หน้าเว็บ

นางสาววัชรี ทองห่อ รหัส 5210125401052 การจัดการทั่วไป

ทฤษฎีนิเวศวิทยาขององค์การ (Ecolohical Perspectives)
ดับบลิว. เกรแฮม แอสเลย์ (W. Graham Astley) ได้เสนอไว้ในปี ค.ศ. 1985 เสนอว่าทฤษฎีนี้ มุ้งเน้นวิธีการตรวจสอบองค์การเป็นการเฉพาะ ซึ่งจะวิเคราะห์ 2 ประเด็นหลักคือ การวิเคราะห์นิเวศวิทยาชุมชนขององค์การ และการวิเคราะห์นิเวศวิทยาสมาชิกขององค์การ เป็นการพิจารณาจากสมาชิกในกลุ่มขององค์การ โดยมีสาระสำคัญสรุป ดังนี้
1. ทฤษฎีนิเวศวิทยาชุมชนขององค์การ
ทฤษฎีนิเวศวิทยาชุมชนขององค์การ ซึ่งแอสเลย์ วิเคราะห์ว่า “องค์การ จำเป็นต้องรวมกลุ่มขององค์การเข้าด้วยกันในอันที่จะร่วมมือกันจนสามารถควบคุมความไม่แน่นอนของสภาพแวดล้อมได้” เช่น กลุ่มของนักธุรกิจรวมตัวกันเป็นสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย เพื่อล็อบบี้รัฐบาลให้ลดหรือเพิ่มดอกเบี้ย ให้รัฐบาลหามาตรการช่วยเหลือธุรกิจที่สมาชิกของสมาคมประสบปัญหา หรือกรณีการรวมตัวกันของสถาบันราชภัฏ 8 แห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ร่วมกันกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการรับนักศึกษา และการร่วมมือกันในการพัฒนาบุคลากร หรือแม้แต่การรวมตัวของโรงเรียนมัธยมเป็นสหวิยาเขต ก็ถือว่า ได้ใช้กรอบความคิดของทฤษฎีนี้เช่นกัน
2. ทฤษฎีนิเวศวิทยาสมาชิกขององค์การ
ทฤษฎีนิเวศวิทยาสมาชิกขององค์การ นำเสนอโดย ไมเคิล ที. ฮันนัน (Michael T.Hanan) และจอห์น ฟรีแมน (John Freeman) นักนิเวศวิทยาองค์การเสนอว่า “ความพยายามที่จะควบคุมสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอนนั้น อาจจะเป็นการจัดการกับองค์ประกอบที่ไม่ถูกต้องของสภาพแวดล้อมก็ได้ กล่าวคือ องค์การไม่สามารถกำหนดให้ครอบคลุมได้ว่า สภาพแวดล้อมทีสำคัญๆใดบ้าง เป็นปัจจัยคุกคามองค์การที่องค์การต้องการจะจัดการและควบคุม” ทฤษฎีนิเวศวิทยาสมาชิกขององค์การ เป็นความพยายามที่จะศึกษากระบวนการเกิดขององค์การและการล่มสลายขององค์การ ดังเช่น กรณีของธนาคารมหานครไปรวมกับธนาคารกรุงไทย หรือกรณีการยุบธนาคารกรุงเทพพาณิช ในช่วงการประกาศมาตรการของรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาสถาบันการเงินของประเทศไทย ในช่วงวิกฤตการณ์ปัญหาเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540-2541 มาตรการดังกล่าว ประกาศออกมาเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2541
ที่มา : หนังสือ ทฤษฎีองค์การ ผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร.ทองใบ สุดชารี ปี 2547 หน้า 27

ไม่มีความคิดเห็น: