การชำระภาษีด้วยวิธีใดบ้าง ?
การชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นอกจากผู้เสียภาษี จะชำระภาษีโดยการ ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว ถ้าในการยื่นแบบ แสดงรายการ และคำนวณภาษี ตามแบบแสดงรายการ ที่ยื่นนั้น มีภาษีที่ต้องชำระ หรือต้องชำระเพิ่มเติมอีก ก็ให้ชำระ หรือชำระเพิ่มเติม ต่อเจ้าหน้าที่สรรพากร พร้อมกับ การยื่นแบบนั้น โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับชำระ จะออกหลักฐานใบเสร็จ แสดงการรับเงินภาษี และถือเป็นหลักฐาน แสดงการยื่นแบบฯ ให้กับ ผู้ยื่นแบบแสดงรายการ ทุกราย การชำระภาษีเลือกวิธีการชำระได้ดังนี้
1. ชำระด้วยเงินสด
2. ชำระด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ได้เฉพาะที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตกรุงเทพมหานคร (โดยผู้ถือบัตรอิเล็กทรอนิกส์เป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียม)
3. ชำระด้วยเช็คหรือดราฟต์
3.1 เช็คที่ชำระต้องเป็นเช็ค 4 ประเภท ได้แก่
(1) เช็คธนาคารแห่งประเทศไทย (เช็คประเภท ก.)
(2) เช็คที่มีธนาคารค้ำประกัน (เช็คประเภท ข.)
(3) เช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย (เช็คประเภท ค.)
(4) เช็คที่ผู้มีหน้าที่ชำระเงินภาษีอากรเป็นผู้เซ็นสั่งจ่าย และใช้ชำระโดยตรง (เช็คประเภท ง.)
การใช้เช็คประเภท ง. ให้ปฏิบัติดังนี้
(ก) กรณีใช้ชำระภาษีในกรุงเทพมหานคร และในจังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร (เฉพาะอำเภอเมืองสมุทรสาคร และอำเภอกระทุ่มแบน) จังหวัดนครปฐม (เฉพาะอำเภอสามพราน) และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (เฉพาะอำเภอบางปะอิน) ต้องเป็นเช็คของธนาคาร หรือสาขาธนาคาร ซึ่งตั้งอยู่ใน ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งข้างต้นเท่านั้น
(ข) กรณีใช้ชำระภาษีในจังหวัด (อำเภอ) อื่นนอกจาก (ก) ให้ใช้ได้เฉพาะกรณีที่เปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารหรือ สาขาธนาคารซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดท้องที่อันเป็นภูมิลำเนาเท่านั้น
3.2 การสั่งจ่ายเช็คหรือดราฟต์ ให้ขีดคร่อม และสั่งจ่ายดังนี้
(1) ในกรุงเทพมหานคร ให้สั่งจ่าย “กรมสรรพากร” กับขีดฆ่าคำว่า “ผู้ถือ” ออก
(2) ในต่างจังหวัด
(ก) กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 และชำระภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
หรือธนาคารด้วยเช็คประเภท ง. ให้สั่งจ่ายแก่ “กรมสรรพากร” ถ้าเป็นเช็คประเภท ก. ข.
ค. ให้ติดต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
(ข) กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 และชำระภาษีที่ธนาคาร
-กรณียื่นแบบฯ ที่ ธนาคารกรุงไทย ให้สั่งจ่าย “กรมสรรพากร” และขีดฆ่าคำว่า
“ผู้ถือ” ออก
-กรณียื่นแบบฯ ที่ ธนาคารอื่น ๆ นอกเหนือ จาก ธนาคารกรุงไทย ให้สั่งจ่าย
“สรรพากรอำเภอ..... (ระบุชื่ออำเภอ)” และขีดฆ่าคำว่า “ผู้ถือ” ออก
4. ชำระด้วยธนาณัติ
1. ผู้มีเงินได้ที่ยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร
2. ส่งธนาณัติเท่ากับจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ ไปพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 (ห้ามหักค่าธรรมเนียม ในการส่งธนาณัติ) โดยสั่งจ่าย
อ้างอิง: http://www.rd.go.th/publish/560.0.html
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม : www.rd.go.th ,
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น