนสรุป ไม่ต้องส่งรูปภาพค่ะ )
บทที่ 7 การพัฒนาองค์การไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (เขียนสรุป จากหนังสือ ต้องอ้างอิง ชื่อผู้แต่ง และ ที่มา ของข้อมูลด้วยค่ะ )
บทที่ 8 เทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย (เขียนสรุป จากหนังสือ ต้องอ้างอิง ชื่อผู้แต่ง และ ที่มา ของข้อมูลด้วยค่ะ )
การส่งงาน จะส่งแยก ทีละบท หรือ จะส่งรวมกัน สามบท ในเมล์เดียวกันก็ได้ค่ะ (สำหรับนักศึกษาบางท่าน ได้ส่งบทที่ 6 มาแล้ว โดยการถ่ายรูปการจัดบอร์ดของเพื่อนๆ ตามชั้นต่างๆ ของอาคาร 15 ชั้น ก็ไม่ต้องส่ง บทที่ 6 มาอีก แต่ถ้าใครที่ยังไม่ได้ส่ง ขอให้เขียนสรุปมาก็พอค่ะไม่ต้องส่งรูปมา เพราะว่า เอาลง Blog ไม่ได้ค่ะ และ นักศึกษาที่ได้ทำการบ้าน บทที่ 7 และ บทที่ 8 แล้ว ก็เตรียม เฉพาะ ที่จะมานำเสนอในห้องเท่านั้นค่ะ )
ถ้ามีข้อสงสัย สามารถถามได้ ทางอีเมล์นะคะ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
9 ความคิดเห็น:
บทที่ 6 การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และ วิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อการบริหารจัดการ
สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาอาเซียน โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกันในประชาคมอาเซียน
ผลกระทบทางลบที่ประเทศไทยอาจต้องเผชิญ ได้แก่
1. อุตสาหกรรมภายในประเทศที่มีความอ่อนแอไม่สามารถแข่งขันได้ เนื่องจากการลดภาษีอาจส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมบางประเภทในประเทศที่มีประสิทธิภาพการผลิตต่ำ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ไม่มีศักยภาพในการปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันหรืออุตสาหกรรมที่ต้องใช้เวลาในการปรับตัวนานมาก ซึ่งผลกระทบนี้จะเกิดขึ้นทั้งอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายภายในประเทศและอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก เช่น น้ำมันพืช สิ่งทอ (ผ้าผืนเส้นด้าย เส้นใย ประดิษฐ์) เหล็ก เครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์บางชนิด และเคมีภัณฑ์
2. อุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบและชิ้นส่วนจากภายนอกอาเซียนจะมีต้นทุนการผลิตสูง สินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตภายในประเทศไทยจึงมีราคาแพงกว่าสินค้าสำเร็จรูปที่นำเข้าจากอาเซียนเป็นเหตุให้ไม่สามารแข่งขันได้
3. ผลกระทบจากกรอบเวลาในการเร่งรัดจัดตั้งประชาคมอาเซียนที่เร็วขึ้นจากเดิม จะทำให้ผู้ประกอบการในภาคเกษตรกรรมและภาคธุรกิจอุตสาหกรรมปรับตัวไม่ทัน และอาจได้รับผลกระทบจากการนำเข้าสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมที่มีความใกล้เคียงจากประเทศสมาชิกอาเซียนฉะนั้นการเตรียมความพร้อมของไทยตั้งแต่วันนี้ก่อนที่การจัดตั้งประชาคมจะแล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2558 จะเสริมสร้างให้ประเทศมีความเข้มแข็งและสามารถใช้ประโยชน์จากข้อตกลงต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่
วรางคณา ศิลรักษ์ 5130125401211 การจัดการทั่วไปรุ่น 19
บทที่ 6 การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และ วิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อการบริหารจัดการ
สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาอาเซียน โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกันในประชาคมอาเซียน
ผลกระทบทางลบที่ประเทศไทยอาจต้องเผชิญ ได้แก่
1. อุตสาหกรรมภายในประเทศที่มีความอ่อนแอไม่สามารถแข่งขันได้ เนื่องจากการลดภาษีอาจส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมบางประเภทในประเทศที่มีประสิทธิภาพการผลิตต่ำ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ไม่มีศักยภาพในการปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันหรืออุตสาหกรรมที่ต้องใช้เวลาในการปรับตัวนานมาก ซึ่งผลกระทบนี้จะเกิดขึ้นทั้งอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายภายในประเทศและอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก เช่น น้ำมันพืช สิ่งทอ (ผ้าผืนเส้นด้าย เส้นใย ประดิษฐ์) เหล็ก เครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์บางชนิด และเคมีภัณฑ์
2. อุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบและชิ้นส่วนจากภายนอกอาเซียนจะมีต้นทุนการผลิตสูง สินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตภายในประเทศไทยจึงมีราคาแพงกว่าสินค้าสำเร็จรูปที่นำเข้าจากอาเซียนเป็นเหตุให้ไม่สามารแข่งขันได้
3. ผลกระทบจากกรอบเวลาในการเร่งรัดจัดตั้งประชาคมอาเซียนที่เร็วขึ้นจากเดิม จะทำให้ผู้ประกอบการในภาคเกษตรกรรมและภาคธุรกิจอุตสาหกรรมปรับตัวไม่ทัน และอาจได้รับผลกระทบจากการนำเข้าสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมที่มีความใกล้เคียงจากประเทศสมาชิกอาเซียนฉะนั้นการเตรียมความพร้อมของไทยตั้งแต่วันนี้ก่อนที่การจัดตั้งประชาคมจะแล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2558 จะเสริมสร้างให้ประเทศมีความเข้มแข็งและสามารถใช้ประโยชน์จากข้อตกลงต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่
วรางคณา ศิลรักษ์ 5130125401211 การจัดการทั่วไปรุ่น 19
บทที่ 7การพัฒนาองค์การไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ธุรกิจสามารถมีความได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยการสร้างนวัตกรรมซึ่งนวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องอาศัยความรู้และการเรียนรู้
ของคนในองค์การด้วยการค้นหาแนวคิดใหม่และการใช้ประสบการณ์ตรง ทำให้เกิดการผลิตสินค้าหรือบริการใหม่และสามารถตอบสอง
ความต้องการของลูกค้าได้ หากองค์การใดมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถอยู่มากแล้ว ก็จะได้เปรียบกว่าองค์การอื่นๆ
เนื่องจากบุคลากรแต่ละคนจะมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่แตกต่างกัน องค์การที่มีการเรียนรู้ที่เป็นพลวัต มีความสามารถในการจัดการ
กับความรู้ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ สามารถเรียกได้ว่าเป็น “องค์การแห่งการเรียนรู้” (Learning Organization) โดยองค์การ
ในลักษณะดังกล่าวจะสามารถทำให้สมาชิกในองค์การมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา มีการแลกเปลี่ยนความรู้อันอาจเกิดจากการลองถูกลองผิด
มีการถ่ายโอนความรู้ไปยังสมาชิกอื่นในองค์การเพื่อให้เกิดการผลอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสมาชิกสามารถนำประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ
เฉพาะด้านมาสร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการได้อย่างสร้างสรรค์ อันจะนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมในผลิตภัณฑ์ กระบวนการและการจัดการ
ในองค์การให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจได้
วรางคณา ศิลรักษ์ 5130125401211 การจัดการทั่วไปรุ่น 19
บทที่ 7 การพัฒนาองค์การไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ธุรกิจสามารถมีความได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยการสร้างนวัตกรรมซึ่งนวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องอาศัยความรู้และการเรียนรู้
ของคนในองค์การด้วยการค้นหาแนวคิดใหม่และการใช้ประสบการณ์ตรง ทำให้เกิดการผลิตสินค้าหรือบริการใหม่และสามารถตอบสอง
ความต้องการของลูกค้าได้ หากองค์การใดมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถอยู่มากแล้ว ก็จะได้เปรียบกว่าองค์การอื่นๆ
เนื่องจากบุคลากรแต่ละคนจะมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่แตกต่างกัน องค์การที่มีการเรียนรู้ที่เป็นพลวัต มีความสามารถในการจัดการ
กับความรู้ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ สามารถเรียกได้ว่าเป็น “องค์การแห่งการเรียนรู้” (Learning Organization) โดยองค์การ
ในลักษณะดังกล่าวจะสามารถทำให้สมาชิกในองค์การมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา มีการแลกเปลี่ยนความรู้อันอาจเกิดจากการลองถูกลองผิด
มีการถ่ายโอนความรู้ไปยังสมาชิกอื่นในองค์การเพื่อให้เกิดการผลอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสมาชิกสามารถนำประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ
เฉพาะด้านมาสร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการได้อย่างสร้างสรรค์ อันจะนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมในผลิตภัณฑ์ กระบวนการและการจัดการ
ในองค์การให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจได้
อ้างอิงจาก พิชิต เทพวรรณ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
นางสาวสายฝน โป่งมะณี รหัส 5210125401003 เอกการจัดการทั่วไป ปี4
บทที่ 7 การพัฒนาองค์การไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
หลักการพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การโดยทั่วไปนั้นจะแก้ปัญหาขององค์การด้วยการปรับปรุง 2 แบบ คือ การพัฒนาทางโครงสร้างและการพัฒนาทางด้านกระบวนการ
การพัฒนาทางด้านโครงการ จะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์การ ดังนั้นบุคคลแต่ละคนในองค์การจะเกี่ยวพันกับบุคคลอื่นในลักษณะที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น การตัดสินยุบแผนกจากเดิม 8 แผนก ลดลงเหลือ 5 แผนก เท่านั้น แล้วตั้งแผนกงานขึ้นมาใหม่ การเปลี่ยนแปลงเวลาทำงานจากวันละ 8 ชั่วโมง ทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ เพิ่มเป็นวันละ 10 ชั่วโมง แต่ทำงานเพียง 4 วันต่อสัปดาห์ ฯลฯ
การพัฒนาทางด้านกระบวนการ เป็นการปรับปรุงเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวการดำเนินงาน หรือทัศนคติของพนักงาน ได้แก่ การนำเครื่องจักรใหม่มาใช้ การเปลี่ยนพฤติกรรมของหัวหน้าคนงานที่ไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น การให้คนงานรับผิดชอบงานเป็นกลุ่ม การปรับปรุงระบบการติดต่อสื่อสารภายในองค์การ การสร้างทีมงาน การเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้นำองค์การ
ในการพัฒนานี้อาจใช้วิธีพัฒนาโดยทั่วไปหรือพัฒนาระหว่างกลุ่มงานก็ได้ ทั้งนี้ ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาองค์ การจะได้พิจารณาร่วมกับสมาชิกในองค์การ
อ้างอิง : รองศาสตราจารย์สมคิด บางโม. องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์, 2541.316 หน้า.
บทที่ 6 การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และ วิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อการบริหารจัดการ
จะเห็นได้ว่าการจัดตั้งประชาคมอาเซียนนั้นได้ใช้ต้นแบบจากรูปแบบการรวมตัวของประเทศใน
ภูมิภาคยุโรป แต่อนาคตภาพของประชาคมอาเซียนที่เกิดขึ้นจริงในปี พ.ศ.2558 จะไม่เป็นเช่นเดียวกับสหภาพยุโรป ถึงแม้แนวคิดการจัดตั้งจะยึดรูปแบบและแรงบันดาลใจจากการรวมตัวกันของประเทศในกลุ่มยุโรป ด้วยเหตุผลที่ลักษณะของทั้งสองภูมิภาคมีความแตกต่างกันอย่างมาก โดยเฉพาะสมาชิกอาเซียนไม่ได้มีพื้นฐานทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกันทำให้การรวมตัวกันของอาเซียนมีลักษณะเฉพาะที่จะเป็นอุปสรรค ในการเป็นประชาคมตามที่วาดภาพไว้ในกฎบัตร เพราะประเทศต่างๆ ยังเขาใจว่าการเกิดอาเซียนนั้นนับเป็นโอกาสที่จะแสวงหาประโยชน์เข้าสู่ประเทศตนเองได้มากขึ้น รวมทั้งประเทศไทยก็คาดหวังเช่นนั้น ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อการร่วมมือกันเพราะการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนจำเป็นต้องมีการสร้างกรอบหรือกฏระเบียบต่างๆ ที่จะเข้ามาปรับเปลี่ยนทั้งวิถีการดำรงชีวิต และปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์และกฎหมายเดิมของแต่ละประเทศ ที่มีผลกระทบในเชิงบวกและเชิงลบต่อแต่ละประเทศในลักษณะต่างๆ กันออกไป ในส่วนของประเทศที่มีศักยภาพเอื้ออำนวยก็จะได้เปรียบในการที่จะแสวงหาประโยชน์จากอาเซียนได้มาก และหากประเทศที่ไม่มีการเตรียมการที่ดีหรือสภาพของประเทศมีความเสียเปรียบประเทศอื่นๆ อยู่มากก็จะได้รับผลกระทบในทางลบมากเช่นกัน และเมื่อผลกระทบที่จะเกิดจากการเป็นประชาคมอาเซียนไม่เป็ไปในทิศทางที่ดีดังที่รัฐบาลทุกประเทศพยายามประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนของตนในช่วงก่อนปี พ.ศ.2558 แต่กลับเกิดมีสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ผลกระทบเชิงลบต่อประชาชนมากๆ ก็จะทำให้ประชาชนออกมาต่อต้านการเป็นประชาคมอาเซียนมากขึ้นในส่วนของประเทศไทยนั้นผลการวิจัยชี้ว่าจะเป็นประเทศที่จะได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูงที่สุด ดังนั้นเพื่อเตรียมรับมือกับภาพผลกระทบเชิงลบและสร้างสภาพให้เอื้อประโยชน์ตามผลการวิจัยนั้น รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีการดำเนินการในลักษณะเชิงรุก โดยต้องเตรียมทั้งภาคเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมทั้งมิติความเจริญมั่งคั่งและความมั่นคง โดยเฉพาะประเทศไทยต้องสร้างภาคเอกชนของคนไทยที่แท้จริงให้เข้มแข็งและต้องจับตาการเข้ามาของกลุ่มทุนนอกอาเซียนที่จะเข้ามาแสวงประโยชน์ด้วยการอ้างเป็นบริษัทของประเทศไทย นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่สุดคือการปรับปรุงระบบงานของภาครัฐหากเป็นเช่นปัจจุบันจะเป็นอุปสรรคมากที่สุด โดยภาครัฐต้องปรับเปลี่ยนระบบงานให้มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐานสากลพร้อมที่จะขับเคลื่อนประเทศไปสู่เวทีประชาคมอาเซียนเพื่อประโยชน์ต่อประเทศไทยและประชาคมอาเซียน.
ผู้โพส: สอาด ไหวพริบ (ปุ้ย) 5130125401218
บทที่ 6 การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และ วิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อการบริหารจัดการ
จะเห็นได้ว่าการจัดตั้งประชาคมอาเซียนนั้นได้ใช้ต้นแบบจากรูปแบบการรวมตัวของประเทศใน
ภูมิภาคยุโรป แต่อนาคตภาพของประชาคมอาเซียนที่เกิดขึ้นจริงในปี พ.ศ.2558 จะไม่เป็นเช่นเดียวกับสหภาพยุโรป ถึงแม้แนวคิดการจัดตั้งจะยึดรูปแบบและแรงบันดาลใจจากการรวมตัวกันของประเทศในกลุ่มยุโรป ด้วยเหตุผลที่ลักษณะของทั้งสองภูมิภาคมีความแตกต่างกันอย่างมาก โดยเฉพาะสมาชิกอาเซียนไม่ได้มีพื้นฐานทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกันทำให้การรวมตัวกันของอาเซียนมีลักษณะเฉพาะที่จะเป็นอุปสรรค ในการเป็นประชาคมตามที่วาดภาพไว้ในกฎบัตร เพราะประเทศต่างๆ ยังเขาใจว่าการเกิดอาเซียนนั้นนับเป็นโอกาสที่จะแสวงหาประโยชน์เข้าสู่ประเทศตนเองได้มากขึ้น รวมทั้งประเทศไทยก็คาดหวังเช่นนั้น ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อการร่วมมือกันเพราะการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนจำเป็นต้องมีการสร้างกรอบหรือกฏระเบียบต่างๆ ที่จะเข้ามาปรับเปลี่ยนทั้งวิถีการดำรงชีวิต และปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์และกฎหมายเดิมของแต่ละประเทศ ที่มีผลกระทบในเชิงบวกและเชิงลบต่อแต่ละประเทศในลักษณะต่างๆ กันออกไป ในส่วนของประเทศที่มีศักยภาพเอื้ออำนวยก็จะได้เปรียบในการที่จะแสวงหาประโยชน์จากอาเซียนได้มาก และหากประเทศที่ไม่มีการเตรียมการที่ดีหรือสภาพของประเทศมีความเสียเปรียบประเทศอื่นๆ อยู่มากก็จะได้รับผลกระทบในทางลบมากเช่นกัน และเมื่อผลกระทบที่จะเกิดจากการเป็นประชาคมอาเซียนไม่เป็ไปในทิศทางที่ดีดังที่รัฐบาลทุกประเทศพยายามประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนของตนในช่วงก่อนปี พ.ศ.2558 แต่กลับเกิดมีสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ผลกระทบเชิงลบต่อประชาชนมากๆ ก็จะทำให้ประชาชนออกมาต่อต้านการเป็นประชาคมอาเซียนมากขึ้นในส่วนของประเทศไทยนั้นผลการวิจัยชี้ว่าจะเป็นประเทศที่จะได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูงที่สุด ดังนั้นเพื่อเตรียมรับมือกับภาพผลกระทบเชิงลบและสร้างสภาพให้เอื้อประโยชน์ตามผลการวิจัยนั้น รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีการดำเนินการในลักษณะเชิงรุก โดยต้องเตรียมทั้งภาคเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมทั้งมิติความเจริญมั่งคั่งและความมั่นคง โดยเฉพาะประเทศไทยต้องสร้างภาคเอกชนของคนไทยที่แท้จริงให้เข้มแข็งและต้องจับตาการเข้ามาของกลุ่มทุนนอกอาเซียนที่จะเข้ามาแสวงประโยชน์ด้วยการอ้างเป็นบริษัทของประเทศไทย นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่สุดคือการปรับปรุงระบบงานของภาครัฐหากเป็นเช่นปัจจุบันจะเป็นอุปสรรคมากที่สุด โดยภาครัฐต้องปรับเปลี่ยนระบบงานให้มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐานสากลพร้อมที่จะขับเคลื่อนประเทศไปสู่เวทีประชาคมอาเซียนเพื่อประโยชน์ต่อประเทศไทยและประชาคมอาเซียน.
ผู้โพส: สอาด ไหวพริบ (ปุ้ย) 5130125401218
บทที่ 7 การพัฒนาองค์การไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
วีรวุธ มาฆะศิรานนท์ ได้สรุปว่า การทำงานและการเรียนรู้ได้กลายเป็นสิ่งเดียวกัน เนื่องจากเศรษฐกิจยุคใหม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ และนวัตกรรม ในขณะปฏิบัติงานที่ใช้ความรู้ บุคลากรจึงมีโอกาสได้เรียนรู้ไปด้วย ดังนั้นหากบุคลากรอยากทำงานโดยมีการใช้ความรู้อย่างมีประสิทธิผล พวกเขาต้องมีการเรียนรู้ตลอดเวลา การเรียนรู้กลายเป็นความท้าทายตลอดช่วงชีวิต กล่าวได้ว่าองค์ความรู้อาจเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อองค์การมากกว่าแหล่งเงินทุน เทคโนโลยี หรือ ประเพณีนิยม โดยวัฒนธรรม เทคโนโลยี การปฏิบัติงาน ระบบและวิธีการปฏิบัติงานต่าง ๆ ขององค์การล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้และความชำนาญ ความรู้เป็นสิ่งจำเป็นต่อการเพิ่มความสามารถในการปรับปรุงและพัฒนาบุคลากร เพื่อให้การให้บริการมีคุณภาพ และทำให้สินค้าและบริการมีความทันสมัย การเปลี่ยนแปลงระบบและโครงสร้างรวมถึงการสื่อสารในการแก้ปัญหา ต้องอาศัยความรู้ ในเศรษฐกิจยุคใหม่ บุคลากรทุกคนในองค์การต้องพัฒนาความรู้ รับผิดชอบต่อความคิดใหม่ ๆ ของตน และต้องพยายามพัฒนาความคิดให้สามารถนำไปปฏิบัติได้ นอกจากนี้ผู้นำมีหน้าที่ในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เปิดโอกาสให้บุคลากรได้เพิ่มพูนความรู้และดำเนินตามความคิด เนื่องจากความคิดของบุคลากรเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากที่สุดขององค์การที่จะช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ
แหล่งที่มา : วีรวุธ มาฆะศิรานนท์. (2548). การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท
ผู้โพส: สอาด ไหวพริบ (ปุ้ย) 5130125401218
บทที่ 8 เทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย
การบริหารงานบุคคล นับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งต่อองค์การที่จะ ทำให้องค์การบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยทางด้านบุคลากรหรือผู้ปฏิบัติงาน จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในบรรดาทรัพยากรทั้งหมด เพราะสามารถที่จะจัดการหรือหา วิธีที่จะดำเนินการให้องค์การบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นบุคลากรจึงเป็น ที่มาของความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์การอีกด้วย ซึ่งในการบริหารประเทศก็ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยกำหนดเป้าหมายในการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) ให้ "คน" เป็นยุทธศาสตร์ของการพัฒนา ซึ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ให้มีขีดความสามารถเพื่อที่จะพัฒนาครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติต่อไป ในการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องอาศัยการระดม คน เงิน วัสดุ เทคโนโลยี และวิธีการจัดการเพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพัฒนาคนให้ มีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ถ้าองค์การใดมี "คน" ดีและมีประสิทธิภาพใน การทำงานสูง คนหรือข้าราชการหรือพนักงานก็จะสามารถระดมเงิน วัสดุ มาให้กับ องค์การ และสามารถบริหารงานให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
ธงชัย สันติวงษ์ ได้แบ่งกระบวนการ การบริหารงานบุคคล ออกเป็นส่วนสำคัญ ๆ ดังนี้
1. การออกแบบงานและการวิเคราะห์เพื่อจัดแบ่งตำแหน่งงาน (task specialization process)
2. การวางแผนกำลังคน (manpower planning process)
3. การสรรหาและคัดเลือกพนักงาน (recruitment and selection process)
4. การปฐมนิเทศบรรจุพนักงานและการประเมิน (induction and appraisal - process)
5. การอบรมและการพัฒนา (training and development process)
6. การจ่ายตอบแทน (compensation process)
7. การทะนุบำรุงรักษาทางด้านสุขภาพ ความปลอดภัยและแรงงานสัมพันธ์ (health, safety maintenance
process and labor relations)
8. การใช้วินัยและการควบคุมตลอดจนการประเมิน (discipline, control and evaluation process)
ซึ่งกระบวนการบริหารงานบุคคลทั้ง 8 ประการดังกล่าวในทางปฏิบัตินั้นการปรับปรุงประสิทธิภาพของการบริหารงานบุคคลจำเป็นที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และสัมพันธ์กันทุกขั้นตอนทุกด้าน และด้องมีการดำเนินการทุกเรื่องไปพร้อมๆกัน
แหล่งที่มา : ธงชัย สันติวงษ์. 2526. การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
ผู้โพส: สอาด ไหวพริบ (ปุ้ย) 5130125401218
แสดงความคิดเห็น