น.ส.กุลยา สุขเกิดผล การจัดการทั่วไป รหัส 5210125401007
บุคคลที่กำหนดชื่อทฤษฎีองค์การตามสถานการณ์ และกรณีคือ Fiedler นอกจากนั้นก็มี Woodward, Lawrence และ Lorsch ได้ทำการวิจัยศึกษาเรื่องนี้
[1]การบริหารตามสถานการณ์ เป็นแนวคิดที่ว่าไม่มีทฤษฎีหรือวิธีการทางการบริหารวิธีใดที่จะนำไปใช้ได้ทุกสถานการณ์หรือไม่มีรูปแบบการบริหารแบบใดดีที่สุด การบริหารแต่ละแบบและแต่ละวิธีจะก่อให้เกิดผลแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมแต่ละอย่าง การเลือกแบบใดให้เหมาะสมขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เพราะแต่ละวิธีก็มีข้อดีและข้อจำกัดอยู่ในตัว การบริหารที่มีประสิทธิภาพจะให้ความสำคัญต่อการเลือกใช้การจัดการให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ที่เกิดกับปัญหาแต่ละปัญหา มีความเชี่ยวชาญที่จะจำแนกวิเคราะห์ และแก้ไขแต่ละสถานการณ์ ซึ่งเป็นความจริงว่าปัญหาแต่ละเรื่องมีสถานการณ์แตกต่างกัน ทำให้การบริหารเป็นเรื่องที่ยากและไม่มีข้อตายตัว แนวความคิดของการบริหารตามสถานการณ์จึงถือเอาความสัมพันธ์ต่าง ๆ เป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ของปัจจัยในองค์กร ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนอกองค์กรและความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับสภาพแวดล้อม และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ การจัดการวิธีนี้มีใช้กันในหลายองค์การ โดยพิจารณาว่า “IF-THEN” ถ้าสถานการณ์เป็นเช่นนั้น แล้วจึงเลือกกลวิธีที่คิดว่าเหมาะสมกับสถานการณ์นั้น
[2]การบริหารเชิงสถานการณ์ (Situational Management Theory) หรือทฤษฎีอุบัติการณ์ (Contingency Theory) การบริหารในยุคนี้ค่อนข้างเป็นปัจจุบัน ปรัชญาของการบริหารเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากการมองการบริหารในเชิงปรัชญา ไปสู่การมองการบริหารในเชิงสภาพข้อเท็จจริง เนื่องจากในปัจจุบันมนุษย์ต้องประสบกับปัญหาอยู่เสมอ
แนวความคิด
ในปี 1967 Fred E.Fiedler ได้เสนอแนวความคิดการบริหารเชิงสถานการณ์ (Situational Management Theory) หรือทฤษฎีอุบัติการณ์ (Contingency Theory) ซึ่งถือเป็นทฤษฎีการบริหารที่ขึ้นอยู่กับในเชิงสภาพข้อเท็จจริงด้วยแนวคิดที่ว่าการเลือกทางออกที่จะไปสู่การแก้ปัญหาทางการบริหารถือว่าไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุด หากแต่สถานการณ์ต่างหากที่จะเป็นตัวกำหนดว่าควรจะหยิบใช้การบริหารแบบใดในสภาวการณ์เช่นนั้น หลักคิดง่ายๆ ของการบริหารเชิงสถานการณ์ นั้นถือว่าการบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ และรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม และผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด โดยเป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระบบปิดและระบบเปิด และยอมรับหลักการของทฤษฎีระบบว่าทุกส่วนของระบบจะต้องสัมพันธ์ และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน คือมุ่งเน้น ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมขององค์การ สถานการณ์บางครั้งจะต้องใช้การตัดสินใจอย่างเฉียบขาด บางสถานการณ์ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงหลักมนุษย์และแรงจูงใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงเป้าหมายหรือผลผลิตขององค์กรเป็นหลัก การบริหารจึงต้องอาศัยสถานการณ์เป็นตัวกำหนดในการตัดสินใจ
การบริหารเชิงสถานการณ์จะคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลใน
หน่วยงานเป็นหลักมากกว่าที่จะแสวงหาวิธีการอันดีเลิศมาใช้ในการทำงาน โดยใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาในการพิจารณาด้วย โดยเน้นให้ผู้บริหารรู้จักใช้การพิจารณาความแตกต่างที่มีอยู่ในหน่วยงาน เช่น ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างระหว่างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการ และการควบคุมงาน ความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร หรือความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การ เป็นต้น
ทฤษฎีองค์การและการจัดการ ทุกองค์การไม่ว่าจะมีขนาด ประเภท หรือสถานที่ตั้งอย่างไร จำเป็นต้องมีการจัดการที่ดี ซึ่งการจัดการที่ดีเป็นจุดเริ่มต้นของการดําเนินงานขององค์การ การเติบโตและการดํารงอยู่ต่อไปของ องค์การ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์การในยุคศตวรรษที่21 ซึ่งต้องเผชิญกับ ปัจจัยแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม เศรษฐกิจ โลกาภิวัตน์ และเทคโนโลยี ทําให้องค์การต้องมีแนวทางในการจัดการที่ทันสมัยเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้ เพื่อให้เข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการสมัยใหม่ ในบทนี้จะได้นำเสนอหัวข้อเกี่ยวกับเรื่อง องค์การสมัยใหม่ ความหมายของการจัดการ ขบวนการจัดการ บทบาทของการจัดการ คุณสมบัติของนักบริหารที่ประสบความสำเร็จการจัดการเกิดขึ้นในองค์การ และในมุมมองด้านการจัดการ องค์การหมายถึง การที่มีคนมาทํางานร่วมกันอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งองค์การมีลักษณะร่วมกันอยู่ 3 ประการ ได้แก่
1) ทุกองค์การต้องมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของตนเอง
2) ทุกองค์การต้องมีคนร่วมกันทํางาน
3) องค์การต้องมีการจัดโครงสร้างงานแบ่งงานหน้าที่รับผิดชอบของคนในองค์การ
ตามที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าองค์การปัจจุบันต้องเผชิญกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นองค์การต้องมีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ แนวคิดเกี่ยวกับองค์การในแบบเดิมกับองค์การสมัยใหม่ก็มีความแตกต่างกัน เช่น การจัดการแบบคงเดิมกับแบบพลวัตร รูปแบบไม่ยืดหยุ่นกับแบบยืดหยุ่น การเน้นที่ตัวงานกับเน้นทักษะ การมีสถานที่ทำงานและเวลาทำงานที่เฉพาะคงที่กับการทํางานได้ทุกที่ทุกเวลา องค์การแบบเดิมจะมีลักษณะการจัดการที่คงเดิมไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นบ้างก็เป็นในช่วงสั้นๆ แต้องค์การปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จะมีความคงที่บ้างเป็นช่วงสั้นๆ จึงมีการจัดการแบบพลวัตรสามารถปรับเปลี่ยนให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา องค์การแบบเดิมมักมีการจัดการแบบไม่ยืดหยุ่น ส่วนในองค์การสมัยใหม่จะมีการจัดการที่ยืดหยุ่น กล่าวคือในองค์การสมัยใหม่จะไม่ยึดติดกับแนวทางปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ต้องให้มีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติ สามารถปรับเปลี่ยนได้ถ้าสถานการณ์แตกต่างไป องค์การแบบเดิมลักษณะของงานจะคงที่ พนักงานแต่ละคนจะได้รับมอบหมายงานเฉพาะ และทํางานในกลุ่มเดิมไม่ค่อยเปลี่ยน แต่ในองค์การสมัยใหม่พนักงานต้องเพิ่มศักยภาพของตนที่จะเรียนรุ้และสามารถทํางานที่เกี่ยวข้องได้รอบด้าน และมีการสับเปลี่ยนหน้าที่และกลุ่มงานอยู่เป็นประจํา ตัวอย่างเช่น ในบริษัทผลิตรถยนต์ พนักงานในแผนกผลิต ต้องสามารถใช้งานเครื่องจักรที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ได้ด้วย ซึ่งในคำบรรยายลักษณะงาน (job description) เดียวกันนี้เมื่อ 20 ปก่อนไม่มีการระบุไว้ดังนั้นในองค์การสมัยใหม่จะพัฒนาบุคลากรให้เพิ่มทักษะการทํางานได้หลากหลายมากขึ้น และในการพิจารณาค่าตอบแทนการทํางาน (compensation) ในองค์การสมัยใหม่มีแนวโน้มที่จะตอบแทนตามทักษะ (skill based) ยิ่งมีความสามารถในการทํางานหลายอย่าง มากขึ้นก็ได้ค่าตอบแทนมากขึ้น แทนการให้ค่าตอบแทนตามลักษณะงานและหน้าที่รับผิดชอบ (job based) องค์การแบบเดิม พนักงานจะทํางานในสถานที่ทํางานและเป็นเวลาที่แน่นอน แต่ในองค์สมัยใหม่มีแนวโน้มที่จะให้อิสระกับพนักงานในการทํางานที่ใดก็ได้เมื่อไรก็ได้ แต่ต้องได้ผลงานตามที่กําหนด เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีเอื้อให้สามารถสื่อสารถึงกันได้แม้ทํางานคนละแห่ง รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และโลกาภิวัตน์ทําให้คนต้องทํางานแข่งกับเวลามากขึ้นจนเบียดบังเวลาส่วนตัวและครอบครัว ดังนั้นองค์การสมัยใหม่จะให้เกิดความยืดหยุ่นในการทํางานทั้งเรื่องเวลาและสถานที่เพื่อให้สอดรับกับแนวโน้มวิถีการดําเนินชีวิตของพนักงานยุคใหม่
เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ประเทศไทยจะได้รับผลประโยชน์ในทางบวกหรือผลดีที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งเป็นสิ่งที่คนไทยเน้นย้ากันเป็นพิเศษ จะมีดังนี้ คือ
1. ก็คือ จะมีตลาดสินค้าและบริการที่ใหญ่ขึ้น นักธุรกิจไทยจะมีตลาดการค้าที่ใหญ่ขึ้น เพราะมีประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 580 ล้านคน เพราะทั้ง 10 ประเทศนี้ต่างก็มีจำนวนมหาศาลพอสมควร โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ซึ่งมีประชากรประมาณ 220 ล้านคน บวกกับ ฟิลิปปินส์ ประมาณ 87 ล้านคน เวียดนาม 84 ล้านคน ไทยอีกประมาณ 63 ล้านคน เหล่านี้เป็นต้น นับว่าจะการเพิ่มโอกาสทางการค้าเนื่องจากมีขนาดตลาดที่ใหญ่โตขึ้น และจะเอื้อให้การผลิตในลักษณะที่ผลิตมากขึ้นต้นทุนต่ำลงย่อมมีโอกาสมากขึ้นด้วย (Economies of Scale) แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ แต่ละประเทศก็ต้องออกแรงขยันหาตลาดและมีกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการหาลูกค้าเช่นกันกลยุทธ์ในด้านการตลาดการหาลูกค้าจะต้องทบทวนกันใหม่ เพราะลูกค้าใหม่ที่จะเข้ามาในประเทศย่อมนำกลยุทธ์ที่เขาเคยประสบความสำเร็จหรือเหนือกว่าเราออกมาใช้และจะมีการนำวัฒนธรรมในการบริโภคสินค้าเข้ามาให้นักการตลาดของเราได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้นจากเดิม เราต้องเรียนรู้พฤติกรรมการบริโภคสินค้าและบริการตลอดจนลูกเล่นทางการค้าของเขา รวมทั้งความเชื่อต่างๆ การปรับตัวของธุรกิจภายในประเทศจะต้องทันต่อเหตุการณ์และสภาพของตลาดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ใครปรับตัวหรือมีการเตรียมการที่ดีย่อมได้ผลในทางบวกแต่ในทางตรงกันข้ามหากพ่อค้าของเราปรับตัวช้า จะสูญเสียโอกาสและอาจจะสูญเสียฐานของลูกค้าเดิมไปด้วยเช่นกัน
2. ประเทศไทยจะได้อานิสงส์ ในการที่จะกลายมาเป็นเป้าหมายในการดึงดูดการลงทุน เงินลงทุน จากต่างประเทศได้มากขึ้นเพราะต่อไปนี้การขยายการลงทุนจากต่างประเทศมาไทยจะกระทำได้ง่ายขึ้น หากเป็นไปตามข้อตกลงที่ได้ตกลงกันไว้ และประเทศไทยได้เปรียบประเทศอื่นๆ หลายประการโดยเฉพาะทัศนคติของคนไทยที่มีต่อนักลงทุนชาวต่างชาตินั้นดีมาก แม้ว่าบางครั้งการลงทุนของต่างชาติมาลงทุนในประเทศไทยไม่ได้ก่อให้เกิดราย ได้แก่ ชุมชน การจ้างงาน หรือการนำเทคโนโลยีมาช่วยประเทศไทยเลย แต่คนไทยก็ไม่เคยรังเกียจนักลงทุนเหล่านี้ เหมือนดังประเทศอื่น อีกทั้งระเบียบกฎเกณฑ์ด้านการลงทุน ประเทศไทยอาจกล่าวได้ว่าเปิดโอกาสมากกว่าหลายๆ ประเทศในภูมิภาคนี้ แม้กระทั่งหากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาวหรือพม่า เป็นต้นกลยุทธ์ในด้านการลงทุนและการเงิน ของประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องพัฒนาให้ทันกาลการเข้ามาของต่างชาติ การเปิดเสรีมากเกินไปนอกจากจะทำให้ฐานะของประเทศไทยเกิดความเสี่ยงมากขึ้นแล้ว ไทยจะไม่สามารถหาประโยชน์ได้มากเหมือนแต่ก่อนที่ยังไม่เปิดเสรีในด้านนี้ กฎหมายหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ ของภาครัฐด้านการลงทุนและการเงินจะต้องรื้อปรับระบบกันใหม่ (Reengineering) ในขณะนี้ ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศได้รับผลดีอย่างเต็มที่และต้องหามาตรการในการลดความเสี่ยงในด้านการลงทุนและการเงิน ทุกรูปแบบ แต่มิใช่เป็นการสกัดกั้นอย่างมีอคติต่อนักลงทุนชาวต่างชาติเช่นกัน ทั้งนี้ รวมทั้งกฎหมายที่ว่าด้วยการถือครองอสังหาริมทรัพย์เช่น ที่ดินเป็นต้น มิฉะนั้นแล้ววันข้างหน้าคนไทยจะไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ธุรกิจก็เป็นธุรกิจของต่างชาติที่เข้ามามีบทบาททำให้ธุรกิจท้องถิ่นที่มีมาแต่ช้านานสูญหายไปหมด โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย
3. การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสามารถทำให้ประเทศไทยมีอำนาจในการเจรจาต่อรองต่อเวทีโลกได้มากขึ้น เพราะต่อไปนี้จะมีฐานประชาคมอาเซียนสนับสนุนอยู่และไม่ใช่ไปแบบโดดเดี่ยวเหมือนเมื่อก่อน ซึ่งสามารถทำให้ประเทศคู่ค้าต้องรับฟังมากขึ้น เพราะดีไม่ดีอาจจะไปกระทบกับประชาคมอาเซียนไปด้วย เนื่องจากประเทศไทยเป็นสมาชิกของประชาคมประเทศหนึ่งกลยุทธ์ที่จะช่วยได้อาจเป็นไปในรูปการสร้างและการขยายเครือข่ายโดยมีพันธมิตรคู่ค้าที่เป็นนักลงทุนต่างชาติในกลุ่มอาเซียนเพื่อจะเป็นฐานหรือตัวช่วยในการเจรจาต่อรองมากขึ้น ทั้งนี้ โดยอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ผลประโยชน์ร่วมกันและภายใต้ความเป็นธรรมและเสมอภาค รวมทั้งการเรียนรู้เทคนิคในการเจรจาต่อรองในรูปแบบต่างๆ ที่สอดคล้องต่อประเพณีและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ
4. การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจะทำให้นักธุรกิจไทย และผู้ที่เกี่ยวข้องด้านเศรษฐกิจและการค้ามีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องให้ดีขึ้นจากเดิม เพื่อการรองรับการแข่งขัน และสามารถนำมาซึ่งเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่พร้อมจะออกไปเพื่อการแข่งขัน รวมทั้งประเทศไทยสามารถเรียนรู้เทคนิคด้านต่างๆ ของประเทศในกลุ่มนี้มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้าน การผลิต การตลาด การขนส่งและโลจิสติกส์ การจัดการ การเจรจาต่อรอง การเงิน การท่องเที่ยว การเดินอากาศ และอื่นๆกลยุทธ์ที่เหมาะสมในประเด็นนี้ ก็คือ เราต้องหาเทคโนโลยีในการพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการให้ดำรงความเหนือกว่าให้ได้ การลงทุนพัฒนาและการวิจัยในด้านเทคโนโลยีของธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นและเป็นหนทางในการอยู่รอดและสร้างความได้เปรียบในด้านการแข่งขัน ภาครัฐต้องเห็นความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาในด้านการผลิตและการบริการและต้องมาช่วยภาคเอกชนในทุกวิถีทาง เพราะหากปล่อยให้ภาคเอกชนกระทำการแต่เพียงฝ่ายเดียวจะไม่ประสบความสำเร็จในระยะยาว เนื่องจากขาดงบประมาณและความร่วมมือของหน่วยงานราชการ การสร้างนวัตกรรมของประเทศไทยจะเป็นตัวจักรสำคัญในการสร้างความแตกต่างและความยั่งยืนของอุตสาหกรรมไทยในวันข้างหน้าเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
5. จะมีผลต่อการจ้างแรงงานเพราะสามารถเข้าโรงงานอุตสาหกรรมที่ให้ค่าจ้างแรงงานที่สูงกว่าเดิม รวมทั้งการออกไปหารายได้เพิ่มขึ้นจากค่าแรงงานในกลุ่มประเทศอาเซียน ส่วนสถานประกอบการสามารถที่จะสร้างรายได้ของสถานประกอบการให้มากขึ้นจากการขยายตลาดและการเพิ่มปริมาณลูกค้ามากขึ้น และในที่สุด ก็จะมีผลต่อรายได้ที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมไทยดีขึ้นรวมทั้งการได้รับสินค้าและการบริการที่ดีขึ้นหรือมีตัวเลือกและทางเลือกมากขึ้นจากเดิมกลยุทธ์ที่เหมาะสมในประเด็นนี้ ก็คือ การเพิ่มทักษะในด้านภาษาท้องถิ่นของแต่ละประเทศนอกเหนือจากภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ที่เคยมีมาแต่ก่อน แต่จำเป็นที่จะต้องมีการเรียนการสอนด้านภาษามาเลย์ ภาษาเวียดนาม ภาษาเขมร ลาว และภาษาพม่าให้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน ในประเด็นนี้ผู้เขียนได้ทราบว่าประเทศมาเลเซียได้มีการเรียนการสอนภาษาไทยกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันเพื่อการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยเฉพาะ ดังนั้น ภาครัฐไม่ว่าจะเป็นระดับประถม มัธยม สายวิชาชีพ หรือแม้กระทั่งระดับอุดมศึกษาก็น่าที่จะมีการปรับตัวเตรียมการกันได้แล้ว เพราะเรื่องของภาษาเป็นเรื่องของการใช้เวลาและการฝึกหัดที่ต้องกินเวลาพอสมควรเพื่อให้ได้ผลดี ในส่วนการศึกษาของภาคเอกชนโดยเฉพาะสถานศึกษาภาคเอกชนก็ควรปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อเตรียมการผลิตนักเรียน นิสิต นักศึกษาที่มีความพร้อมในด้านนี้ออกไปเช่นกัน
6. เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ก็เท่ากับว่าต่อไปนี้จะมีการปรับปรุงแรงงานฝีมือในสาขาวิชาชีพต่างๆ (7 วิชาชีพ) ให้เท่าเทียมนานาประเทศ สาขาวิชาชีพเหล่านี้ ได้แก่ วิศวกร แพทย์ พยาบาล นักบัญชี นักสำรวจ ทันตแพทย์ และผู้ประกอบวิชาชีพ สถาปนิก เพราะสาขาวิชาชีพเหล่านี้เป็นสาขาวิชาชีพหน้าด่านของไทยที่มีความพร้อมสูง มีสมาคมและการรวมตัวที่มีประสิทธิภาพเป็นที่ประจักษ์ และเป็นสมาคมที่ประชาคมอาเซียนได้ยกมาเป็นกลุ่มแรกของไทยที่จะมีการวางกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆ หากจะมีคนในประเทศสมาชิกเข้ามาทำงานในกลุ่มวิชาชีพทั้งเจ็ดนี้ในไทย แต่ในทางกลับกันหากคนไทยที่ทำงานในกลุ่มวิชาชีพเหล่านี้ยังไม่พร้อมในการปรับตัว ปัญหาก็จะตกมาสู่พวกเขาเช่นกัน ในประเด็นนี้ข้อสรุป ก็คือ การเปิดให้ผู้ประกอบอาชีพที่มีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการประสานงานวิชาชีพสาขาต่างๆ ทั้ง 7 สาขา (ASEAN Joint Coordinating Committee) และหน่วยงานที่กำกับดูแลวิชาชีพหรือองค์การระดับประเทศสมาชิกต่างๆ หรือสภาวิชาชีพ (Professional Regulatory Authority) หรือกระทรวง/องค์การที่เกี่ยวข้องของประเทศสมาชิก ขึ้นทะเบียนหรือออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบวิชาชีพชาวต่างชาติเข้ามาประกอบวิชาชีพในประเทศอาเซียนได้ โดยต้องปฏิบัติตามกฎและระเบียบภายในประเทศนั้นๆ ในทำนองกลับกันหากคนไทยที่ประกอบวิชาชีพเหล่านี้ ก็สามารถที่จะไปทำงานยังประเทศอื่นที่มีค่าจ้างแรงงานที่สูงกว่าได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการไทย หรือแรงงานไทยก็จะมีโอกาสออกไปลงทุนหรือทำงานในต่างประเทศมากขึ้น และได้รับค่าตอบแทนที่สูงจากเดิมกลยุทธ์ที่ควรนำมาพิจารณาในประเด็นนี้ น่าจะเป็นเรื่องที่จะทำอย่างไรให้ความรู้ในด้านภาษาของคนในกลุ่มวิชาชีพเหล่านี้สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว สามารถสื่อสารได้หลายภาษามากขึ้นจากแต่เดิม รวมทั้งเทคนิคและวิธีการใหม่ๆ ในการประกอบอาชีพในด้านนั้นๆ ที่จะต้องนำมาเสริมเพิ่มเติมความรู้ให้มากขึ้นจากเดิม รวมทั้งกลยุทธ์ในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่หาหนทางจูงใจให้คนดีและคนเก่งอยู่ในองค์การของเราให้นานที่สุด ศาสตร์ในด้านการรักษาทรัพยากรมนุษย์ที่ทรงคุณค่าไว้ในองค์การหรือ Talent Management ควรจะถูกหยิบยกมาพิจารณาและให้ความสำคัญมากขึ้น มิฉะนั้น จะเกิดเหตุการณ์สมองไหลไปสู่องค์การของต่างชาติทั้งในและนอกประเทศไทยกันหมด
7. ประเทศไทยสามารถอาศัยความร่วมมือช่วยเหลือกันในภาคเศรษฐกิจหรือ AEC นี้ เข้าไปเสริมสร้างความสัมพันธ์ในด้านการเมือง การปกครองการป้องกันประเทศให้ดีขึ้น เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและลดข้อขัดแย้งต่างๆ กับประเทศเพื่อนบ้านของไทย ไม่ว่าจะเป็น พม่า กัมพูชา หรือประเทศอื่นๆ โดยผ่านความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนเป็นหัวหอกเหมือนที่เคยเป็นมาในอดีตและจะช่วยให้ด้านอื่นๆ มีสัมพันธภาพอันดีตามมาในที่สุดกลยุทธ์ที่เหมาะสมคือการเรียนรู้และการปรับตัวโดยอาศัยการศึกษาและการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการวัฒนธรรมข้ามชาติหรือที่เรียกว่า Cross Cultural Management มาเป็นหลักเพื่อให้เกิดการผนึกความร่วมมือร่วมใจ ปรองดองกันระหว่างคนไทยและประเทศเพื่อนบ้านให้อยู่ร่วมกันโดยปราศจากข้อขัดแย้งทางด้าน สังคม เศรษฐกิจและการเมือง
อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/293#ixzz1cUexl02o
วัตถุประสงค์ทั่วไป
1. ทราบถึงความสำคัญของการสืบทอดวัฒนธรรมไทย
2. เข้าใจถึงการธำรงรักษาวัฒนธรรมไทย
3. เข้าใจคุณสมบัติผู้ทรงภูมิปัญญาไทยได้
4. เข้าใจถึงคุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
5. เข้าใจวิธีการส่งเสริมภูมิปัญญาไทย
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. อธิบาย ความหมาย ประเภท ลักษณะ และภูมิปัญญาไทย ของสังคมไทยได้
2. แยก แยะภูมิปัญญาไทยออกมาเป็นสาขาต่าง ๆได้
3. อธิบายคุณสมบัติผู้ทรงภูมิปัญญาไทยได้
