หน้าเว็บ

Narin Sorananuphap

ทฤษฎีสองปัจจัยของเฮอร์เบิร์ก (Herzberg’ Two –Tactor Theory ) ( เพิ่มเติม )
เป็นทฤษฎีที่เสนอแนะว่าความพึงพอใจในการทำงานประกอบด้วยสองแนวคิด (ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ .2545 :313-315 ) คือ
1. แนวคิดที่มีขอบเขตจากความพึงพอใจ (Satisfaction) ไปยังความพึงพอใจ (Satisfaction) และได้รับอิทธิพลจากปัจจัยจูงใจ (Motivation Factor)
2. แนวคิดที่มีขอบเขตจากความไม่พึงพอใจ (Dissatisfaction) ไปยังความไม่มีความไม่พอใจ (no dissatisfaction) และได้รับอิทธิพลจากปัจจัยอนามัย (Hygiene Factor)
ทฤษฎีนี้ได้มีการพัฒนาโดย เฮอร์เบิร์ก ในปี ค.ศ.1950-1959 และในช่วงแรกของปี ค.ศ.1960-1969 ทฤษฎี 2 ปัจจัยประกอบด้วย 1 ปัจจัยจูงใจหรือจูงใจ 2 ปัจจัยการธำรงรักษาหรือปัจจัยสุขอนามัยดังภาพที่ 3 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ปัจจัยการจูงหรือตัวจูงใจ (Motivation Factor หรือ Motivators ) เป็นปัจจัยภายนอก (ความต้องการภายใน) ของบุคคลที่มีอิทธิพลในการสร้างความพึงพอใจในการทำงาน (job satisfiers ) เช่น ความก้าวหน้า ความสำเร็จ การยกย่อง เป็นต้น
2. ปัจจัยการธำรงรักษา (Maintenance Factor ) หรือปัจจัยอนามัย (hygiene factor ) เป็นปัจจัยภายนอกที่ป้องกันไม่ให้พนักงานเกิดความไม่พึงพอใจในการทำงาน การเสนอสุขอนามัยไม่ใช่วิธีการจูงใจที่ดีที่สุดในทัศนะของ เฮอร์เบิร์ก แต่เป็นการป้องกันความไม่พอใจ ประกอบด้วยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานหรือการขาดงานของพนักงาน เช่น นโยบายบริษัท การบังคับบัญชา ความมั่นคงในงาน ค่าตอบแทน สภาพการทำงาน

ไม่มีความคิดเห็น: