หน้าเว็บ

สุกัญญา ปราณีดุดสี


บทที่ 5
ทฤษฎีผู้นำที่เหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน

ทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ (situation leadership theory)
Hersey & Blanchard เป็นผู้พัฒนาทฤษฎีนี้ขึ้น ในระยะแรกเรียกว่า ทฤษฎีวงจรชีวิตของภาวะผู้นำ (life-cycle theory of leadership) โดยได้แบ่งพฤติกรรมออกเป็นสองมิติ เช่นเดียวกับผลการศึกษาวิจัยที่รัฐโอไฮโอ คือ พฤติกรรมมุ่งงาน (task behavior) ซึ่งผู้นำจะให้บุคคลหรือกลุ่ม ทำหน้าที่และมีความรับผิดชอบในงานว่า จะทำอะไร ทำอย่างไร ทำเมื่อไร และทำที่ไหน เป็นต้น และ พฤติกรรมมุ่งสัมพันธ์ (relationship behavior) ซึ่งผู้นำจะใช้การติดต่อสื่อสารแบบสองทางหรือมากกว่า พฤติกรรมใดจะเหมาะสมกับสถานการณ์ใดพิจารณาจากความพร้อม (readiness) ของผู้ใต้บังคับบัญชา (Hersey & Blanchard 1988 อ้างใน Bartol & others 1998) ใน 2 ด้านคือ ด้านความสามารถ (ability) ดูจากความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่จำเป็นสำหรับงาน และ ด้านความเต็มใจ (willingness) ที่จะทำให้งานสำเร็จ ดูจากความเชื่อมั่น ความมีพันธะผูกพัน และแรงจูงใจที่จะทำงานนั้น ความพร้อมเหล่านี้จะแบ่งได้ 4 ระดับที่ต่อเนื่องกัน คือ
ระดับต่ำ (R1)
ระดับต่ำถึงปานกลาง (R2)
ระดับปานกลางถึงสูง (R3) และ
ระดับสูง (R4)
ในแต่ละระดับมีเส้นโค้งตัดผ่านซึ่งจะชี้ให้เห็นว่า พฤติกรรมใดจะเหมาะสมกับความพร้อมระดับใด เป็นภาวะผู้นำ 4 รูปแบบดังนี้ แบบกำกับ(telling) ต้องกำหนดสิ่งที่จะทำและวิธีการดำเนินงานให้ กำกับและควบคุมอย่างใกล้ชิด ใช้ในสถานการณ์ที่ผู้ใต้บังคับบัญชามีความพร้อมต่ำ ไม่มีความสามารถและไม่เต็มใจ หรือจะมีความเสี่ยงเกินไปถ้าให้รับผิดชอบงานนั้น แบบขายความคิด (selling) อธิบายถึงสิ่งที่จะทำและให้โอกาสในการทำความเข้าใจในงานที่จะทำนั้น ใช้ในสถานการณ์ที่ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่มีความสามารถแต่มีความเต็มใจหรือมีความมั่นใจที่จะทำงานนั้น แบบมีส่วนร่วม (participating) เน้นการติดต่อสื่อสารสองทางและความร่วมมือ ใช้ในสถานการณ์ที่ผู้ใต้บังคับบัญชามีความสามารถที่จะรับผิดชอบงานแต่ไม่มีความเต็มใจหรือมีความเสี่ยงเกินไปที่จะให้ทำงานนั้น แบบมอบอำนาจ (delegating) ให้ความเป็นอิสระในการทำงานมาก ใช้กับสถานการณ์ที่ผู้ใต้บังคับบัญชามีความสามารถ และมีความเต็มใจหรือความมั่นใจที่จะทำงานนั้น
การบริหารตามสถานการณ์เป็นทฤษฎีการบริหารที่ผู้บริหารนำมาใช้จัดการกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ การที่จะนำทฤษฎีต่าง ๆ มาใช้นั้น เราควรพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียของทฤษฎีนั้น ๆ เสียก่อนจะทำให้การบริหารจัดการของเราประสบกับความสำเร็จได้

อ้างอิง : นายยาเบ็น เรืองจรูญศรี. แนวคิดทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์ (The contingency approach). (แหล่งข้อมูลออนไลน์). สืบค้นจาก: www.kroobannok.com

บทที่ 11
การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต

ธุรกิจสีเขียว" หมายถึง องค์กรที่ประกอบธุรกรรมโดยมีปณิธานในการทำงานที่มุ่งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติทั้งหลายของโลกมนุษย์ อาทิ อากาศ ต้นน้ำ ลำธาร ป่าไม้ สัตว์ป่า พืชพันธุ์ธัญญาหาร แมลง ฯลฯ มีชีวิตอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศวิทยาที่ดีที่สุดและอย่างยั่งยืนที่สุด
การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย ๆ หรือไร้ค่าใช้จ่าย ในทางตรงกันข้ามมันเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายแฝงอยู่ด้วยพอสมควร (หรืออาจแพงมาก ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ) จะอาศัยเพียงจิตสำนึกความรับผิดชอบเพียงปัจจัยเดียวไม่เพียงพอ แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าไม่มีจิตสำนึกรับผิดชอบเอาเสียเลย โลกของเราคงถล่มทลายแน่จากปัญหา global warming (ภาวะโลกร้อน) คงกลายเป็น global boiling (ภาวะโลกเดือดพล่าน) องค์กรแต่ละองค์กรสามารถเลือกวางนโยบายได้ว่า ตนเองมีความต้องการและความพร้อมที่จะ "เขียว" ขนาดไหน ซึ่งปัจจัยที่นำมาพิจารณาในการเลือกระดับความเขียว (หรือระดับความรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) มีดังนี้
ปัจจัยที่ 1 : ระดับศีลธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบของเจ้าของบริษัทหรือ CEO
          คงปฏิเสธไม่ได้ว่า บุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการกำหนดระดับความรับผิดชอบขององค์กรคือ ผู้นำระดับสูงสุดนั่นเอง ดังนั้น ค่านิยมและความเชื่อส่วนตัวของผู้นำจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด อันมีผลกระทบต่อความเชื่อ ทัศนคติและพฤติกรรมของพนักงานทั้งองค์กร
ปัจจัยที่ 2 : กฎหมายที่ควบคุมผู้ประกอบการ
          ในแต่ละประเทศจะมีกฎข้อบังคับ ข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ สำหรับธุรกิจแต่ละประเภทอยู่แล้ว เช่น ต้องมีการบำบัดน้ำเสียอย่างไร ต้องมีการดูแลเรื่องควันพิษอย่างไร ฯลฯ ซึ่งการปฏิบัติตามกฎหมายกำหนดนั้น ถือว่าเป็นการปฏิบัติขั้นต่ำที่สุดแล้ว เพราะถ้าไม่ทำตามก็ถือว่าผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามมีผู้ประกอบการหลายคนไม่สนใจข้อกฎหมาย โดยใช้วิธีหลบเลี่ยงหรือติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อปิดปากไม่ให้เอาเรื่องก็มีถมไป มิฉะนั้นแม่น้ำแม่กลองของเราคงไม่เน่าจนปลาลอยตายเป็นแพให้เห็นอยู่บ่อย ๆ
ปัจจัยที่ 3 : ทัศนคติของผู้บริโภคและสาธารณชน
          ปัจจุบันนี้ชาวบ้านอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ เริ่มมีหูตากว้างขวางและมีสิทธิมีเสียงมากขึ้น อีกทั้งมีสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ช่วยเป็นกระบอกเสียงให้เรา ดังนั้น เมื่อมีผู้เดือดร้อน เช่น เหม็นกลิ่นควัน น้ำเน่า คันตามตัวเพราะพิษจากสารเคมี ฯลฯ จึงสามารถร้องเรียนเรียกค่าเสียหายได้ หรือแม้กระทั่งธุรกิจนั้นยังไม่เปิดกิจการแต่สาธารณชนมีความกังวลห่วงใยว่า จะสร้างผลกระทบทางลบต่อสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของพวกเขาสาธารณชนก็สามารถทักท้วงหรือประท้วงต่อต้านจนธุรกิจล้มก็ยังไหว
การทำการตลาดสีเขียวนั้น น่าจะมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการที่นักการตลาดควรให้ความสนใจ ได้แก่
          1. การนำเสนอให้ตลาดผู้บริโภคทั่วไปได้เห็นและเกิดความเข้าใจว่า สิ่งที่บริษัทหรือองค์กรกำลังทำอยู่นี้จะช่วยเหลือสภาพแวดล้อมของโลก ทั้งในเชิงกว้างและในระดับสังคม ชุมชนแวดล้อมได้อย่างไร
          2. นำเสนอสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ
          3. ใช้วิธีการที่เป็นสีเขียวเช่นกัน ในการนำเสนอองค์ประกอบข้อ 1 และ ข้อ 2 ที่ได้กล่าวมา

          วิธีการข้อที่ 3 เป็นข้อที่นักการตลาดทั่วไป อาจต้องปรับแนวความคิดเดิม ๆ หันมาสู่การคิดหาวิธีการที่จะทำให้วิธีการทางการตลาดเป็นสีเขียวให้ได้มากที่สุด เช่น การใช้วัสดุประกอบการตลาด อาทิ กระดาษที่ใช้ในการพิมพ์เอกสารการตลาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การเลือกใช้หมึกพิมพ์ที่ไม่สร้างมลภาวะ และมองไปถึงว่าวัสดุเหล่านั้น หลังจากทำหน้าที่ทางการตลาดสื่อความสำคัญไปยังผู้บริโภคแล้ว ผู้บริโภคจะมีวิธีในการกำจัดทิ้งอย่างไรจึงจะไม่ทำให้เกิดผลกระทบในเชิงลบ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะทำให้เกิดการนำกลับมาใช้ใหม่ หรือนำมาใช้ซ้ำได้ด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม นักการตลาดซึ่งโดยธรรมชาติมักจะเป็นผู้ที่มีความสามารถในด้านการคิดสร้างสรรค์สูงอยู่แล้ว หากจะหันกลับมาคิดสร้างสรรค์ในเรื่องของเอกสารทางการตลาดที่เป็นสีเขียวได้ ก็จะเป็นประโยชน์ไม่น้อย แถมยังจะได้เป็นข้อพิสูจน์ให้ผู้บริโภคและคนทั่วไปได้เห็นว่า ความมุ่งมั่นขององค์กรที่ต้องการจะทำธุรกิจให้เป็นสีเขียวนั้น สามารถทำได้อย่างครบวงจรอย่างแท้จริงอีกด้วย
นอกจากสื่อเอกสารทางการตลาดที่เป็นสีเขียวแล้ว วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบในกิจกรรมส่งเสริมการขาย หรือกิจกรรมทางการตลาดอื่น ๆ นักการตลาดก็สามารถเลือกใช้แต่สิ่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือเป็นวัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษหรือทำลายธรรมชาติ หรือใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น
 การหันกลับมาใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่จะไม่ทำให้เกิดการสร้างผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กลยุทธ์การตลาดแบบปากต่อปาก ซึ่งถึงแม้ว่า อาจจะส่งผลตอบกลับที่ไม่รวดเร็วนัก แต่เป็นกลยุทธ์ที่ทรงอิทธิพลและสร้างความจงรักภักดีจากลูกค้าและผู้บริโภคได้ดีที่สุด อีกทั้งยังเป็นวิธีที่มีความเป็น "สีเขียว" อยู่ในตัวอย่างมาก เพราะอาจไม่ต้องพึ่งพิงการใช้วัสดุหรือพลังงานอื่น ๆ ให้สิ้นเปลืองมากนัก หากจะลืมไปแล้วว่าการตลาดแบบปากต่อปาก ทำกันอย่างไร ก็อาจจะรื้อฟื้นวิธีการที่เคยทำกันมาแต่เดิม เช่น การนำสินค้าออกตั้งโชว์ในสถานที่ต่าง ๆ การสาธิตวิธีการใช้สินค้า การสื่อสารแบบการนำเสนอด้วยตัวบุคคล ฯลฯ
 วิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ แทบจะไม่ต้องพึ่งพาอาศัยวัสดุอุปกรณ์สิ้นเปลืองต่าง ๆ มากนัก แต่อาจจะต้องใช้พลังงานของคนมากขึ้นเท่านั้น ทำให้ความนิยมใช้อาจลดลง เพราะคนมีแนวโน้มที่จะไม่อยากทำงานเสียพลังงานของตนเองมากไป โดยหันไปใช้พลังงานที่สิ้นเปลืองทรัพยากรของโลกซึ่งทำให้เกิดความสะดวกสบายมากกว่า แต่เป็นการทำให้โลกต้องตกอยู่ในสภาพที่ทรัพยากรถูกใช้ไปอย่างสิ้นเปลืองและรวดเร็ว  การใช้สื่อระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือระบบอินเทอร์เน็ต ก็อาจจะลดความสิ้นเปลืองของการทำการตลาดแบบเดิม ๆ ไปได้มากเช่นกัน จึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่นักการตลาด "สีเขียว" อาจเลือกนำมาใช้ได้
ประเด็นสุดท้ายที่ต้องกล่าวถึงในเรื่องของการทำการตลาด "สีเขียว" ก็คือ เรื่องของเนื้อหาหรือการสื่อข้อมูลไปยังผู้บริโภคว่าสินค้าหรือบริการที่ทำตลาดอยู่เป็นสินค้าหรือบริการ "สีเขียว" โดยที่เป็นความจริงเพียงบางส่วนเท่านั้น เพื่อพยายามสร้างกระแส "สีเขียว" ให้กับสินค้าหรือบริการ เพื่อหวังผลประโยชน์ทางธุรกิจแต่เพียงอย่างเดียวโดยแอบอ้างความเป็นจริงที่รู้ว่า การพิสูจน์ว่าสินค้าหรือบริการ มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กระบวนการที่ใช้ในการผลิตหรือบริการไม่ก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนหรือก๊าซโลกร้อนออกสู่บรรยากาศ ฯลฯ นั้น เป็นเรื่องที่อาจจะไม่เห็นได้อย่างชัดเจนในช่วงเวลาสั้น ๆ การตลาดที่ชักนำให้ตลาดหรือผู้บริโภคเข้าใจผิดนั้น ถือได้ว่าเป็นการตลาดที่ไม่เป็น "สีเขียว" เช่นกัน เรื่องของการตลาด "สีเขียว" คงเคยได้ยินคำว่า "greenwashing" ซึ่งฝรั่งให้ความหมายไปถึงธุรกิจหรือการตลาดที่พยายาม "ฟอกย้อม" ให้ผู้บริโภคเข้าใจว่า ธุรกิจหรือองค์กรธุรกิจนั้น ๆ เป็นธุรกิจ "สีเขียว" โดยที่ความจริงแล้วเป็นสีอะไรก็ไม่อาจรู้ได้ ดังนั้น นักการตลาด "สีเขียว" จึงต้องไม่ตกหลุมของการทำ "greenwashing" เสียแต่ในเบื้องต้น

อ้างอิง: เรวัติ ตันตยานนท์. ช่องทางการตลาด ของธุรกิจสีเขียว. ( แหล่งข้อมูลออนไลน์ ). สืบค้นจาก: www.ksmecare.com

การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อการบริหารจัดการการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้ถูกกำหนดเป็นหน่วยงานกลางในการประสานความร่วมมือกับองค์กรหลักต่าง ๆ เพื่อเตรียมการ วางแผน พัฒนา เตรียมความพร้อมให้แก่ครู คณาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และประชาชน เพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 โดยกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการ 5 ปี                 (พ.ศ. 2554-2558) ภายใต้กรอบ 3 เสาหลัก กับ 5 นโยบาย จากปฏิญญา ชะอำ-หัวหิน ด้านการศึกษา ต่อการขับเคลื่อนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สาระสำคัญของปฏิญญาดังกล่าวเน้นความสำคัญของบทบาทการศึกษาในการสร้างประชาคมอาเซียน 3 เสาหลัก ดังนี้ 
  บทบาทการศึกษาในเสาหลักด้านการเมืองและความมั่นคง : การสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของกฎบัตรอาเซียน การส่งเสริมหลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมการศึกษาด้านสิทธิมนุษยชน ตระหนักคุณค่าและค่านิยมทางวัฒนธรรม การสร้างเครือข่ายผู้บริหารโรงเรียนเพื่อบูรณาการความร่วมมือด้านการศึกษา การจัดงานฉลองวันอาเซียนในประเทศสมาชิก ในช่วงเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นวันก่อตั้งอาเซียน 
  บทบาทการศึกษาในเสาหลักด้านเศรษฐกิจ : การจัดทำกรอบการพัฒนาทักษะในอาเซียน การพัฒนาระบบการถ่ายโอนนักเรียน การถ่ายโอนแรงงานที่มีความชำนาญการในภูมิภาค การพัฒนามาตรฐานอาชีพที่เน้นศักยภาพในอาเซียน ที่สามารถสนองตอบความต้องการของภาคอุตสาหกรรม 
บทบาทการศึกษาในเสาหลักด้านสังคมและวัฒนธรรม : การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ ในชุมชน ชนบท การจัดหลักสูตรระดับปริญญาตรีเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมอาเซียน การสนับสนุนการเรียนภาษาอาเซียน การสร้างความตระหนักเกี่ยวกับอาเซียนในเยาวชน การพัฒนาด้านการวิจัยและการพัฒนาในภูมิภาค การสร้างความรู้และตระหนักเกี่ยวกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอด ชีวิต เพื่อบรรลุเป้าหมายการศึกษาเพื่อปวงชน การจัดทำเนื้อหาเกี่ยวกับอาเซียนร่วมกัน ตลอดจนการร่วมแบ่งปันทรัพยากรและจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาการศึกษาในภูมิภาค  3เสาหลักการเปิดเสรีอาเซียน 
นโยบายการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
รัฐบาลไทยได้จัดสรรงบประมาณ 3,000 ล้านบาท (ปี 2552-2557) สำหรับแผนดำเนินการระยะ 5 ปี เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาคอาเซียนโดยมีเป้าหมายภายในปี 2557 จะต้องมีนักเรียนนักศึกษาต่างชาติเข้ามาศึกษาต่อในประเทศไทย  จำนวนทั้งสิ้น 1 แสนคน ด้วยการพัฒนาสถานศึกษาทุกระดับ พัฒนาการศึกษาและจัดการศึกษา  ให้มีคุณภาพโดยที่กระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานหลักในการจัดการศึกษาของประเทศ จึงมีภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการศึกษาเพื่อให้บรรลุการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 ตามกฎบัตรอาเซียน และการดำเนินงานตามปฏิญญา ชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปันให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ได้มีการตั้งคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อขับเคลื่อน ความร่วมมือด้านการศึกษาในอาเซียนสู่การบรรลุเป้าหมาย การจัดตั้งประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 