หน้าเว็บ

รัตนาพรรณ คงกล่ำ รหัส 5130125401250

วิวัฒนาการทฤษฎีการจัดการ

แนวคิดการจัดการเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในส่วนขององค์กรภาคธุรกิจที่ฝรั่งเศสโดย Henri Fayol ผู้นำกิจการด้านถ่านหินขนาดใหญ่ของยุโรป ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 (ค.ศ. 1880 ) โดยคิดค้นทฤษฎีชื่อ “ typical manufacturing enterprise” ซึ่งเขาเห็นว่า การจัดโครงสร้างการจัดการเพียงรูปเดียวก็เหมาะสมกับธุรกิจ คือ การแบ่งองค์กรออกเป็นฝ่ายตามแต่ละหน้าที่ (Functional) เพราะขณะนั้นการจัดการภายในองค์กรเริ่มปรากฏแรงงานประเภทเฉพาะทาง (Specialist)
ภาครัฐนำมาใช้อย่างจริงจัง เมื่อกองทัพสหรัฐมีความต้องการที่จะจัดองค์กรใหม่ในปี 1901 โดย Elihu Root ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สหรัฐในรัฐบาล Theodore Roosevelt
เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การบริหารกองทัพขนาดใหญ่ที่ต้องวิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจเพื่อข้อมูลไปสู่การผลิตอาวุธได้ตามความต้องการ การบริหารกองทัพกลับไม่เหมาะกับทฤษฎีตามหน้าที่ (Functional) ของ Fayol เพราะเป็นการบริหารแบบ Centralization ที่รวมศูนย์อำนาจไว้จุดเดียว การแก้ไขก็คือต้องการเป็นการกระจายอำนาจการตัดสินใจออกไปในแต่ละหน่วยแบบลดหลั่นกันหรือ Decentralization
หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง Pierre S. Du Pont และ Alfred P. Sloan ได้พัฒนาการจัดการแบบ Decentralization ขึ้นมา ซึ่งกลายเป็นหลักการสำคัญหนึ่งในประวัติศาสตร์ ของการจัดการในเชิงศาสตร์นั้นก่อนทศวรรษ เริ่มสนใจศาสตร์การจัดการสมัยใหม่ในเชิงวิชาการ เริ่มจาก Frederick Winslow Taylor พวกเขานิยมว่า “การจัดการ” ถูกนิยามว่า คือ “สิ่งที่ว่าด้วยองค์กร ไม่ใช่แค่ธุรกิจ แต่ละองค์กรจะแตกต่างกันเพียงวิธีการเท่านั้น”
ช่วงทศวรรษที่ 1950 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง คำว่า “ธุรกิจ” มีความสำคัญมากขึ้น นักธุรกิจอเมริกันประสบความสำเร็จจากการจัดการธุรกิจระหว่างสงคราม ทำให้หลักการจัดการธุรกิจได้รับความสนใจมากขึ้น
เมื่อได้มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นในโลก (ประมาณปี ค.ศ. 1880 เป็นต้นมา) สังคมเศรษฐกิจก้าวเข้าสู่ยุคโรงงาน และมีการนำเอาเครื่องจักรมาใช้ ปัญหาด้านการจัดการจึงเป็นสิ่งจำเป็น ต่อมาได้เกิดระบบโรงงาน โดยมีการลงทุน มีการใช้เครื่องจักร มีการผลิตแบบผลิตขนานใหญ่ รวมทั้งการแบ่งงานกันทำตามความถนัด ส่งผลกระทบทำให้รูปแบบการผลิตและการจัดการยุ่งยากและสลับซับซ้อน บทบาทของเจ้าของกิจการที่ต้องทำงานด้านการจัดการจึงสัดส่วนมากขึ้น มีการแยกหน้าที่การจัดการออกจากเจ้าของกิจการ โดยแบ่งเป็นหน้าที่งานการจัดการ สำหรับผู้บริหารกลุ่มใหม่ ที่เรียกว่า ผู้บริหารมืออาชีพ (Professional manager)
“การจัดการที่มีหลักเกณฑ์” โดย Frederick W. Taylor จึงได้เกิดขึ้นมาเป็นครั้งแรก และได้มีวิวัฒนาการเรื่อยมาตามลำดับ ได้แบ่งวิธีการศึกษาแนวความคิดต่าง ๆ ทางการจัดการเป็น 3 แนวความคิดดังนี้
1. แนวความคิดการจัดการสมัยเดิม
1.1 การจัดการที่มีหลักเกณฑ์ (Scientific management)
1.2 การจัดการตามหลักการจัดการทั่วไป (General principles of management)

2. แนวความคิดการจัดการcแนวมนุษยสัมพันธ์
2.1 การจัดการตามแบบมนุษยสัมพันธ์ (Human relations management)
2.2 การจัดการแบบพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral sciences management)
3. แนวความคิดการจัดการแนวใหม่
3.1 การจัดการแบบตัดสินใจ (Decisional approach management)
3.2 การจัดการตามสถานการณ์ (Situational approach management)
3.3 การจัดการเชิงระบบและเชิงกระบวนการ (System and process approach management)
3.4 การจัดการเชิงปริมาณ (Quantitative approach management)
2. แนวความคิดการจัดการสมัยเดิม
1.1 การจัดการที่มีหลักเกณฑ์ (Scientific management)
1.2 การจัดการตามหลักการจัดการทั่วไป (General principles of management)

http://uhost.rmutp.ac.th/kanlayanee.so/index-Lesson.htm