4. อธิบาย คุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาไทยได้
5. อธิบายวิธีการส่งเสริมภูมิปัญญาไทยได้
ความสำคัญของการสืบทอดวัฒนธรรม
วัฒนธรรมไทยเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตของคนในสังคมไทย ทั้งยังเป็นเครื่องวัดความเจริญ หรือความเสื่อม
ของสังคม ซึ่งมีผลต่อความก้าวหน้าของประเทศ เพราะประเทศจะเจริญหรือไม่นั้นย่อมขึ้นอยู่กับการ พัฒนา
ของคนในสังคม จากแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่กล่าวถึงการพัฒนาประเทศให้ เจริญ
ก้าวหน้านั้น สังคมต้องมีดุลยภาพจากการพัฒนาคนในสังคมปรากฏผลได้ดังนี้
1. เป็นสังคมคุณภาพ หมายถึง สังคมไทยต้องพัฒนาคนในสังคมทุกด้าน ทั้งด้านความรู้ ทักษะมีการ
ดำเนินชีวิตที่ดีโดยยึดหลักความพึงพอเพียงความพอดีและสามารถพึ่งตัวเองได้
2.เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและกาเรียนรู้โดยคนไทยสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตให้เป็นคนคิดเป็นทำเป็น และแก้ปัญหาเป็นเป็นผู้มีเหตุผลร่วมใจกันพัฒนาภูมิปัญญาไทยควบคู่กับการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่น
3. เป็นสังคมที่มีความเอื้ออาทรต่อกัน โดยต้องปลูกฝังให้คนไทยเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีค่านิยมที่ถูกต้อง พึ่งพาอาศัยกัน มีความรู้รัก รู้สามัคคี ภูมิใจในความเป็นไทย รักษาสถาบันที่สำคัญของสังคมไทยสืบต่อไป
การสืบทอดวัฒนธรรมไทยที่สำคัญ
1. การปลูกฝังค่านิยมที่ดี ซึ่งต้องเริ่มที่พ่อ - แม่ ควรเป็นตัวอย่างที่ดี อบรมสั่งสอนลูกให้เป็นคนดีของ
สังคม
2. การจัดวิชาที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีไว้ในหลักสูตรทุกระดับชั้น เพื่อเป็นการปลูกฝังและสั่งสม
ความรู้ ประสบการณ์ตัวแต่เด็ก ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากสถาบันการศึกษา ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่
กระทรวงศึกษา และภาคเอกชน ได้แก่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ
3.การสนับสนุนส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีอย่างจริงจัง โดยประสานงานกับหน่วยงานของจังหวัดหรือท้องถิ่นทั้งภาครัฐและเอกชน ช่วยจัดงานฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีให้เป็นที่รู้จัก
4. การจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีไทย โดยใช้การท่องเที่ยว เช่นโครงการ
Unseen Thailand เที่ยวเมืองไทยไม่ไปไม่รู้ เป็นต้น
5. การจัดงานเที่ยวกับผลิตภัณฑ์สินค้าไทย เป้นงานเกี่ยวกับ OTOP (One Tambol One Product)
หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภันฑ์ มีการสาธิตเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณีไทย เรื่องของอาชีพ การแสดงพื้นบ้านต่างๆ อาจจัดงานใหญ่ เช่น ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติ หรือหน่วยงานของเอกชน
6. การเสนอข่าวประกาศเกียรติคุณบุคคลที่ประพฤติตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนทั่วไป เช่น แม่ดีเด่น ลูกกตัญญู หรือผู้ที่มีผลงานหรืออนุรักษ์ผลงานเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยผู้อนุรักษ์หุ่นละครโรงเล็ก ผู้ประดิษฐดนตรีไทยอาจใช้วัสดุสมัยใหม่
7. การส่งเสริมให้สถาบันทางศาสนาเป็นศูนย์รวมแหล่งความรู้แขนงต่าง ๆ เช่นวัด หรือพระสงฆ์ เป็นต้นมีส่วนในการช่วยปลูกฝังส่งเสริมประเพณี วัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการเทศน์ การอบรม การเรียนการสอนในโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นต้น
การบริหารการเปลี่ยนแปลง13 เป็นการวางแผนปรับแต่งองค์การ กระบวนงานเพื่อให้องค์การและบุคลากรสามารถปรับตัว เกิดการยอมรับ และพัฒนาศักยภาพของส่วนราชการ ไปพร้อมการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารราชการแผ่นดิน และกำหนดแนวทางในการลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับส่วนราชการและระดับบุคลากร
การวางแผนเพื่อปรับแต่งองค์การทั้งระดับกระทรวง ทบวง และกรม จะยึดแผนและเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ของส่วนราชการเป็นที่ตั้ง โดยมีการกำหนดและทบทวนทิศทางและยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และแผนงานโครงการ เพื่อทำการวิเคราะห์และประเมิน ขีดความสามารถและปริมาณทรัพยากรที่ส่วนราชการมีอยู่ ทั้งด้านบุคลากร กระบวนการในการทำงาน ระบบการบริหาร ค่านิยมและทัศนคติของข้าราชการ ความสามารถในการให้บริการประชาชน กฎระเบียบต่างๆ ฯลฯ ที่ใช้อยู่ และประเมินหาสิ่งที่ยังขาด (Gap) หรือไม่เพียงพอ เพื่อกำหนดแนวทางหรือวิธีการลดช่องว่างนั้น โดยการจัดทำเป็นข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for change)14
การบริหารการเปลี่ยนแปลงในส่วนราชการ ก.พ.ร.ได้สนับสนุนให้นักบริหารในระดับกระทรวง ทบวง กรมและจังหวัด เป็นผู้แสดงบทบาทของนักบริหารการเปลี่ยนแปลง (Chief Change Officer: CCO) รับผิดชอบในการผลักดันให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในส่วนราชการ โดยดำเนินการ พัฒนาแนวทางและวิธีการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัย เหมาะสม ในบริบทของระบบราชการไทย เพื่อนำมาเป็นต้นแบบกลางในการดำเนินการบริหารการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนให้นักบริหารการเปลี่ยนแปลง และทีมงานใช้เทคนิควิธีการบริหารการเปลี่ยนแปลงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนราชการ รวมทั้งให้แนวคิดในการวางแผนและแก้ปัญหาต่างๆในการปฏิบัติงาน และเสริมสร้างการบริหารการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานนำร่อง ก่อนที่จะดำเนินการขยายผลต่อไป เพื่อให้ส่วนราชการและจังหวัดสามารถนำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for Change) ไปสู่การปฎิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งพัฒนาบุคลากรของ สำนักงาน ก.พ.ร. ให้มีประสบการณ์และเข้าใจการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อสนับสนุนส่วนราชการอื่นๆ ต่อไป
แนวคิดความได้เปรียบในการแข่งขัน (competitive advantage) และทฤษฎีไดมอนด์ (diamond model) ของ ไมเคิล อี. พอร์เตอร์ (Michael E. Porter)
Porter (1985, p. 157) ได้เสนอความคิดเรื่องกลยุทธ์การแข่งขัน (competitive strategy) โดยเชื่อว่า การทำธุรกิจจะประสบกับปัญหา หรือมีการแข่งขันกันมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับพลังต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ 5 ประการ (5 forces) ที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน คือ
ประการที่ 1 กลุ่มที่มีความสามารถเข้าสู่ตลาดใหม่ (potential new entrants) โดยการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรมจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเป็นเรื่องง่ายที่บริษัทต่าง ๆ จะเข้ามาสู่ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในบางสถานการณ์ผู้เข้าตลาดใหม่จะเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจที่สำคัญของสิ่งแวดล้อมตลาด เช่น ความชัดเจนของตลาด ราคา และความภักดีของลูกค้า เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็มีกลุ่มที่มีความสามารถกดดันให้มีการตอบสนอง และการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของบริษัทอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน การคุกคามของผู้ที่เข้าสู่ตลาดใหม่จะต้องอาศัยการประเมินค่าสิ่งที่เป็นอุปสรรคในการเข้าตลาด เช่น ความภักดีของกลุ่มลูกค้า (brand loyalty) ความสนิทสนมในด้านความสัมพันธ์กับลูกค้า ต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายจริง ความขาดแคลนของทรัพยากรที่สำคัญ การเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบ ที่ถูกควบคุมโดยบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมเดิม ช่องทางการจัดจำหน่ายที่ถูกควบคุมโดยบริษัทอุตสาหกรรมเดิม (access to distribution) ความได้เปรียบด้านต้นทุนของการอยู่ได้ของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมจากประสบการณ์ที่ยาวนานมีผลต่อการหักค่าเสื่อมทรัพย์สิน และการขนส่งและการปฏิบัติของภาครัฐ
ประการที่ 2 กลุ่มคู่แข่งขัน (rivalry) เป็นการอธิบายความรุนแรงของการแข่งขันระหว่างบริษัทต่าง ๆ ในภาคอุตสาหกรรม ภาวะกดดันในด้านการแข่งขันสูง มีผลต่อความกดดันด้านราคา กำไร และการแข่งขันระหว่างการอยู่ได้ของบริษัทต่าง ๆ จะเกิดขึ้นสูงมาก เมื่อมีบริษัทจำนวนมากในขนาดตลาดเดิม บริษัทต่าง ๆ มีกลยุทธ์คล้ายกัน อัตราการเติบโตของตลาดต่ำ อุปสรรคเพื่อความอยู่รอดสูง เช่น วัสดุเฉพาะคุณภาพสูงและราคาแพงและ มีความแตกต่างกันไม่มากระหว่างบริษัทต่าง ๆ กับสินค้า
ประการที่ 3 กลุ่มสินค้าทดแทน (substitute) ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทนจะมีอยู่ ถ้ามีทางเลือกในสินค้าราคาถูกของปัจจัยในด้านการปฏิบัติงานที่ดีกว่า ซึ่งสามารถดึงดูดด้วยอัตราส่วนของปริมาณตลาด การลดลงของปริมาณยอดขาย ทั้งนี้ ภัยคุกคามของสินค้าทดแทนมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบของสินค้า ถูกตัดสินโดยความภักดีของกลุ่มลูกค้า ความสนิทสนมในด้านความสัมพันธ์ของลูกค้า การเปลี่ยนแปลงในด้านราคาของผู้บริโภค ความสัมพันธ์ด้านราคาเพื่อการปฏิบัติงานของกลุ่มตัวแทน แนวโน้มในปัจจุบัน
ประการที่ 4 กลุ่มผู้ซื้อ (buyers) พลังการต่อรองของผู้ซื้อเป็นตัวกำหนดราคา ผู้ซื้อสามารถกดดันการกำหนดกำไร และปริมาณการซื้อ พลังการต่อรองของผู้บริโภคจะมีสูงเมื่อปริมาณการซื้อสูง
ประการที่ 5 กลุ่มผู้จำหน่ายวัตถุดิบ (suppliers) กลุ่มผู้จำหน่ายวัตถุดิบประกอบด้วยแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ ซึ่งมีความจำเป็นในการจัดสินค้าและบริการ พลังการต่อรองของกลุ่มผู้จำหน่ายวัตถุดิบจะมีสูง เมื่อตลาดถูกครอบงำโดยผู้จำหน่ายขนาดใหญ่สองสามราย มีความเป็นไปได้ที่กลุ่มผู้จำหน่ายวัตถุดิบมีการรวมตัวกันล่วงหน้าเพื่อให้ได้มาซึ่งราคาและกำไรที่สูง ต่อมาแนวคิดนี้ได้รับการพัฒนาเป็นทฤษฎีเครือข่ายวิสาหกิจ (cluster theory) ในฐานะที่เป็นเครื่องมือการพัฒนาในระดับจุลภาค โดยพอร์เตอร์ได้เสนอบทความวิชาการ เรื่อง The Competitive Advantage of Nations ในปี ค.ศ. 1990 ว่า แนวคิดที่มีความหมายต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างแท้จริง คือ การเพิ่มผลิตภาพ (productivity) คลัสเตอร์ หรือเครือข่ายวิสาหกิจ หมายถึง เครือข่ายที่ประกอบด้วยคุณลักษณะ 4 ประการ คือ
คุณลักษณะที่ 1 การเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
คุณลักษณะที่ 2 ความร่วมมือซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อถือไว้วางใจ ซึ่งเป็นต้นทุนทางสังคมที่มีความสำคัญประการหนึ่ง
คุณลักษณะที่ 3 การแข่งขัน ข้อแตกต่างของเครือข่ายวิสาหกิจคือเป็นความร่วมมือบนพื้นฐานของการแข่งขัน
คุณลักษณะที่ 4 การมุ่งกำหนดกลไกราคาหรือปริมาณ เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันในบรรดาหมู่สมาชิก และประสิทธิภาพโดยรวม
การบริการสีเขียว (Green Service)
"จัดการธุรกิจ ตระหนักคิด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม"
รูปแบบการให้บริการของธุรกิจท่องเที่ยวแขนงต่าง ๆ ที่สร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวด้วยมาตรฐานคุณภาพที่ดี ควบคู่ไปกับการมีปณิธานและการดำเนินการรักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการให้บริการต่างๆ
หากใครที่เดินทางอย่างสม่ำเสมอจะสังเกตได้ถึงความเปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการทางด้านการท่องเที่ยวที่เห็นได้ชัดประการหนึ่งคือ การจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการการ์ดที่ขอความร่วมมือผู้เข้าพักในโรงแรม รีสอร์ทว่า หากต้องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก็สามารถทำได้ เช่น หากไม่ต้องการให้พนักงานเปลี่ยนผ้าเช็ดตัวผืนใหม่ก็สามารถทำได้โดยการไม่วางในจุดที่โรงแรมกำหนด การลดการใช้กระดาษชำระเท่าที่จำเป็น ฯลฯ หรือโรงแรมมีการใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำให้ผู้เข้าพักส่วนใหญ่รู้สึกว่าต้องประหยัดทั้งๆที่เสียเงินสำหรับการบริการ กลับกลายเป็นว่าการที่ผู้ประกอบการใส่ใจกับเรื่องสิ่งแวดล้อมเท่ากับว่าผู้ประกอบการมิได้ละเลยความรับผิดชอบกับเรื่องเหล่านี้
ซึ่งนโยบายของผู้ประกอบการเหล่านี้ก็ดูเหมือนว่าจะสอดคล้องกับแผนการสร้าง การบริการสีเขียว ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเช่น ส่วนในรายละเอียดของการทำให้แหล่งท่องเที่ยว ผู้ประกอบการท่องเที่ยวสร้างการบริการสีเขียวได้อย่างมีประสิทธิภาพจะประกอบไปด้วย
การสร้าง การบริการสีเขียว ในฐานะพื้นที่ทางวัฒนธรรม
แนวปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการเพื่อส่งเสริมให้เกิดการบริการสีเขียว ทำได้โดยที่ให้บริการทางการท่องเที่ยวทุกแขนงที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อมรดกทางวัฒนธรรมและสร้างผลกระทบน้อยที่สุดโดยการ
ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนหน่วยงานทางราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันและบำรุงรักษาสถานที่และมรดกทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและวัฒนธรรม รวมทั้งสิ่งที่เป็นความเชื่อของท้องถิ่น
หลีกเลี่ยงการซื้อขาย/แลกเปลี่ยนโบราณวัตถุและการจัดแสดงทางวัฒนธรรมโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
มีการตกแต่งสถานประกอบการด้วยผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น โคมไฟเฟอร์นิเจอร์ เชิงเทียน เป็นต้น โดยหลีกเลี่ยงสิ่งประดับที่เป็นของเก่าและอาจผิดกฎหมาย เช่น พระพุทธรูป เศียรพระพุทธรูป เป็นต้น
เลือกใช้สินค้าและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นในการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว เช่น อาหาร เครื่องดื่มต้อนรับ(น้ำสมุนไพร น้ำมะพร้าว ไวน์ผลไม้ ฯลฯ) การใช้จานชามดินเผา เครื่องจักสาน เป็นต้น
ส่งเสริมการจัดแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยในสถานประกอบการ ซึ่งเป็นที่ยอมรับของคนในท้องถิ่น และหลีกเลี่ยงหรือไม่อนุญาตให้มีการจัดแสดงใดๆ ที่อาจสร้างผลกระทบหรือขัดต่อประเพณีหรือความเชื่อของคนในท้องถิ่น
สนับสนุนให้พนักงานต้อนรับและพนักงานบริการอื่นๆ แต่งกายด้วยชุดที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของท้องถิ่น
ส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวมีโอกาสได้สัมผัสและเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด รวมถึงกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มรดกเหล่านั้น
การสร้าง บริการสีเขียว สำหรับผู้ประกอบการด้านที่พัก
แนวปฏิบัติที่ 1 ผู้ประกอบการที่ให้บริการทางการท่องเที่ยวทุกแขนงมีการพัฒนาหรือปรับปรุงระบบการบริหารจัดการธุรกิจและการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกชนิดต่างๆ โดย
มีนโยบาย ปณิธาน และแผนงานที่ให้ความสำคัญต่อความยั่งยืนในระยะยาว ทั้งในเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ รวมทั้งการหลีกเลี่ยง/ลดละ/ทดแทน การปฏิบัติที่เป็น
เคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย/อนุสัญญา/ข้อตกลงระหว่างประเทศ และกฎระเบียบในประเทศที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
บุคลากรหรือพนักงานที่เกี่ยวข้องได้รับการฝึกอบรมให้มีความรู้ และทักษะในการปฏิบัติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม รวมถึงวิธีปฏิบัติที่หลีกเลี่ยง/ลดละ/ทดแทน การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
มีการออกแบบ/ก่อสร้างอาคาร และระบบสาธารณูปโภค-สาธารณูปการ สอดคล้องกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมโดยคำนึงถึงหลักการออกแบบ/ก่อสร้างที่ยั่งยืน (sustainable design/construction) และ เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุ เด็กเล็กและคนพิการสามารถใช้ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย
มีแผนและแนวทางปฏิบัติในการใช้ทรัพยากรต่างๆ เช่น เชื้อเพลิง ไฟฟ้า น้ำ ฯลฯ อย่างประหยัดและก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเชิงธุรกิจและการบริการ
มีแผนและแนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อสินค้า และการบริการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
มีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว ทรัพยากรหรือสิ่งแวดล้อม และกิจกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง รวมทั้งเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
มีแผนการตลาดและประชาสัมพันธ์ โดยใช้ประเด็นด้านการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสถานบริการ
การประชาสัมพันธ์และการตลาดต้องถูกต้องตรงกับความเป็นจริงทั้งหมด และต้องไม่สัญญาเสนอสิ่งหนึ่งสิ่งใด ให้แก่นักท่องเที่ยวโดยไม่สามารถกระทำได้จริง
มีการประเมิน/ตรวจวัดความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว หรือผู้มาใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง พร้อมทั้งมีการแก้ไขปรับปรุงสิ่งที่จำเป็นตามความเหมาะสม
แนวปฏิบัติที่ 2 มีการปฏิบัติที่มุ่งเน้นการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกชนิดต่างๆ
มีการป้องกัน ตรวจสอบและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมอันเกิดตามธรรมชาติและจากการพัฒนาหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและระบบสาธารณูปโภคในบริเวณสถานประกอบการอย่างสม่ำเสมอ เช่น การตัดต้นไม้ การพังทลายของดิน น้ำป่าไหลบ่า ความเสื่อมโทรมของชายหาด เป็นต้น
ไม่ขยายขอบเขตของสถานประกอบการ ลุกล้ำพื้นที่สาธารณะประเภทต่างๆ เช่น พื้นที่ป่า ชายหาด ลำห้วย ลำธาร ทางเท้าหรือถนน เป็นต้น
ใช้พันธุ์พืชท้องถิ่นในการตกแต่งหรือฟื้นฟูภูมิทัศน์ (หลีกเลี่ยงการนำพืชต่างถิ่นเข้ามาปลูก)ในสถานประกอบการ
การนำสัตว์มาใช้แสดงให้นักท่องเที่ยวชมจะต้องได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องและการเลี้ยงดูสัตว์ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและเป็นไปตามระเบียบของทางราชการ
ไม่นำทรัพยากรธรรมชาติที่หายากหรือกำลังสูญพันธุ์หรือมีแนวโน้มลดน้อยลง เช่น เปลือกหอย ปะการัง กล้วยไม้ป่า ฯลฯ มาจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว
ไม่มีการกักขังสัตว์ป่ายกเว้นกฎหมายจะอนุญาตและต้องปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสม ถ้าเป็นสัตว์ป่าหวงห้ามหรือสัตว์ป่าคุ้มครองควรมอบให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายเป็นผู้ดูแลจัดการแทน
ให้การสนับสนุนการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและพื้นที่อนุรักษ์ประเภทต่างๆ ที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับสถานประกอบการ
มีการจัดซื้อสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และช่วยลดการใช้พลังงาน หรือปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุด ประกอบด้วย
1. เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ
2. เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
3. เลือกซื้อผลิตภัณฑ์แบบที่เติมได้
4. เลือกซื้อสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถส่งกลับคืนได้ เช่น ขวดแก้ว เป็นต้น
5. เลือกซื้อสินค้าที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล
6. เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากเขียวหรือมีฉลากคาร์บอน (ผลิตภัณฑ์ที่มีกระบวนการ ผลิตที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณน้อย) หรือผลิตภัณฑ์อินทรีย์ ฯลฯ
7. เลือกซื้อสินค้าที่ได้มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม
8. เลือกซื้ออุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงาน (เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดฉลากประหยัดไฟเบอร์5 หรือมีฉลากอัตราการใช้ไฟ เป็นต้น) และอุปกรณ์ที่ประช่วยหยัดน้ำ
9. เลือกซื้อยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น รถที่ใช้เชื้อเพลิงไฮบริด ไบโอดีเชล เชื้อเพลิงที่เผาไหม้สะอาด เป็นต้น
10. เลือกซื้อสินค้าที่มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมครบวงจร (สินค้าที่ดำเนินการควบคุม ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ การผลิต และการกำจัดซากผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุแล้ว โดยไม่ให้เกิดผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม)
11. มีการกำหนดให้ซื้ออาหารที่ผลิตได้ในท้องถิ่นตามแต่ละฤดูกาล เพื่อลดการใช้ พลังงานในการขนส่งและเก็บรักษา
มีการจัดการขยะและสิ่งปฏิกูลในสถานประกอบการ การปฏิบัติต่างๆ ประกอบด้วย
1. ใช้สินค้าหรือวัสดุภัณฑ์เป็นแพ็คใหญ่เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้หีบห่อที่ไม่จำเป็น
2. ใช้ผลิตภัณฑ์แบบที่ใช้หมดแล้วเติมใหม่ได้ (refillable products) แทนการทิ้งเป็นขยะ
3. ใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติแทนการใช้ถุงพลาสติก หรือโฟม เช่น ใช้กระดาษแป้งข้าวโพด กระดาษแป้งมันสำปะหลัง เป็นต้น
4. ลดและหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้ง เพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอย เช่น กาแฟ ชา น้ำตาล ครีมเทียม เครื่องปรุงรส ฯลฯ ที่บรรจุในซองขนาดเล็ก
5. หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์บนโต๊ะอาหารที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เช่น แก้วพลาสติกช้อนส้อม พลาสติก ตะเกียบ เป็นต้น
6. มีการใช้กล่องบรรจุอาหารแทนการใช้ฟิล์มพลาสติกห่ออาหาร
7. มีการลดขยะเปียก เช่น การเก็บอาหารสดให้พอดีกับอายุ ทำอาหารให้มีปริมาณพอดี กับผู้บริโภค โน้มน้าวให้ลูกค้าบริโภคอาหารให้หมด เป็นต้น
8. มีการจัดทำรายการขยะ และแยกขยะที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ ขยะรีไซเคิล ขยะเศษอาหาร ขยะอันตราย ขยะทั่วไป เป็นต้น
9. มีการจัดทำถังสำหรับหมักขยะเปียก (หรือมอบให้ผู้อื่นนำไปจัดการ) เพื่อทำเป็นปุ๋ยหมักแล้วนำกลับมาใช้ในสนามหรือสวนภายในสถานประกอบการ
10. มีการเก็บขยะบริเวณโดยรอบอาคารและบริเวณสนามหรือสวนอย่างสม่ำเสมอ
มีการจัดการคุณภาพอากาศและเสียง ได้แก่
1. จัดพื้นที่สูบบุหรี่แยกออกจากพื้นที่อื่นๆ และมีป้ายบอกอย่างชัดเจน
2. จัดหาให้เช่าหรือให้บริการยานพาหนะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแก่ลูกค้า เช่น จักรยาน เป็นต้น
3. ป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก โดยการปลูกต้นไม้เป็นฉนวนหรือสร้างกำแพงกั้น
4. ตรวจสอบและควบคุมการเกิดมลพิษทางอากาศในส่วนต่างๆ ของสถานประกอบการ เช่น ห้องพัก ห้องครัว ห้องควบคุมความเย็น เป็นต้น
5. มีการนำวัสดุภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่ ที่สำคัญ ได้แก่
6. ใช้กระดาษทั้งสองหน้าในธุรกิจและการให้บริการ
7. ใช้ถุงผ้า หลีกเลี่ยงหรือลดการใช้ถุงพลาสติก
8. ใช้ถ่านแบบ Rechargeable กับเครื่องไฟฟ้า
9. นำผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ฯลฯ ที่ไม่สามารถใช้ได้ต่อไปแล้วมาใช้ประโยชน์ เช่น ผ้าเช็ดถูทำความสะอาด เป็นต้น
มีการประหยัดและการจัดการการใช้น้ำที่ดี ได้แก่
1. มีการวิเคราะห์หารูปแบบ และประเภทการใช้น้ำหลักๆ ของสถานประกอบการเพื่อหาแนวทางและวิธีประหยัดน้ำ
2. มีการจดบันทึกค่าน้ำเป็นประจำทุกเดือน
3. ทำการปิดวาล์วน้ำ เมื่อไม่ใช้งาน
4. ทำความสะอาดโดยการปัดกวาดฝุ่นละออง เศษผงต่างๆ ออกก่อน แล้วจึงทำความสะอาด เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำและลดการปนเปื้อนของน้ำทิ้ง
5. มีการสำรวจตรวจสอบ และทำการเปลี่ยนหรือซ่อมแซมอุปกรณ์ที่ชำรุด หรือ เสื่อมสภาพที่ทำให้เกิดการรั่วไหลของน้ำอย่างสม่ำเสมอ เช่น ปั๊มน้ำ ระบบการจ่ายน้ำ (เช่น ท่อประปา วาล์ว ก๊อกน้ำ) ระบบสุขภัณฑ์ (เช่นหัวฉีดชำระ ขอบยาง และ ลูกลอยชักโครก) เป็นต้น
6. เลือกใช้อุปกรณ์ที่ประหยัดน้ำ เช่น ก๊อกน้ำ โถชักโครก หัวฉีดชำระประหยัดน้ำ เป็นต้น
7. ใช้น้ำในการจัดสวนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยออกแบบสวนให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมและมีความชุ่มชื่นเสมอ เลือกปลูกต้นไม้ที่ต้องการน้ำน้อย และมีการกำจัดวัชพืชเป็นประจำ
8. นำน้ำจากการชำระล้างหรือน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับมาใช้ใหม่ เช่น ใช้ทำความ สะอาดลานอเนกประสงค์ ใช้กับโถชักโครก ใช้รดน้ำต้นไม้ เป็นต้น
9. มีการเก็บกักน้ำฝนไว้ใช้ในองค์กร
10. มีมาตรการประหยัดน้ำในส่วนของห้องครัว และส่วนของห้องอาหาร เช่น
o หลีกเลี่ยงการล้างผักและผลไม้โดยวิธีปล่อยให้น้ำไหลผ่าน
o กำจัดคราบไขมันก่อนทำความสะอาดด้วยน้ำ
o น้ำดื่มที่เหลือในแก้วลูกค้าสามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อได้
11. มีการกำหนดการเปลี่ยนผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ฯลฯ เมื่อลูกค้าขอให้เปลี่ยน
12. มีมาตรการประหยัดน้ำในส่วนสระว่ายน้ำ
13. มีการใช้ระบบน้ำหยด /สปริงเกอร์/ฝักบัวรดน้ำต้นไม้แทนการใช้สายยาง
14. มีการรดน้ำต้นไม้ในช่วงเวลาที่มีการระเหยต่ำได้แก่ช่วงเวลาเช้าและเย็น
15. มีการนำน้ำที่เหลือจากกิจกรรมซักรีดกลับมาใช้ใหม่
มีการบำบัดและจัดการน้ำเสียในสถานประกอบการ สิ่งที่ควรปฏิบัติ ได้แก่
1. มีระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้มาตรฐาน และ/หรือไม่มีการระบายน้ำทิ้งออกนอกบริเวณ
2. มีการจัดการน้ำเสียเบื้องต้น (pre-wastewater treatments) ก่อนเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียเช่น ใช้สารลดคราบน้ำมันและจารบี ใช้ตะแกรงแยกเศษอาหารออกจากน้ำที่ใช้จากห้องครัว มีการแยกน้ำและน้ำมันออกจากกัน เป็นต้น
3. มีการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีธรรมชาติโดยใช้พืชหรือจุลินทรีย์ เช่น ใช้พืชดูดซับน้ำเสีย ใช้จุลินทรีย์ในการย่อยของเสียในน้ำ เป็นต้น
4. มีการตรวจสอบระบบบ่อเกรอะ (septic tank) เป็นประจำ (อย่างน้อยทุกๆ ปี)
5. มีถังบำบัดน้ำเสียสำรอง
มีการประหยัดและจัดการการใช้พลังงานเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งที่ควรปฏิบัติ ประกอบด้วย
1. หลีกเลี่ยงการใช้ยานพาหนะที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เช่น ใช้จักรยานแทนการใช้รถยนต์ เป็นต้น
2. มีการใช้ระบบขนส่งมวลชน และ/หรือการใช้รถร่วมกัน (car pooling)
3. มีการตรวจสอบปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อวัน /สัปดาห์/เดือนของสถานประกอบการ เพื่อทราบถึงปริมาณการใช้พลังงานที่สิ้นเปลืองและที่สามารถประหยัดได้
4. มีการวางแผนการเดินทางขององค์กร เช่น หลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีการจราจรคับคั่ง หาเส้นทางที่เหมาะสมเพื่อลดระยะทางในการเดินทาง เป็นต้น
5. มีตารางการบำรุงรักษารถยนต์ และเครื่องยนต์ขององค์กรให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
6. มีการใช้เครื่องยนต์ที่มีการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ เช่น เลือกใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อน 4 สูบ ที่ประหยัดน้ำมัน ลดการเกิดมลพิษไฮโดรคาร์บอน และเสียงเบา เป็นต้น
7. มีการใช้เชื้อเพลิงทางเลือก เช่น น้ำมันไบโอดีเซล แก๊สธรรมชาติ หรือรถที่ใช้พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น
มีการประหยัดและจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย
1. มีการแจกแจงประเภทและรูปแบบการใช้พลังงานไฟฟ้าของสถานประกอบการ เพื่อหาแนวทางและวิธีการประหยัดพลังงานไฟฟ้า
2. มีตารางติดตามการใช้ไฟฟ้าเป็นประจำ (เช่น ประจำสัปดาห์ หรือประจำเดือน) เพื่อ ทราบถึงปริมาณการใช้พลังงานที่สิ้นเปลืองและที่สามารถประหยัดได้
3. มีการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น พัดลม มอเตอร์ เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ ที่มีขนาดเหมาะสมกับความต้องการของธุรกิจ
4. มีตารางการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้า (เช่น พัดลม มอเตอร์ เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด) เช่น การทำความสะอาดเป็นประจำ เป็นต้น
5. มีการลดความต้องการในการใช้พลังงานไฟฟ้าของสถานประกอบการ ในช่วงเวลาที่มีค่าไฟฟ้าแพง
6. มีวิธีการใช้เครื่องปรับอากาศอย่างเหมาะสม
7. มีวิธีการใช้ไฟฟ้าเพื่อระบบแสงสว่างอย่างเหมาะสม
8. มีการประหยัดไฟฟ้าจากการใช้เครื่องใช้สำนักงานอย่างถูกต้อง เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องโทรสาร เป็นต้น
9. มีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพ เช่น หลอดไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
10. มีวิธีการใช้ระบบทำความร้อนอย่างเหมาะสม โดย
o การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้อุ่นน้ำที่ป้อนเข้าสู่หม้อไอน้ำ (solar co- generation) ในการทำน้ำอุ่น
o มีการใช้ก๊าซ LPG ในการทำความร้อนแทนการใช้ Heater ไฟฟ้า
o มีการนำความร้อนจากระบบปรับอากาศมาใช้ใหม่
o มีการตั้งค่าอุณหภูมิความร้อนที่เหมาะสม
o มีการหุ้มฉนวนท่อไอน้ำป้องกันการสูญเสียความร้อนไปในอากาศ
o มีการใช้ผ้าเช็ดมือแทนเครื่องเป่ามือ
หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องปั่นผ้าแห้งหากไม่จำเป็น
1. มีระบบคีย์แท็กประหยัดไฟฟ้า (ช่วยควบคุมการจ่ายไฟฟ้าในห้องพัก)
2. ในกรณีที่มีลิฟต์ สถานประกอบการมีการประหยัดไฟฟ้าจากการใช้ลิฟต์โดย
o กำหนดให้ลิฟต์หยุดเฉพาะชั้น เช่น หยุดเฉพาะชั้นคี่ เป็นต้น
o มีการปิดลิฟต์บางจุดในช่วงที่มีการใช้งานน้อย เช่น เวลากลางคืน เป็นต้น
o รณรงค์ให้ใช้บันไดแทนลิฟต์ในกรณีที่ขึ้นลงน้อยชั้น
o รณรงค์ให้กดปุ่มเรียกลิฟต์เพียงครั้งเดียว
มีการใช้พลังงานทดแทนในองค์กร เช่น การใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ พลังงานลมพลังงานชีวมวล เป็นต้น
มีการจัดการสารเคมีและสารอันตราย ประกอบด้วย
1. มีการจัดทำรายการสารอันตรายที่มีการเก็บและใช้งานอยู่ในปัจจุบันและมีการตรวจสอบจำนวนอย่างสม่ำเสมอ
2. มีคู่มือความปลอดภัยในการใช้งานและแสดงข้อมูลพื้นฐานที่ต้องทราบเกี่ยวกับสารอันตราย ผลกระทบต่อสุขภาพและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่ตามมาเมื่อมีการใช้สารอันตรายเหล่านั้น
3. มีการจัดระบบการจัดเก็บสารเคมีอย่างปลอดภัย เช่น มีการติดป้ายชื่อสารเคมี บรรจุหีบห่ออย่างแน่นหนาและกำหนดรายการสารที่ต้องเก็บไว้เฉพาะที่ เป็นต้น
4. มีการตรวจสอบว่าสารอันตรายได้รับอนุญาตให้ใช้ได้ตามกฎหมาย เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง LPG แอมโมเนีย เป็นต้น
5. มีการตรวจสอบและรักษาสภาพการใช้งานของเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศให้มี การปล่อยก๊าซ CFC และ HCFC น้อยที่สุด
6. หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีหรือสารอันตรายในสถานประกอบการ เช่น
o เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสารฟอกขาวในปริมาณน้อย (เช่น กระดาษชำระ ตะเกียบ เป็นต้น)
o มีการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดแมลง ยากำจัดวัชพืช
o มีการใช้ปุ๋ยหมักแทนปุ๋ยเคมีในการบำรุงสวน
o มีการใช้พืช (ตะไคร้หอม) หรือสารสกัดจากธรรมชาติ ฯลฯ ในการกำจัดแมลงรบกวน (ยุงแมลงวัน แมลงต่างๆ) แทนการใช้สารเคมี
o ผู้ประกอบการในธุรกิจที่พักมีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้านสังคม และเศรษฐกิจแก่ชุมชนโดยรอบและสร้างผลกระทบทางลบน้อยที่สุด
แนวปฏิบัติที่ 3
ให้การสนับสนุนโครงการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่นโดยส่วนรวม เช่น การศึกษาสุขอนามัย น้ำอุปโภค-บริโภค ความสะอาด เป็นต้น
ให้การสนับสนุนแก่ชุมชนท้องถิ่นที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตท้องถิ่นทั้งในรูปตัวเงินและวัสดุอุปกรณ์
มีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่นในการกำหนดทิศทางและแผนพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน
ให้การสนับสนุนแก่ชุมชน จัดทำกฎกติกาหรือจรรยาบรรณสำหรับการปฏิบัติในเรื่องต่างๆ รวมถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม และลดการใช้พลังงานในชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน
สนับสนุนชุมชนให้ได้รับการฝึกอบรมด้านความรู้และทักษะการบริหารจัดการและให้บริการทางการท่องเที่ยวรวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถขายเป็นสินค้า/ของที่ระลึกที่เป็นเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ของชุมชน เช่น อาหาร/เครื่องดื่ม เครื่องหัตถกรรม ศิลปะการแสดง เป็นต้น
มีการจ้างงานโดยคนท้องถิ่นเข้าทำงานในสถานประกอบการในหน้าที่ต่างๆ และจัดให้มีการฝึกอบรม เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะตามความจำเป็น
ให้ความเท่าเทียมเสมอภาคในเรื่องการจ้างงานโดยเฉพาะผู้หญิง และชนกลุ่มน้อย หลีกเลี่ยงการใช้แรงงานเด็ก
ให้ความเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน/คุ้มครองแรงงานและจ่ายค่าจ้างในอัตราที่เพียงพอกับการดำรงชีวิต
รับซื้อสินค้าจากท้องถิ่นเท่าที่สามารถจะกระทำได้ และให้ราคาที่เป็นธรรม
มีการใช้บริการของชุมชนท้องถิ่น เช่น ร้านอาหาร เครื่องดื่ม ที่พัก พาหนะขนส่ง มัคคุเทศก์ท้องถิ่น เป็นต้น
การให้บริการพื้นฐานแก่นักท่องเที่ยวในสถานประกอบการ เช่น น้ำอุปโภค ไฟฟ้า สุขอนามัยความปลอดภัย ฯลฯ ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนหรือเป็นปัญหาต่อชุมชนใกล้เคียง
ดังนั้น หากผู้ประกอบการไม่ว่าจะอยู่ในภาคส่วนใดในธุรกิจการท่องเที่ยว หากนำสิ่งเหล่านี้ไปปฏิบัติก็สามารถสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวได้ นอกเหนือจากการบริการที่มีมาตรฐานและมีคุณภาพ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น