ขึ้น  1 คณะ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองประธาน และผู้บริหารองค์กรหลักร่วมเป็นกรรมการ มีหน้าที่กำหนด นโยบายการดำเนินโครงการและกิจกรรมด้านการศึกษา กำกัลป์ ติดตาม ประเมินผล และให้ข้อคิดเห็นเพื่อให้การดำเนินการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการศึกษาในอาเซียนขององค์กรหลัก สถาบัน และหน่วยงานด้านการศึกษาที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม ในการประชุมคณะกรรมการระดับชาติฯ ดังกล่าว เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2553 ได้เห็นชอบนโยบายการศึกษาของไทยเพื่อดำเนินการตามปฏิญญาอาเซียนด้านการศึกษา ดังนี้ 
นโยบายที่ 1: การเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียน เพื่อสร้างความตระหนัก และเตรียมความพร้อมของครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และประชาชน เพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 
นโยบายที่ 2: การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนให้มีทักษะ  ที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน เช่น ความรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะและความชำนาญการ ที่สอดคล้องกับการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม และการเพิ่มโอกาสในการหางานทำของประชาชน รวมทั้งการพิจารณาแผนผลิตกำลังคน 
นโยบายที่ 3: การพัฒนามาตรฐานการศึกษา เพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนของนักศึกษา และครูอาจารย์ในอาเซียน รวมทั้งเพื่อให้มีการยอมรับในคุณสมบัติทางวิชาการร่วมกันในอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และการแลกเปลี่ยนเยาวชน การพัฒนาระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งช่วยสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต การส่งเสริมและปรับปรุงการศึกษาด้านอาชีวศึกษา และการฝึกอบรมทางอาชีพในขั้นต้น และขั้นต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมและเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน
นโยบายที่ 4: การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีการศึกษาในอาเซียน เพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประกอบด้วย การจัดทำความตกลงยอมรับร่วมด้านการศึกษา การพัฒนาความสามารถ ประสบการณ์ ในสาขาวิชาวิชาชีพสำคัญต่าง ๆ เพื่อรองรับการเปิดเสรีการศึกษา ควบคู่กับการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน 
นโยบายที่ 5: การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสำคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน สำหรับโครงการ และภารกิจสำคัญที่องค์กรหลักต่าง ๆ ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการอยู่แล้ว เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษาทุกระดับ ทั้งในระบบ การศึกษานอกโรงเรียน และการศึกษาตลอดชีวิต โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือ การพัฒนาศักยภาพประชาชนคนไทยให้เข้าสู่การสร้างประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 
การดำเนินการด้านการจัดการศึกษาของไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจโลกจึงเป็นการเตรียมการเพื่อรองรับบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันและอนาคต และวิสัยทัศน์ของประเทศไทยในปี 2558 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กำหนดไว้ 


อ้างอิง: จุไรรัตน์ แสงบุญนำ. (2554). ความรู้เรื่องประชาคมอาเซียน (แหล่งข้อมูลออนไลน์) สืบค้นจาก :   www.oknation.net



ไม่มีความคิดเห็น: