หน้าเว็บ

นายชัยวัฒน์ โฉมสุข


เส้นทางสู่ความเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่
ภาวะผู้นำที่ดีต้องฝึกฝน มิใช่เป็นมาแต่เกิด ถ้าท่านมีความปรารถนาหรือมีกำลังใจ      ท่านสามารถที่จะเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลได้ การพัฒนาความเป็นผู้นำเป็นกระบวนการที่ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นเรื่องของการศึกษาด้วยตนเอง เข้ารับการศึกษาหรือหาประสบการณ์ก็ได้ ข้อแนะนำต่อไปนี้เป็นกระบวนการที่ช่วยท่านได้
              เพื่อดลใจให้บุคลากรของท่านทำงานเป็นทีมได้ดีขึ้น แน่นอนมีหลายสิ่งที่ท่านต้อง เป็น ต้องรู้ และทำได้ สิ่งเหล่านี้มิใช่เป็นธรรมชาติแต่ต้องศึกษาและทำงาน ผู้นำที่ดีที่สุดต้องศึกษาและทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อการปรับปรุงทักษะของผู้นำ
              ก่อนเริ่มต้นศึกษา ขอนิยามคำว่า “ภาวะผู้นำ” ก่อน ภาวะผู้นำเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างซับ
ซ้อน เป็นสิ่งที่คนใช้อิทธิพลต่อคนอื่น เพื่อทำให้ภารกิจ งาน    และวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ขององค์การบรรลุผล    เป็นวิธีทำให้เกิดการเชื่อมโยงและประสานสามัคคี     การที่บุคคลดำเนินการให้กระบวนการดำเนินการได้เป็นเรื่องของคุณลักษณะของผู้นำ(ความเชื่อ ค่านิยม จริยธรรม คุณลักษณะความรู้และทักษะต่าง ๆ) ถึงแม้ตำแหน่งของท่านจะเป็นผู้จัดการ หัวหน้างาน ผู้นำ ฯลฯ ใช้อำนาจหน้าที่ (authority)  ท่านทำงานให้สำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ อำนาจเหล่านี้    ก็มิได้ทำให้ท่านเป็นผู้นำท่านเป็นเพียงเจ้านาย ภาวะผู้นำทำให้บุคลากรมีความปรารถนาอยากทำงานให้เสร็จตามเป้าหมาย     และวัตถุประสงค์ ในทางกลับกันเจ้านายจะสั่งการให้คนทำงานให้เสร็จ
              บาส  Bass 1 มีทฤษฎีภาวะผู้นำที่สามารถอธิบายได้ 3 วิธีการ     ว่าบุคคลจะกลายเป็นผู้นำได้อย่างไร
              1. บุคลิกภาพของบุคคลบางคน ทำให้เขามีบทบาทของผู้นำตามธรรมชาติ       นี่คือ ทฤษฎีคุณลักษณะ (Trait  Theory)
              2. ภาวะวิกฤต หรือเหตุการณ์สำคัญ  ทำให้บุคคลมีโอกาสดึงคุณลักษณะภาวะผู้นำจากบุคคลธรรมดา นั่นคือ ทฤษฎีเหตุการณ์สำคัญ (The Great  Events  Theory)
              3. บุคคลสามารถเลือกเป็นผู้นำ  บุคคลสามารถเรียนรู้ทักษะ ภาวะผู้นำนี่คือ ทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนโฉม  (The  Transformation  Theory)  ทฤษฎีนี้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
              เมื่อบุคลากรตัดสินใจที่จะยอมรับท่าน เป็นผู้นำ เขามิได้คำนึงถึงคุณลักษณะของท่าน   เขาจะเฝ้าสังเกตว่าท่านทำอะไร เพื่อเขาจะสามารถรู้ว่า ท่านเป็นใครอย่างแท้จริง เขาใช้วิธีการสังเกตเพื่อให้รู้ว่าท่านน่าเคารพนับถือ หรือน่าไว้เนื้อเชื่อใจหรือไม่ หรือเป็นบุคคลที่ทำเพื่อตัวเอง    หรือใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ผิดเพื่อให้ดูดี หรือเพื่อความก้าวหน้าผู้นำที่ทำเพื่อตนเอง มิใช่ผู้นำที่มีประสิทธิผลบุคลากรเพียงเชื่อฟังท่านแต่ไม่ปฏิบัติตามท่าน เขาประสบความสำเร็จในหลายด้าน      เพราะเขาสร้างภาพลักษณ์ที่ดี เพื่อให้เจ้านาย หน่วยเหนือเห็นจากการใช้บุคลากรของเขา

              พื้นฐานของภาวะผู้นำที่ดี ก็คือ มีความน่าเชื่อถือและไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนในสายตาของบุคลากร    ภาวะผู้นำของท่าน คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านทำที่มีผลดีต่อองค์การ ผู้นำที่น่านับถือมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่ท่านเป็นอยู่        (ความเชื่อและคุณลักษณะ) สิ่งที่ท่านรู้ (งาน กลุ่มงาน ธรรมชาติของมนุษย์) และสิ่งที่ท่านทำ (การดำเนินการ แรงจูงใจ การกำหนดทิศทางขององค์การ)     อะไรที่ทำให้บุคลากรต้องการปฏิบัติตามท่าน บุคลากรต้องการบุคคลที่เขาเคารพนับถือ      ชี้นำทิศทางที่ชัดเจนให้เขา การที่จะบรรลุถึงทิศทางก็ต้องอาศัยวิสัยทัศน์ที่ดี

สิ่งสำคัญของภาวะผู้นำ 2 ประการ
                จากการศึกษา  Hay’s  องค์ประกอบที่ทำให้บุคลากรเกิดความพึงพอใจมากกว่า 75   องค์ประกอบ เขาพบว่า ความไว้เนื้อเชื่อใจ และความมั่นใจ ของผู้นำระดับสูงเป็นตัวพยากรณ์ที่น่าเชื่อถือมากที่สุด ที่สร้างความพึงพอใจให้กับบุคลากรในองค์การ      การสื่อสารที่มีประสิทธิผลของผู้นำ ซึ่งสร้างความไว้เนื้อเชื่อในและเกิดความมั่นใจใน 3 ด    ้านที่ทำให้องค์การชนะคู่แข่ง คือ
-      ช่วยให้บุคลากรเข้าใจกลยุทธ์ขององค์กรโดยภาพรวม
-      ช่วยให้บุคลากรเข้าใจวิธีการ   ที่เขาจะมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อความ   สำเร็จขององค์การ
-      ร่วมปันข้อมูลกับบุคลากร ถึงวิธีการที่บริษัทกำลังดำเนินการ    หรือวิธีที่บุคลากรกำลัง   ดำเนินการในแผนกของตนเองโดยพื้นฐาน    ท่านต้องสร้าง
ความไว้เนื้อเชื่อใจ และสามารถสื่อสารวิสัยทัศน์ว่าท่านกำลังจะไปไหน ข้อที่น่าสังเกตหลักการของภาวะผู้นำในช่วงต่อไปซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับส่วนนี้
                หลักการของผู้นำ
                เพื่อช่วยให้ท่านรู้ว่าท่านเป็นใคร ท่านรู้อะไร ท่านสามารถทำอะไรได้ 2      ต่อไปนี้เป็นหลักการ     11 ข้อ ของภาวะผู้นำ คือ  (ตอนต่อไปจะขยายความให้ชัดเจน   ถึงหลักการและจัดเตรียมเครื่องมือใน      การปฏิบัติ)
                1. รู้จักตนเองและปรับปรุงพัฒนาตนเอง  เพื่อให้รู้จักตนเองท่านต้องเข้าใจว่าท่านเป็นใคร ท่านรู้อะไร     และสามารถทำอะไรได้ มีคุณลักษณะอะไร การปรับปรุงพัฒนาตนเอง หมายถึง การพัฒนาคุณลักษณะที่เป็นจุดแข็งของท่านจะบรรลุผลได้ ก็โดยการอ่าน การศึกษาด้วยตนเองหรือศึกษาต่อ
                2. มีเทคนิคด้านวิชาชีพ  ในฐานะผู้นำ ท่านต้องรู้งาน เข้าใจและคุ้นเคยงานของลูกน้องเป็นอย่างดี
                3. รับผิดชอบและแสวงหาความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน  ค้นหาวิธีการ คือ  จะชี้นำองค์การให้เจริญก้าวหน้า ด้วยวิธีการใหม่ ๆ และเมื่อมีสิ่งผิดพลาดเกิดขึ้น ก็อย่าโทษคนอื่นวิเคราะห์สถานการณ์   หาแนวทางแก้ไข และมุ่งไปสู่สิ่งท้าทายต่อไป
                4. ตัดสินใจอย่างดีและให้ทันกาล  ใช้วิธีการแก้ปัญหาที่ดี   ตัดสินใจและมีเครื่องมือในการวางแผน
                5. ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี  แสดงบทบาทเป็นแบบอย่างที่ดีต่อบุคลากรเขาทั้งหลาย   ไม่ต้องการเพียงได้ยินว่าเขาทุกคนคาดหวังอะไรแต่เขาต้องการเห็นของจริง
                6. รู้จักบุคลากรและเอาใจใส่ดูแล  รู้ธรรมชาติของมนุษย์ สิ่งสำคัญก็คือ       ดูแลเอาใจใส่บุคลากร
                7. ให้ข้อมูลบุคลากร  รู้วิธีการที่จะสื่อสารกับบุคลากร หัวหน้าหน่วยเหนือ    และบุคลากรหลักในองค์การ
                8. พัฒนาจิตสำนึกความรับผิดชอบ พัฒนาคุณลักษณะที่ดีของบุคลากรช่วยให้เขามีความรับ        ผิดชอบในวิชาชีพของเขา
                9. ทำให้แน่ใจว่าทุกคนเข้าใจงาน มีการนิเทศ และทำงานให้สำเร็จ   การสื่อสารเป็นกิจกรรมหลัก   ที่ต้องรับผิดชอบ
                10. ฝึกบุคลากรให้ทำงานเป็นทีม  ถึงแม้ว่าเราจะเรียกว่าผู้นำขององค์การ ฝ่าย   ส่วน ว่าเป็นทีม   แต่ก็มิใช่เป็นทีมที่แท้จริง เขาเหล่านั้นเป็นแต่คนที่ทำงานร่วมกัน
                11. ใช้ศักยภาพให้เต็มที่ในองค์การท่าน  ถ้าพัฒนาจิตวิญญาณของทีม          ท่านจะใช้ศักยภาพได้เต็มที่ในฝ่าย  ในส่วนหรือทั้งองค์การ
                มนุษยสัมพันธ์
1.     หกคำที่มีความสำคัญมากที่สุด  “ผมยอมรับ ผมผิดเอง”
2.     ห้าคำที่สร้างแรงจูงใจ  “คุณทำงานดีมาก”
3.     สี่คำที่บอกความรู้สึกลึกซึ้ง  “คุณคิดอย่างไร”
4.     สามคำที่ควรจำ เพื่อขอความช่วยเหลือ  “โปรดกรุณา”
5.     สองคำที่ต้องติดปากเสมอ  “ขอบคุณ”
6.     หนึ่งคำที่ต้องพูดให้บ่อย ๆ  “เรา”
7.     หนึ่งคำที่ควรพูดให้น้อย  “ฉัน”

                องค์ประกอบของภาวะผู้นำ
                ปัจจัยสำคัญ 4 ประการ ของภาวะผู้นำ
                1.       ผู้ตาม  บุคลากรแต่ละคนต้องการสไตล์ภาวะผู้นำต่างกันตัวอย่าง เช่น บุคลากรใหม่ต้องการนิเทศมากกว่าบุคคลที่มีประสบการณ์มาก  บุคลากรที่มีเจตคติไม่ดีต้องการวิธีการที่แตกต่างกว่าบุคลากรที่มีแรงจูงใจสูง  ผู้นำต้องรู้จักบุคลากรของท่าน  จุดเริ่มต้นพื้นฐาน  คือ    ท่านต้องทำความเข้าใจให้ดีถึงธรรมชาติของมนุษย์  รู้ความต้องการ  อารมณ์และแรงจูงใจ  ท่านต้องรู้จักบุคลากรของท่านว่า
เขาเป็นใคร  เขารู้อะไร  เขาทำอะไรได้บ้าง  เขามีคุณลักษณะอย่างไร
               2.       ผู้นำ  ท่านต้องมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า  ท่านเป็นใคร  ท่านรู้อะไร  ท่านสามารถทำอะไรได้ ผู้ที่ตัดสินความเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จอยู่ที่ผู้ตามมิใช่ผู้นำ   ถ้าผู้ตามไม่ไว้เนื้อเชื่อใจหรือไม่มั่นใจในตัวผู้นำ  เขาก็จะไม่มีแรงบันดาลใจ        ถ้าท่านต้องการเป็นผู้นำที่ดีประสบความสำเร็จ ท่านต้องมั่นใจ    ในตัวผู้ตาม มิใช่ในตัวท่านหรือหัวหน้าของท่าน เป็นสิ่งสำคัญที่ท่านต้องปฏิบัติ
            3. การสื่อสาร  ท่านต้องสื่อสาร 2 ทาง ใช้ภาษาท่าทางให้มากขึ้นตัวอย่าง เช่น     ท่านต้องทำเป็น   ตัวอย่าง     ที่จะสื่อไปถึงบุคลากรของท่าน ซึ่งท่านอาจจะไม่ได้ขอร้องให้เขาปฏิบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งท่านอาจจะไม่ค่อยเต็มใจ ท่านจะสื่ออะไร  หรืออย่างไรที่จะไม่ทำลายสัมพันธภาพหรือสร้างสัมพันธภาพระหว่างท่านกับคนของท่าน
           4. สถานการณ์  ทุกสถานการณ์แตกต่างกัน สิ่งที่ท่านทำในสถานการณ์หนึ่ง  อาจจะไม่สามารถดำเนินการได้ในอีกสถานการณ์หนึ่ง ท่านต้องใช้ดุลยพินิจของท่าน ในการตัดสินใจปฏิบัติอย่างดีที่สุด  และสไตล์ของผู้นำต้องสอดคล้องกับเหตุการณ์ ตัวอย่างเช่น ท่านอาจจำเป็นต้องเผชิญหน้ากับบุคลากรในพฤติกรรมไม่เหมาะสม แต่ถ้าการเผชิญหน้าช้าหรือเร็วเกินไป รุนแรง หรืออ่อนแอเกินไป อาจทำให้ไม่เกิดประสิทธิผลก็ได้
             อำนาจต่าง ๆ จะมีผลต่อปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ตัวอย่างต่าง ๆ ของอำนาจเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ของท่านกับหัวหน้าของท่าน ทักษะของคนของท่าน ผู้นำที่ไม่เป็นทางการในองค์การของท่าน และวิธีจัดระบบในองค์การของท่าน
             คุณลักษณะ  (Attributes)
             ถ้าท่านเป็นผู้นำที่สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจบุคลากรที่อยู่รอบๆ       ท่านก็จะนับถือท่านเพื่อการเป็น   ผู้นำที่ดี มีสิ่งต่าง ๆ ที่ท่านต้องเป็น ต้องรู้ และต้องการทำสิ่งต่าง ๆ อยู่ภายใต้กรอบของภาวะผู้นำ
              1.  เป็นมืออาชีพ ตัวอย่างมีความจงรักภักดีต่อองค์การ              ปฏิบัติงานโดยไม่หวังผลประโยชน์     ส่วนตน มีความรับผิดชอบ
              2. บุคลิกภาพดีเหมาะสมกับวิชาชีพ ตัวอย่างเช่น มีความจริงใจ มีสมรรถนะ มีความเปิดเผย        มีความมุ่งมั่น มีความซื่อสัตย์ กล้าหาญ ตรงไปตรงมา มีจินตนาการ
              3.    รู้ปัจจัยต่าง ๆ ของภาวะผู้นำ ผู้ตาม ผู้นำ การสื่อสาร สถานการณ์
              4.    รู้จักตนเอง เช่น รู้จุดแข็งและจุดอ่อนของตน ความรู้และทักษะต่าง ๆ
              5.    รู้ธรรมชาติของมนุษย์ เช่น      มนุษย์มีความต้องการ มีอารมณ์และการตอบสนองความเครียด
              6.    รู้งาน รู้งานอย่างมืออาชีพ และฝึกฝนงานให้คนอื่นได้
              7.   รู้จักองค์การ เช่น จะขอความช่วยเหลือได้ที่ไหน บรรยากาศ องค์การ     และวัฒนธรรมเป็นอย่างไร ใครเป็นผู้นำแบบไม่เป็นทางการในองค์การ
     8.     กำหนดทิศทาง เช่น กำหนดเป้าหมาย การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การวางแผน
     9.     การดำเนินการ เช่น การสื่อสาร การประสานงาน การนิเทศ การประเมินผล
     10.   แรงจูงใจ เช่น สร้างขวัญกำลังใจ และพัฒนาสติปัญญาในองค์การ ฝึกอบรมการสอน
งาน   การให้คำปรึกษา
    สิ่งแวดล้อม  (Environment)
   ทุกองค์การมีสิ่งแวดล้อมในการทำงานตามปรกติ ซึ่งเป็นเหมือนคำสั่งที่ทรงอำนาจ เพื่อ
เป็นข้อที่  ต้องคำนึงถึงวิธีการ ที่ผู้นำจะตอบสนองต่อปัญหา หรือโอกาส สิ่งแวดล้อมนำไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของผู้นำในอดีตและผู้นำในปัจจุบัน ผู้นำใช้อิทธิพลกับสิ่งแวดล้อมได้ 3 แบบ คือ
-      เป้าหมายและมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ผู้นำกำหนด
-      ค่านิยมต่าง ๆ ที่ผู้นำกำหนดสำหรับองค์การ
-      แนวคิดเรื่องบุคคลและธุรกิจที่เขากำหนด
  องค์การที่ประสบความสำเร็จต้องมีผู้นำที่ดี ที่กำหนดมาตรฐานที่สูงและมีเป้าหมายต่างๆที่ รวมความคิดต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์   ผู้นำทางด้านการตลาด แผนงาน การนำเสนอ การควบคุมคุณภาพ และ   มีความน่าเชื่อถือ
 ค่านิยมสะท้อนถึงความใส่ใจในองค์การที่มีไว้สำหรับบุคลากร ลูกค้า นักลงทุน คนขายสินค้า และชุมชนรอบด้าน ค่านิยมเหล่านี้กำหนดวิธีการทำงาน วิธีดำเนินการทางธุรกิจและธุรกิจอะไรที่จะดำเนินการ
            แนวคิดกำหนดว่า  ผลผลิตหรือบริการอะไรที่องค์การจะนำเสนอวิธีการต่าง ๆ และกระบวนการต่าง ๆ เพื่อการดำเนินกิจกรรม เป้าหมาย ค่านิยมและแนวคิดเหล่านี้ทำให้เกิด “บุคลิกภาพของ  องค์การ” ลักษณะเฉพาะขององค์การที่สามารถสังเกตเห็นได้ทั้งภายในและภายนอก บุคลิกกำหนด          บทบาท ความสัมพันธ์ รางวัล และพิธีกรรมที่เกิดขึ้น
            บทบาทกำหนดขึ้นจากความคาดหวังเชิงพฤติกรรมของตนที่ดำรงตำแหน่งอยู่แต่ละบทบาทจะมีชุดของงาน และความรับผิดชอบที่อาจจะหรืออาจจะไม่ได้ระบุไว้     บทบาทมีพลังอำนาจต่อพฤติกรรม เพราะเงินเดือนที่จ่าย           จ่ายตามการปฏิบัติงานในบทบาท มีเกียรติและศักดิ์ศรีรวมอยู่ในบทบาทนี้ด้วย         มีความหมายความสำเร็จ และสิ่งท้าทายรวมอยู่ในบทบาทด้วย
            ความสัมพันธ์เกิดจากงานในแต่ละบทบาท บางคนทำคนเดียว แต่งานส่วนมากสัมพันธ์กับคนอื่น การวินิจฉัยงานเกิดจากผู้อยู่ในบทบาทนั้นว่าต้องสัมพันธ์กับใคร บ่อยแค่ไหน ดำเนินไปสู่จุดหมายอย่างไร ความสัมพันธ์ทำให้เกิดเครือข่าย สิ่งนี้เองที่นำไปสู่สัมพันธภาพบ่อยขึ้น   พฤติกรรมมนุษย์ยากนักที่ใครจะไม่ติดต่อกับคนอื่น มนุษย์แสวงหาความสัมพันธ์อยู่แล้วเขาชอบอยู่แล้วมนุษย์มีเจตจำนงเพื่อทำในสิ่งที่เขาจะได้รางวัลเสมอ มิตรภาพเป็นรางวัลที่ทรงคุณค่า
             งานหลายอย่างและพฤติกรรมต่าง ๆ     สัมพันธ์กับบทบาทที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ผู้ดำรงตำแหน่ง   มีความคาดหวังในงานและพฤติกรรมใหม่   เพราะว่าความสัมพันธ์ที่ดีเป็นเรื่องที่พัฒนาขึ้นมาจากอดีต ทั้ง ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งและผู้ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนแล้ว
             มีอำนาจ 2 อย่างที่เด่นชัด ที่มีพลังต่อวิธีการปฏิบัติภายในองค์การ คือ วัฒนธรรมและบรรยากาศองค์การ
             แต่ละองค์การมีวัฒนธรรมเฉพาะของตนเอง เป็นเรื่องที่หลอมรวมผู้คนพบ ผู้นำในอดีต ผู้นำในปัจจุบัน ภาวะวิกฤต เหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ประวัติองค์การและขนาดขององค์การ ผลอันนี้อยู่ในพิธีกรรม งานประจำต่าง ๆ พิธีการและวิธีการในการทำสิ่งต่าง ๆ พิธีกรรมเหล่านี้มีผลกระทบพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลที่ทำให้เกิดบรรทัดฐานการปฏิบัติและส่งผลต่อพฤติกรรมเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์
             บรรยากาศเป็นความรู้สึกขององค์การ ปัจเจกบุคคลและการร่วมปันการรับรู้ ตลอดจนเป็นเจตคติของสมาชิกต่าง ๆ ในองค์การ ในขณะที่วัฒนธรรมเป็นธรรมชาติที่ลงรากลึกอยู่ในองค์การ เป็นผลจากระบบต่าง ๆ ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการระยะยาว กฎเกณฑ์ ธรรมเนียมและประเพณ   ี บรรยากาศเป็นปรากฏการณ์ระยะสั้น           เกิดจากภาวะผู้นำในปัจจุบันบรรยากาศเป็นสิ่งที่เป็นตัวแทนความเชื่อ เกี่ยวข้องกับ “ความรู้สึกขององค์การ” จากสมาชิกต่าง ๆ      ในองค์การ เป็นการรับรู้ของปัจเจกบุคคล “ความรู้สึกขององค์การ” มาจากความเชื่อของคนซึ่งเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้มี    อิทธิพลทั้งปัจเจกบุคคล  และแรงจูงใจของทีมและความพึงพอใจด้วย รวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้
-     ผู้นำกำหนดเป้าหมายและอันดับความสำคัญอย่างไรในองค์การความคาดหวังของเราคือ  อะไร
-     ระบบที่ได้รับการยอมรับ รางวัลและการลงโทษในองค์การทำอะไรกันบ้าง
-     สมรรถภาพของผู้นำเป็นอย่างไร
-     ผู้นำมีอิสระในการตัดสินใจหรือไม่
-     อะไรจะเกิดขึ้นถ้าทำผิดพลาด
บรรยากาศองค์การมีผลโดยตรงจากภาวะผู้นำ            และสไตล์การบริหารของผู้นำบนพื้นฐานของผู้นำ คุณลักษณะ ทักษะต่าง ๆ และการปฏิบัติและรวมไปถึงสิทธิพิเศษของผู้นำ บรรยากาศทางจริยธรรม นั่น   ก็คือ “ความรู้สึกขององค์การ” เกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ    ที่มีเนื้อหาทางด้านจริยธรรม หรือความคาดหวังในสิ่งแวดล้อมของงาน ซึ่งทำให้เกิดผลทางจริยธรรม    บรรยากาศทางจริยธรรมเป็นความรู้สึกที่เกี่ยวกับว่า เราทำสิ่งต่าง ๆ ให้ถูกต้องหรือความรู้สึกที่ว่าเรามีพฤติกรรมไปตามวิถีทางที่ควรปฏิบัติอย่างนั้น พฤติกรรม         (คุณลักษณะ)    ของผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีผลกระทบต่อบรรยากาศอีกด้านหนึ่ง วัฒนธรรมเป็นปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน และยาวนาน วัฒนธรรมเป็นตัวแทน    การร่วมปันความคาดหวัง  และภาพลักษณ์ขององค์การ ค่านิยมที่สมบูรณ์แบบทำให้เกิด “ธรรมเนียมประเพณี” และเป็น “วิถีขององค์การ” วิสัยทัศน์ร่วมหรือวิถีประชา  ซึ่งกำหนดในสถาบันเป็นสิ่งสะท้อนวัฒนธรรมผู้นำแต่ละคนไม่อาจทำให้เกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมอย่างง่ายดาย   เพราะวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งขององค์การวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อคุณลักษณะต่าง ๆ ของบรรยากาศ ซึ่งมีผลจากการปฏิบัติและกระบวนการ    การคิดของผู้นำ แต่ทุกสิ่งที่ทำในฐานะผู้นำจะมีผลต่อบรรยากาศขององค์การ
                โมเดลของภาวะผู้นำ  (Leadership  Model)
             โมเดลของภาวะผู้นำช่วยให้เราเข้าใจ ผู้นำควรทำอะไร     วิธีการที่เขาทำในสถานการณ์ที่แน่นอน  ความคิดนี้มิได้สกัดกั้นท่านในรูปแบบพฤติกรรมที่อภิปรายในโมเดลนี้  แต่เพื่อให้เข้าใจความจริงว่าทุกสถานการณ์ต้องใช้วิธีการหรือพฤติกรรมที่แสดงออกต่างกัน ทั้ง 2 โมเดล จะอธิบายใน 4     โครงร่างและ    ตารางการบริหาร

                ใน 4 โครงร่าง โบลแมนและดีล Bolman  and  Deal 3  แนะนำว่าผู้นำแสดงพฤติกรรม ผู้นำใน 4 แบบ คือ โครงสร้าง ทรัพยากรมนุษย์ การเมือง และสัญลักษณ์
                สไตล์การนำอาจมีประสิทธิผลหรือไม่มีประสิทธิผลขึ้นอยู่กับการเลือกพฤติกรรมในสถานการณ์ที่ชัดเจน
                โครงสร้าง  (Structural  Framework)     ในสถานการณ์ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผล ผู้นำคือ สถาปนิกทางสังคม สไตล์ผู้นำมีการวิเคราะห์และการออกแบบในสถานการณ์ผู้นำที่ไม่มีประสิทธิผล   ผู้นำแบบเผด็จการเล็กน้อย ใจแคบ    สไตล์ผู้นำเน้นรายละเอียด ผู้นำแบบโครงสร้างมุ่งเน้นโครงสร้างกลยุทธ์ สิ่งแวดล้อม การดำเนินการ การทดลองและการปรับตัว
                ทรัพยากรมนุษย์  (Human  Resource  Frnmework)         ในสถานการณ์ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผล       ผู้นำเป็นผู้กระตุ้นให้เกิดผลและรับใช้สไตล์ผู้นำเป็นลักษณะสนับสนุน ส่งเสริมและให้สิทธิอำนาจ ในสถานการณ์ภาวะผู้นำที่ไม่มีประสิทธิผล ผู้นำเป็นลักษณะเน้นเรื่องงาน   สไตล์ภาวะผู้นำแบบละทิ้งและฉ้อฉล ผู้นำแบบทรัพยากรมนุษย์ เชื่อในตัวบุคคล และสื่อความเชื่อของเขา เขาพบเห็นและเข้าพบได้ง่าย เขาให้สิทธิอำนาจ เพิ่มการมีส่วนร่วม สนับสนุน แลกเปลี่ยนข้อมูล ให้หน่วยล่างตัดสินใจ
                การเมือง  (Political  Framework)       ในสถานการณ์ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผล ผู้นำเป็นลักษณะส่งเสริมสไตล์ภาวะผู้นำ เป็นลักษณะสร้างความร่วมจิตร่วมใจและการผนึกกำลั     ในสถานการณ์ภาวะผู้นำที่ไม่มีประสิทธิผลจำทำอย่างไร้ยางอาย สไตล์ผู้นำแบบบงการ ผู้นำแบบการเมืองจะบอกว่าต้องการอะไรและต้องการเอาให้ได้ เขาประเมิน        แบ่งสรรอำนาจแบ่งปันผลประโยชน์ สร้างเครือข่ายเพื่อผู้มีส่วนได้เสียคนอื่น ๆ ใช้วิธีชักจูงโน้มน้าวก่อน  แล้วจึงใช้การเจรจาต่อรองและหรือใช้วิธีบังคับถ้าจำเป็น
                สัญลักษณ์  (Symbolic  Framework)  ในสถานการณ์ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผล ผู้นำรู้เหตการณ์   สไตล์ผู้นำแบบการสร้างแรงบันดาลใจในสถานการณ์ภาวะผู้นำที่ไม่มีประสิทธิผล ผู้นำแบบกระตือรือร้นอย่างคลั่งไคล้ หรือเบาปัญญา สไตล์      ผู้นำไม่ชัดเจนไม่มีความหมาย องค์การที่มีแนวคิดที่มีผู้นำแบบสัญลักษณ์ เหมือนกับเวทีละครหรือโรงละคร      แสดงบทบาทให้เกิดความประทับใจ ผู้นำเหล่านี้ใช้สัญลักษณ์เพื่อดึงความสนใจ เขาพยายามกำหนดกรอบประสบการณ์ เพื่อจัดให้ประสบการณ์ให้ตีความดูท่าทีมีเหตุผลเป็นไปได้ เขาค้นหาและสื่อวิสัยทัศน์
                โมเดลนี้เสนอแนะว่า ผู้นำควรใช้สไตล์หนึ่งในสี่ลักษณะและมีหลายครั้ง เมื่อวิธีการหนึ่งเหมาะสม และหลายครั้งที่อาจไม่เหมาะสมถ้าใช้วิธีการเดียวในวิธีการต่าง ๆ เหล่านี้อาจไม่เพียงพอ   เราควรรู้ทั้งสี่วิธี มิใช่วิธีเดียว   ตัวอย่างในช่วงที่องค์การมีการเปลี่ยนแปลงสไตล์ผู้นำแบมีโครงสร้างอาจมีประสิทธิผลกว่าสไตล์ผู้นำแบบวิสัยทัศน์   ในช่วงเวลาที่องค์การกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว   สไตล์ผู้นำแบบมีวิสัยทัศน์น่าจะเหมาะสมกว่า      เราต้องเข้าใจด้วยตัวของเราเองในแต่ละสถานการณ์แทนที่จะใช้วิธีการที่เราเคยชอบ เราต้องรู้ตลอดเวลาและตระหนักถึงข้อจำกัดในวิธีการที่เราชอบใช้

               ตารางการบริหารของ เบลคและมูตัน   The  Blake  and  Mouton  Manageral  Grid  4 ใช้ 2 แกน “แกนนอนให้ความสนใจกับงาน” ทั้งสองแกนใช้อัตราส่วน 1 ถึง 9 ความคิดนี้มี 2 มิติ    อธิบายเป็นพฤติกรรมการบริหารที่น่าสนใจ และเข้าใจง่ายทั้ง 2 มิติอธิบายเป็นกราฟหรือตาราง      คนส่วนใหญ่อาจตกอยู่ส่วนที่อยู่ใกล้ตรงกลางของทั้ง 2 แกน แต่ก็มีพวกสุดโต่ง นั่นคือ คนที่มีคะแนนที่อยู่ปลายสุดของสเกล เรามาดูรูปแบบต่าง ๆ ของผู้นำกัน
             ผู้นำที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จ  (งาน 9, คน 1) ผู้นำทีม  (งาน 9, คน 9) ผู้นำแบบลูกทุ่ง  (งาน1,คน 9)     และผู้นำแบบย่ำแย่  (งาน 1,คน 1)            
            ผู้นำแบบมีอำนาจเบ็ดเสร็จ  (Authoritarian  Leader)  มุ่งงานสูง, สัมพันธ์ต่ำ 9, 1  : บุคคลที่มีอัตราส่วนคะแนนแบบนี้มุ่งงานมาก และให้คนทำงานอย่างหนัก (อัตตาธิปไตย) ความร่วมมือและความร่วมจิตร่วมใจมีน้อย คนที่มีลักษณะนี้มุ่งงานอย่างหนัก แสดงความเข้มงวดกวดขัน   กำหนดตารางการทำงาน เขาคาดหวังให้บุคลากรทำงาน   สั่งการบุคลากรโดยมไม่ให้ตั้งคำถามหรือโต้แย้งเมื่อเกิดสิ่งผิดพลาด มีแนวโน้มที่จะมุ่งไปโทษบุคคลมากกว่าที่จะค้าหาว่าสิ่งใดผิดและหาวิธีป้องกัน ไม่อดทนต่อที่เขาเห็นว่าไม่ตรงกับของตนเอง ซึ่งอาจจะเป็นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของบางคน   ยากที่จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชา มีส่วนร่วมและพัฒนาตนเอง
             ผู้นำทีม  (Team  Leader)  มุ่งงานสูง, ความสัมพันธ์สูง 9, 9 : ผู้นำแบบนี้ นำโดยทำเป็นตัว
อย่างที่ดี   พยายามสร้างสิ่งแวดล้อมเป็นทีมงาน ซึ่งสมาชิกทีมทุกคนสามารถทำงานได้เต็มศักยภาพ  ทั้งสมาชิกทีมและปัจเจกบุคคล       เขาส่งเสริมทีมทำงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผลเท่าที่เป็นไปได้ ทำงานอย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยในบรรดาสมาชิกต่าง ๆ   เขาสร้างทีมและเพิ่มผลผลิตของทีมได้มากที่สุด
             ผู้นำแบบลูกทุ่ง  (Country  Club)  งานต่ำ, สัมพันธ์สูง 1, 9  :   ผู้นำแบบนี้ใช้อำนาจและการให้รางวัลครอบงำไว้ก่อน เพื่อการรักษาวินัยและส่งเสริมให้ทีมทำงานให้บรรลุเป้าหมาย     ในทางกลับกันเกือบจะไม่สามารถใช้อำนาจการบังคับหรือการลงโทษ  หรืออำนาจทางกฎหมายเลยผลลัพธ์จากการไม่มีความสามารถของผู้นำที่กลัวการใช้อำนาจ     ที่จะทำลายความสัมพันธ์สมาชิกทีม
             ผู้นำแบบย่ำแย่  (Impoverished  Leader)  งานต่ำ, สัมพันธ์ต่ำ 1, 1 :บุคคลผู้นี้ใช้สไตล์การบริหารแบบมอบอำนาจแล้วหายตัว เพราะเขาไม่มุ่งงานหรือไม่สนใจความสัมพันธ์ ปล่อยให้ทีมทำสิ่งที่เคยทำตามปรารถนาและความชอบแยกตัวเองออก
จากกระบวนการของทีม โดยปล่อยให้ทีมตกระกำลำบากและปล่อยให้ต่อสู้เอง
             จุดที่ปรารถนาสำหรับผู้นำ ก็คือ ผู้นำแบบทีม อย่างไรก็ตามไม่ปล่อยทิ้งไปใน 3 แบบ ใน      สถานการณ์ที่แน่นอน อาจใช้แบบใดแบบหนึ่งในสามแบบในบางครั้ง  ตัวอย่างเช่น เล่นบทผู้นำมุ่งงานต่ำ มุ่งสัมพันธ์ต่ำ  ยอมให้ทีมของท่านเพิ่มความเชื่อมั่นในตนเอง   เล่นแบบผู้นำแบบอำนาจเบ็ดเสร็จ เพื่อ    ค่อย ๆ สอนความมีวินัยในบุคลากรที่ขาดแรงจูงใจ  ต้องพยายามศึกษาสถานการณ์อย่างรอบคอบและนึกถึงแรงกดดันที่จะเกิดขึ้น  ท่านจะรู้ว่าจุดไหนของแกนที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ตามที่ปรารถนา

                กระบวนการของผู้นำที่ยิ่งใหญ่
                เส้นทางสู่ความเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่  5  ผู้นำที่ประสบความสำเร็จทั่ว ๆ ไป
-      กระบวยการที่ท้าทาย ประการที่ 1 ค้นหากระบวนการที่ท่านเชื่อว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่จะ    ทำให้ดีขึ้นมากที่สุด
-      สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันให้เกิดแรงบันดาลใจ   ลำดับต่อไปสร้างวิสัยทัศน์ร่วมด้วยคำที่ทำ   ให้เกิดความเข้าใจกันของผู้ตาม
-     ให้บุคลากรคนอื่นได้แสดงความสามารถใช้เครื่องมือและวิธีการต่างๆในการแก้ปัญหากับ   เขา
-     ทำตนเป็นแบบอย่าง เมื่อกระบวนการเกิดความยุ่งยากก็ยอมให้มือเปื้อนบ้าง   เจ้านาย  สั่งการให้คนอื่นทำงาน ผู้นำจะแสดงให้ลูกน้องเห็นว่าเขาก็สามารถทำได้
-     ให้กำลังใจ ให้การยกย่อง สรรเสริญลูกน้องของท่านจากใจและเก็บความเจ็บปวดไว้ในใจ
ความเป็นผู้นำขึ้นอยู่กับการฝึกฝน มิได้เป็นมาแต่เกิด ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน   แต่ก่อนอื่นใดท่านต้องรู้จักตนเองว่าท่านเป็นใคร ท่านรู้อะไร   ท่านสามารถทำอะไรได้ดี    แล้วพัฒนาส่วนที่เป็นจุดแข็งของท่าน คิดดี มีความรู้สึกที่ดี การกระทำก็จะดีตาม ท่านคิดอย่างไรก็จะเป็นเช่นนั้น

       การเปลี่ยนแปลงการบริหาร management change คือ วิวัฒนาการของแนวคิดทางการบริหารตามภาวการณ์ต่าง ๆ อาทิ การบริหารแนววิทยาศาสตร์ มนุษยสัมพันธ์ เชิงระบบและตามถานการณ์ ภาวการณ์ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามบริบท (context) ของสังคม ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ฯลฯ เป็นการเปลี่ยนแปลงซึ่งต้องบริหารแบบรู้เท่าทัน ทันการณ์ มีวิสัยทัศน์ โดยใช้พื้นฐานความรู้เดิมเป็นตัวตั้ง แล้วนำมาวิเคราะห์เรียบเรียง เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจ แล้วจัดการกำจัดจุดอ่อน และเพิ่มจุดแข็ง ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย "การบริหารการเปลี่ยนแปลง (change management)"

รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลง ในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการพัฒนาองค์กร ซึ่งมีรูปแบบวิธีการที่ดีอย่างน้อย 3 รูปแบบ ดังนี้
          1. รูปแบบ 3 ขั้นตอน ตามแนวคิดของ Kurt Lewin ประกอบด้วย การคลายตัว (unfreezing) เนื่องจากเกิดปัญหาจึงต้องเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง (changing) คือ การเปลี่ยนจากพฤติกรรมเก่า ไปสู่พฤติกรรมใหม่ และการกลับคงตัวอย่างเดิม (refreezing) เพื่อหล่อหลอมพฤติกรรมใหม่ให้มั่นคงถาวร
          2. รูปแบบ 2 ปัจจัย ตามแนวคิดของ Larry Greiner ที่เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดจากแรงบีบภายนอก กับการกระตุ้นผลักดันภายใน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมีอยู่ตลอดเวลา ปัจจัยทั้งสองเกิดขึ้นตลอดเวลา จึงต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงโดย ศึกษาการเปลี่ยนแปลง ค้นหาวิธีการที่ดีกว่า ทดลองวิธีใหม่ หล่อหลอมข้อดีเข้าด้วยกัน เพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ
          3. รูปแบบผลกระทบของปัจจัย ตามแนวคิดของ Harold J. Leavitt ที่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดจากผลกระทบที่เกิดขึ้นตลอดเวลาของ งาน โครงสร้าง เทคนิควิทยาการ และคน ทั้ง 4 ประการนี้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงก็จะส่งผลกระทบเกี่ยวพันกัน และการเปลี่ยนแปลงบางเรื่องอยู่เหนือการควบคุม ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องสนใจสิ่งที่เปลี่ยนแปลง สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลง และผลกระทบที่เกิด หรือจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของแต่ละปัจจัย

แนวโน้มของกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับองค์การ
          1. ด้านโครงสร้าง (structure)
          2. องค์ประกอบของประชากร (demographic)
          3. เกิดจริยธรรมใหม่ของการทำงาน (new work ethic)
          4. การเรียนรู้และองค์ความรู้ (learning and knowledge)
          5. เทคโนโลยีและการเข้าถึงสารสนเทศ (technology and access to information)
          6. เน้นเรื่องความยืดหยุ่น (emphasis on flexibility)
          7. ต้องพร้อมเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (fast-paced change)

สิ่งที่ต้องพิจารณาเปลี่ยนแปลงในองค์การ
          1. เป้าหมายและกลยุทธ์
          2. เทคโนโลยี (technology)
          3. การออกแบบงานใหม่ (job redesign)
          4. โครงสร้าง (structure)
          5. กระบวนการ (process)
          6. คน (people)

ผู้บริหารที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่คุณภาพการศึกษา
          1. เป็นผู้นำวิสัยทัศน์ (visionary Leadership) และสามารถกระจายวิสัยทัศน์ไปยังบุคคล ต่าง ๆ ได้
          2. ใช้หลักการกระจายอำนาจ (empowerment) และการมีส่วนร่วม (participation)
          3. เป็นผู้มีความสัมพันธ์กับบุคลากร ทั้งภายในและนอกองค์กร
          4. มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
          5. ผู้นำคุณภาพจะต้องมีความรู้ความสามารถในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีและใช้ข้อมูลสถิติ ในการวิเคราะห์และตัดสินใจ
          6. ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือลูกน้อง
          7. ความสามารถในการสื่อสาร
          8. ความสามารถในการใช้แรงจูงใจ
          9. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (chang leadership)

ความท้าทายการเปลี่ยนแปลง (challenges of change)
          องค์การที่มีโครงสร้างองค์การชนิดที่มีสายการบริหารหลายขั้นตอนหรือสั่งการหลายชั้นภูมิจะอยู่รอดได้ยาก ในอนาคตองค์การต่าง ๆ ต้องประสานความร่วมมือกันโยงใยเป็นเครือข่าย ในขณะเดียวกันโครงสร้างภายในองค์การก็จะต้องกระจายความสามารถในการตัดสินใจให้กับกลุ่มงานต่าง ๆ ให้มากที่สุด และมีลำดับชั้นการบริหารน้อยที่สุด และต้องเปลี่ยนแปลงองค์การเพื่อรองรับและก้าวให้ทันความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งท้าทายและมีอิทธิพลต่อความอยู่รอดขององค์การในศตวรรษที่ 21 เป็นอย่างมาก (ธวัช บุณยมณี, 2550)

แรงกดดันที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (force for change) Robbins (1996, อ้างถึงใน ธวัช บุณยมณี, 2550: 142-144) ได้สรุปให้เห็นถึงปัจจัยกระตุ้น หรืแรงกดดันที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
          1. ลักษณะของแรกกดดันจากงาน (nature of the work force) เช่น ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ
          2. เทคโนโลยี (technology) เช่น ความเจริญก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์ แนวคิดเรื่องการจัดการคุณภาพ การปฏิรูปองค์การ
          3. ความชะงักงันทางเศรษฐกิจ (economic shocks) เช่น การตกต่ำของตลาดหลักทรัพย์ การแกว่งตัวของอัตราดอกเบี้ย
          4. การแข่งขัน (competition) เช่น การแข่งขันแบบโลกาภิวัตน์ การรวมตัวกันของกลุ่มต่างๆ
          5. แนวโน้มของสังคม (social trends)? เช่น? การเข้าสู่สถาบันระดับอุดมศึกษามากขึ้น? การชะลอการต่างงาน
          6. การเมืองของโลก (world politics) เช่น การเปิดประเทศ ความขัดแย้งหรือการรุกรานกันของประเทศต่าง ๆ

          แบบจำลองภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง รูปแบบการเปลี่ยนแปลงสามารถจำแนกออกเป็น 3 ลักษณะ คือ? การเปลี่ยนแปลงจากบนลงล่าง จากล่างขึ้นสู่เบื้องบน และแบบบูรณาการ (Schermerhorn, 2002:480 อ้างถึงใน ธวัช บุณยมณี, 2550)
          1.การเปลี่ยนแปลงจากบนลงล่าง (top-down change) เป็นการริเริ่มการเปลี่ยนแปลงที่มาจากผู้บริหารระดับสูง ความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับ ความสมัครใจหรือความเต็มใจของพนักงานระดับกลางและระดับล่าง ทางธุรกิจเรียกว่า ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงแบบอี (Theory E Change)
          2.การเปลี่ยนแปลงจากล่างขึ้นบน (bottom-up change) เป็นการริเริ่มการเปลี่ยนแปลงที่มาจากทุกระดับในองค์การและได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับต้นและระดับกลางในฐานะที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ทางธุรกิจเรียกว่า ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงแบบโอ (Theory O Change)
          3.การบูรณาการภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (integrated change leadership) เป็นการนำประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลงจากบนลงล่างและจากล่างขึ้นบนมาใช้ การริเริ่มจากระดับบนมีความจำเป็นในการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงแบบแผนดั้งเดิม การริเริ่มจากระดับล่างเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างความสามารถของสถาบันเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั้งยืน


นายชัยวัฒน์ โฉมสุข การจัดการทั่วไป รุ่น 19


Green Print คือ การพิมพ์ที่ให้ความสำคัญกับการผลิต ทำให้สิ่งพิมพ์เสียหายจากการพิมพ์น้อยที่สุดเป็นเทคโนโลยีใหม่ในธุรกิจสิ่งพิมพ์สีเขียวที่ต่อยอดธุรกิจแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์
Print City ธุรกิจสีเขียว รักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อม: ธุรกิจสิ่งพิมพ์เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีทั้งกลิ่นและสารเคมีจากหมึกพิมพ์ที่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงของเสียจากการพิมพ์ อาทิ หมึกพิมพ์ที่เปื้อนหน้าหนังสือ กระดาษจากงานพิมพ์เสียที่กองทับถมกัน สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกเข้าทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศ
“บริษัท พริ้นท์ซิตี้ จำกัด” เป็นธุรกิจสิ่งพิมพ์รายแรกของไทยที่เติบโตมาจากธุรกิจ SMEs เล็กๆ ผลิตงานพิมพ์และงานจัดจำหน่ายหนังสือในนามบริษัท โอเชี่ยน บุ๊คมาร์ท จำกัด เติบโตอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมจัดจำหน่ายหนังสือ จนแตกไลน์กลายมาเป็น บริษัท โอเชี่ยน เปเปอร์ จำกัด ผู้จำหน่ายกระดาษรายใหญ่ของดับเบิ้ลเอ นอกจากนี้ยังเป็นบริษัทที่ได้ให้ความสำคัญต่อการผลิตและการใช้เทคโนโลยีสะอาดมาช่วยในการลดปริมาณของของเสียและขยะที่เกิดจากการพิมพ์ รวมถึงการให้ความสำคัญกับการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีผลต่อการทำลายชั้นบรรยากาศของโลกซึ่งบริษัทดังกล่าวได้ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพัฒนาโปรแกรม ที่เรียกว่า “Green Print Solution” เพื่อใช้ในการคำนวณค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ให้กับอุตสาหกรรม
ในปี 2553บริษัท พริ้นท์ซิตี้ จำกัด ถือเป็นบริษัทสิ่งพิมพ์รายแรกในไทยที่ได้รับเครื่องหมาย “คาร์บอน ฟุตพริ้นท์”จากองค์การบริหารจัดการก๊าชเรือนกระจก ซึ่งในส่วนของสื่อสิ่งพิมพ์ เรียกว่า “กรีนพริ้นต์” เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สามารถลดการใช้วัสดุสิ้นเปลืองในระบบการพิมพ์ทั้งกระบวนการ โดยสิ่งพิมพ์ที่ผลิตจากพริ้นท์ซิตี้จะผ่านกระบวนการพิมพ์โดยใช้เทคโนโลยีสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนในช่วงการผลิต ผ่านการประเมินวัฏจักรชีวิตของสิ่งพิมพ์ตลอดช่วงอายุและสามารถแสดงค่าตัวเลขของ CO2 ที่วัดค่าได้อย่างเหมาะสม
          ขั้นตอนการผลิตของ Green Print เพื่อให้เกิดขยะหรือสิ่งพิมพ์ที่เสียหายจากการพิมพ์น้อยที่สุด
                   1. เริ่มจากกระดาษที่นำมาพิมพ์ที่มาจากฟาร์มกระดาษที่ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม
                   2. มีการตรวจปรู๊พแบบ Digital
                   3. การทำ Plate จากคอมพิวเตอร์โดยตรงเพื่อลดต้นทุนจาก Aluminum Plate ที่กลายเป็นวัสดุเหลือใช้จากงานพิมพ์ที่เป็นขยะ
                   4. หมึกพิมพ์ ใช้หมึกที่ทำมาจากถั่วเหลือง
                   5. เครื่องพิมพ์ใช้ระบบจ่ายหมึกอัตโนมัติ และเป็นระบบ Digital Printing
จากกระบวนการดังกล่าวจะทำให้บริหารจัดการเพื่อลดปริมาณก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน กากของเสียหรือสิ่งพิมพ์ที่เป็นขยะลงได้ นี่คือนโยบายการดำเนินของ บริษัท พริ้นท์ซิตี้ จำกัด
นอกจากนี้ยังเป็นบริษัทที่ได้กำหนดเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจสีเขียวต่อยอดธุรกิจแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์และเป็นการรวม Supply Chain แบบ Up Stream ที่ทำให้ทุกกระบวนการผลิตจัดซื้อสั้นลงและมีประสิทธิภาพ และพริ้นท์ซิตี้อยู่ในช่วงที่จะได้ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นรายแรกของเอเชียและได้รับการต้อนรับอย่างดีในงานAsian Symposium NEXT-GENERATION PRINTING SCIENCE AND TECHNOLOGY 2010 ที่เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น จนเป็นการปลุกกระแสการปรับตัวในอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ครั้งใหญ่ของเอเชีย
แหล่งข้อมูล: Idustry Focus ปีที่ 1 ฉบับ 006 ประจำเดือน ก.พ. 55

คนที่รัก อาจารย์

ขอบคุณ อาจารย์ มากค่ะที่คอยประสิทธิ์ประสาทวิชา ความรู้ ทั้งในและนอกห้องเรียน ทำให้หนูได้มีโอกาสรู้โลกภายนอกมากมาย  ขอบคุณที่สละ เวลาทุกนาทีที่ มีความหมายของอาจารย์มาให้หนูมีความคิด ความรู้ มากมาย และทำให้วันสุดท้ายในการเรียนมีความสุข สนุกสนาน ขอบคุณค่ะ





ครูเองก็ต้องขอขอบคุณนักศึกษาทุกคนค่ะ ที่ช่วยกันทำให้วันเวลาของพวกเรามีคุณค่า
เวลา ถึงแม้ว่าจะ ผ่านมา แล้วก็ผ่านเลยไป แต่สิ่งที่เหลืออยู่ก็คือความทรงจำที่ดี ของพวกเราทุกคน
ที่อยู่ในใจของเราเสมอ

ทุกครั้งที่นึกถึงนักศึกษา ก็คือเวลาที่ดีของครูเช่นกันค่ะ มีรอยยิ้มเสมอค่ะ

น.ส. ปาริฉัตร หยุ่นเฮง รหัส 216 การจัดการทั่วไปรุ่นที่ 19


บทที่ 11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต
ความสำเร็จของธุรกิจขนาดใหญ่ ล้วนเริ่มต้นมาจากการคิดเผื่อ “ผู้คน” และ “โลก” เช่นเดียวกับตัวแทนภาคธุรกิจที่ร่วมแบ่งปันวิธีคิด ในเวทีสัมมนากรุงเทพธุรกิจ Green Forum : Green Economy ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไทยยั่งยืน หัวข้อ Panel Discussion “นวัตกรรม ‘ต้นแบบ’ บุกตลาดกรีน
วิธีคิดแบบเจเนอรัล อีเลคทริค หรือ “จีอี” ธุรกิจเทคโนโลยีชั้นนำของโลก เลือกสร้างความยั่งยืนให้กับการเติบใหญ่ของพวกเขา ด้วยแนวทางธุรกิจสีเขียว โดยไม่มองเพียงความสำเร็จทางธุรกิจ แต่คำนึงถึง “สังคม” ไปพร้อมกันด้วย
“พรเลิศ ลัธธนันท์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจเนอรัล อีเลคทริค ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว บอกว่า จีอีทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสภาวะแวดล้อมมาโดยตลอด สิ่งที่อยู่ในความคิดของพวกเขาคือ ทำอย่างไรที่จะพัฒนาเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ ไม่เพียงตอบสนองความต้องการของลูกค้า หากยังรวมถึงสามารถลดมลภาวะ ลดการใช้ทรัพยากร และพลังงาน พร้อมกระตุ้นการเติบโตทางธุรกิจให้จีอีไปพร้อมกัน
ในปี 2003 จีอี เริ่มมาบุกเทคโนโลยีสีเขียวอย่างจริงๆ จัง โดยเชื่อว่านี่คือ “อนาคต” ของพวกเขา ขณะเดียวกันก็เป็นทางออกให้กับสังคม จึงเริ่มกำหนดเป็นกรอบกติกา ทั้งทำกับตัวเอง ทำกับคู่ค้า และทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับพวกเขา
“เราลงทุนเพิ่มในเรื่องของกรีนเทคโนโลยี จากตอนเริ่มต้นจีอีลงทุนปีละประมาณ 21,000 ล้านบาท ในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสภาวะแวดล้อม จากนั้นก็เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว และในปี 2015 เราก็ตั้งเป้าที่จะใช้เงินถึงหมื่นล้านเหรียญ หรือประมาณสามแสนล้านบาท ไปกับเรื่องของกรีนเทคโนโลยี”
ที่มาของการพัฒนาผลิตภัณฑ์รักษ์โลกที่หลากหลาย เข้าไปแก้ปัญหาให้กับภาคส่วนต่างๆ อย่างบ้านประหยัดพลังงาน เครื่องยนต์ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  ระบบหมุนเวียนน้ำนำกลับมาใช้ใหม่ พลังงานทางเลือก
ในเวลาเดียวกันก็ปรับเปลี่ยนการปฏิบัติงานของพวกเขา ให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานในธุรกิจ และลดการใช้น้ำ เสริมประสิทธิภาพการนำน้ำมาใช้ซ้ำ เหล่านี้ไปพร้อมกันด้วย
“ในแง่ของธุรกิจที่บอกว่าเราจะทำประโยชน์ให้กับสังคม แน่นอนว่าเราคงไม่ได้ทำหน้าที่เหมือนองค์กรของรัฐ หรือ เอ็นจีโอ แต่ จีอี เน้นชัดว่าเราเป็นองค์กรธุรกิจ เราทำธุรกิจ ทำผลิตภัณฑ์ และให้บริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นี่คือสิ่งที่เราเชื่อมั่นและยึดถือมาโดยตลอด”
วิธีคิดของเจ้าคอนเซปต์ “Ecomagination” อย่าง จีอี ไม่ได้ห่างไกลจากมุมคิดดีๆ ของ ยักษ์ใหญ่คอนซูเมอร์โปรดักส์อย่าง “ยูนิลีเวอร์”
“พงษ์ทิพย์ เทศะภู” ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์และการสื่อสาร บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด ชี้ให้เห็นภาพของผลิตภัณฑ์ยูนิลิเวอร์จำนวนมหาศาล ที่คนไทยและคนอีกกว่า 2,000 ล้านคนทั่วโลกใช้อยู่ในทุกๆ วัน
สิ่งที่พวกเขาสร้างขึ้นไม่ได้ให้แค่ความสะดวกสบายแก่ผู้คน หากยังมีส่วนสร้างผลกระทบให้กับโลก ตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงมือผู้บริโภค
กลายเป็นที่มาของการปฏิรูปแผนธุรกิจใหม่ ที่พวกเขาเรียกว่า “แผนการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนของยูนิลีเวอร์” ซึ่งประกาศใช้ไปทั่วโลก เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา
“ในแผนนี้คือเราจะขยายธุรกิจให้โตเป็นสองเท่า ภายใน 5-6 ปี ข้างหน้า แต่โจทย์ที่มากกว่านั้น คือต้องลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมลงให้ได้ครึ่งหนึ่ง ขณะเดียวกันยังต้องยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนทั่วโลกให้ดีขึ้นด้วย”
เพราะคนในสังคม คือผู้ใช้สินค้า คุณภาพที่ดีขึ้นของคนเหล่านี้ ก็คืออนาคตของธุรกิจ “ยูนิลีเวอร์” ตามวิธีคิด“สังคมอยู่ได้ ธุรกิจอยู่ได้”วิธีคิดใหม่ของ “ยูนิลีเวอร์” จึงให้ความสำคัญตั้งแต่ที่มาของแหล่งวัตถุดิบ โดยเลือกแหล่งลิตที่ยั่งยืน ไม่ใช้สารเคมีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้เมื่อเข้าสู่โรงงานผลิต ก็จะควบคุมกระบวนการผลิตให้ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและลดการใช้พลังงาน มีการทำเรื่องพลังงานหมุนเวียน พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำยาปรับผ้านุ่มซึ่งลดการใช้น้ำลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ การออกแบบขวดผลิตภัณฑ์ให้สามารถใช้ได้จนหยดสุดท้ายไม่ใช่แค่คุ้ม แต่ยังต้องการให้เกิดกระบวนการใช้ซ้ำ หรือรีไซเคิล รณรงค์การใช้ผลิตภัณฑ์รีฟิล ออกแบบแพคเก็จจิ้งที่ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
“เรานำเรื่องพวกนี้มาคิดตลอดเวลา ทุกคนมีโจทย์ เราไม่ปล่อยให้เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของโรงงานเท่านั้น แต่ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็น ไอที การตลาด ฝ่ายผลิต ทุกๆ คนช่วยกันทำ แล้วสื่อสารไปยังสังคม”
ขณะที่ขยะมหาศาลจาก “ยูนิลิเวอร์” และทุกธุรกิจ คือ “ขุมทรัพย์” สำหรับ ดร.สมไทย วงษ์เจริญ ประธานกรรมการ โรงงานคัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิล วงษ์พาณิชย์ คนที่เชื่อว่า “จริงๆ ไม่มีขยะบนโลกใบนี้ มันเป็นเพียงทรัพยากรที่วางไว้ผิดที่เท่านั้น"เพราะไม่ว่าจะเป็นกระดาษหนังสือพิมพ์ ขวด อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ ของชิ้นเล็กชิ้นใหญ่ ที่หลายคนขยะแขยง แต่นี่คือ เส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงชีวิตพนักงานวงษ์พาณิชย์ กว่า 14,000 คน มาตลอด 37 ปีที่ผ่านมา และทำให้ธุรกิจสัญชาติไทยไปปักธงรบไกลถึงในอเมริกา“คนอเมริกันทิ้งขยะต้องเสียเงินเดือนละ 150 เหรียญสหรัฐ แต่พอเราไปเปิดบริการ เขารื้อตึก รื้อบ้าน ก็เอามาให้เราหมด สำหรับผมตลาดสีเขียว เป็นตลาดที่ใหญ่มากจริงๆ จนเรียกได้ว่าเป็น บลูโอเชียน”
วิธีคิดเติบใหญ่ในตลาดสีเขียว เจ้าพ่อรีไซเคิล บอกเราว่า เริ่มต้นจาก “ใจ” สำคัญที่สุด
“ต้องเริ่มต้นจากใจเราก่อน ใจของผู้บริหารต้องทำให้มันเป็นสีเขียวให้ได้ ต้องบริสุทธิ์ใจอย่างแท้จริง ทำด้วยความจริงใจ มุ่งมั่นที่จะรับผิดชอบในเรื่องนี้อย่างจริงๆ จังๆ จากนั้นก็บอกพนักงานของเรา กระจายออกไปถึงคนที่รู้จักเรา ตลอดจนสังคมไทย และสังคมโลก”
แนวคิดเรื่องกรีน เข้าไปมีส่วนร่วมในทุกธุรกิจ กระทั่งธุรกิจการจัดประชุมและนิทรรศการ ที่ “อรรคพล สรสุชาติ” ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) บอกว่า การจัดงานประชุมและนิทรรศการจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องกรีนมากขึ้น เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และลดความฟุ่มเฟือยลง อย่างดอกไม้ กระดาษ ของตกแต่งที่ไม่จำเป็น ก็ตัดออกไปบ้างเพื่อ “เซฟเงิน และเซฟโลก”
ขณะที่ จักรพันธ์ อริยะวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซูพรีม รีนิวเอเบิล เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ก็ยังคงเดินหน้า นำของเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตพลังงานงานไฟฟ้า เพื่อสร้างความมั่นคงให้ประเทศ และสร้างรายได้ให้เกษตรกรในเวลาเดียวกัน

เท่านี้ก็พอยืนยันได้ ว่าถ้าเพียงมีใจมุ่งมั่น ไม่ว่าจะกิจการไหน ก็มุ่งสู่วิถี “Green” ได้

แหล่งที่มาhttp://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/bizweek/20110908/407110/%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88!!-%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%96%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87-Green.html

ส.อ.หญิง ณัฐธยาน์ ขอส่งงาน บทที่ 9 - 11


บทที่ 9
 การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
องค์การต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง (Change) จากสภาพแวดล้อมที่เป็นผลมาจากกระแสโลกาภิวัฒน์ Globalization) ซึ่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี การค้าระหว่างประเทศ และสภาพแวดล้อมในการแข่งขัน ดังนั้นในปัจจุบันองค์การต้องเปลี่ยนแปลงให้ทันกับการพลวัต (Dynamic) ของสภาพแวดล้อม มิเช่นนั้นองค์การจะไม่สามารถดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ ซึ่งหากนักบริหารสามารถปรับองค์การให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยอาศัยความรู้ความสามารถและความชำนาญก็จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ในการสร้างประสิทธิภาพ และการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันได้เกิดกระแสแนวคิดในด้านการบริหารจัดการสมัยใหม่ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการในองค์การยุคใหม่ทั้งในส่วนขององค์การภาครัฐ และภาคเอกชนอย่างหลากหลาย อาทิ Learning Organization,Benchmarking,Balanced Scorecard,Total Quality Management ฯลฯ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวถือเป็นนวัตกรรมการบริหารจัดการขององค์การยุคใหม่ยังไม่สามารถเป็นเครื่องมือให้กับนักบริหารในการส่งเสริมศักยภาพของตนและองค์การได้เท่าที่ควร สืบเนื่องมาจากไม่ได้มีการจัดระบบข้อมูล และการเผยแพร่องค์ความรู้การบริหารจัดการสมัยใหม่ในการนำไปประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบและเหมาะสมดังนั้นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นการปฏิบัติการเชิงรุก รวดเร็ว ฉับไว สนองต่อการพัฒนาด้านต่าง ๆ เช่น ด้านภาครัฐ (e-Government) การศึกษา (e-Education) สังคม (e-Society) อุตสาหกรรม (e-Industry) และด้านพาณิชย์ (e-Commerce) สภาพปัญหาและความจำเป็นของแนวทางการบริหารการจัดการของหน่วยงานโดยพิจารณาจากวิกฤตที่เกิดขึ้น สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงปัจจุบันและแนวโน้มกระแสโลกในอนาคต จึงกำหนดยุทธศาสตร์ที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืน ระดับคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ให้อยู่ดี มีสุข ควบคู่กับการพัฒนามุ่งสู่คุณภาพในทุกด้าน พัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดีในทุกระดับ โดยอาศัยพลังการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมไทย บังเกิดผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ผลสัมฤทธิ์ (Results Based Management - RBM) มีจุดเน้นที่สำคัญคือ การกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานเป็นหลัก สามารถนำหลักการและทฤษฎีมาใช้ในหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วงงานทางการศึกษา ในองค์การที่มีโครงสร้างซับซ้อน มีการโยงใยบทบาทหรือตำแหน่งแต่ละตำแหน่งของบุคลากร หรือเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานนั้น ๆ บุคลากรเหล่านั้นต้องแสดงบทบาทให้สอดคล้องกับคำอธิบายของตำแหน่ง เมื่อพ้นตำแหน่งไปแล้ว คนที่มาครองตำแหน่งใหม่ ก็จะแสดงบทบาทนั้นเหมือนเดิม สอดคล้องกับทฤษฎีองค์การแบบดั้งเดิม กลุ่มการจัดการแบบการบริหาร Administrative Management Theory) จะมุ่งเน้นให้ความสำคัญในระดับมหภาคทั้งองค์การ สร้างหลักเกณฑ์และการปรับปรุงวิธีการทำงานของฝ่ายบริหาร ส่วนมากนิยมที่จะนำแนวคิดของกูลิค (Gulick) ที่ได้ขยายแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการบริหารของฟาโยล(Henri Fayol) คือ OSCAR จาก 4 ประการ แบ่งออกเป็น 7 ประการ ที่นิยมเรียกว่า "POSDCORB" ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ การบริหารงาน บุคลากร การสั่งการ การประสานงาน การรายงาน และการจัดสรรงบประมาณ โดยเน้นความสำคัญของระบบโครงสร้างองค์การตั้งแต่ระดับเบื้องบนสู่เบื้องล่าง ใช้หลักการทำงานประสานกันเป็นระบบ สอดคล้องกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เป็นหลักในการกำหนดกรอบทฤษฎี
บทที่ 10
การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
ความได้เปรียบทางการแข่งขัน เป็นสุดยอดปรารถนาของทุกกิจการที่ต้องดำเนินงานท่ามกลางความผันแปรที่ เปลี่ยนแปลง ซึ่งทุกธุรกิจย่อมจะทำทุกวิถีทางที่จะเฟ้นหากลยุทธ์ที่เฉียบคมที่สุด เพื่อนำมาสู่การสร้างความได้เปรียบดังกล่าวเหนือคู่แข่ง แต่อย่างไรก็ตาม การได้มาซึ่งความได้เปรียบที่เหนือชั้นนั้น ยังไม่ยากลำบากเท่ากับรักษามันเอาไว้ บ่อยครั้งที่หลายท่านคงเห็นบริษัทที่ครั้งหนึ่งเคยเกรียงไกรอย่างมาก แต่ก็ต้องประสบกับปัญหาและสภาวะถดถอยลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งบางแห่งถึงกับล้มไปโดยที่ไม่สามารถฟื้นตัวกลับมายืนอยู่จุดเดิมได้อีกเลย จึงเริ่มมีการพยายามวิเคราะห์หาแนวคิดกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่นอกจากจะนำไปสู่ความได้เปรียบแล้ว ยังต้องสามารถทำนุบำรุงให้คงอยู่ในระยะยาวอย่างต่อเนื่องได้อีกด้วย เนื่องจากไม่มีคู่แข่งรายใดที่จะยอมอยู่เฉย มองดูธุรกิจของเราเติบโตต่อไปได้อย่างราบรื่น หากกิจการของเราประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ก็ต้องมีผู้ที่พยายามจะเข้ามาร่วมต่อสู้แย่งชิงผลประโยชน์จากความสำเร็จนั้น ด้วย ไม่ช้าก็เร็ว ดังนั้น จึงมีเทคนิคบางประการมานำเสนอ เพื่อนำสู่ความได้เปรียบในการดำเนินงานที่คงทนถาวรมากขึ้น 
         ประการแรก คือ กล้าเสี่ยงกับการสร้างสรรค์ โดยกิจการควรสนับสนุนการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ และทดลองที่จะนำแนวคิดที่แตกต่างลงสู่การปฏิบัติ แม้ว่าบ่อยครั้งความคิดนั้น ๆ จะดูแปลกแหวกแนว จนอาจจะถูกคนอื่นๆหัวเราะเยาะและเย้ยหยันว่าเป็นไปไม่ได้ก็ตาม
         เจฟ เบซอส ผู้ก่อตั้ง อเมซอนดอทคอม อันลือลั่น ก็กล่าวยืนยันว่า "การที่จะคิดค้นสิ่งใหม่ๆนั้น มักจะทำให้เราถูกมองว่าเป็นตัวประหลาดในสายตาของคนรอบข้างเสมอ" แต่หากกิจการไม่เสี่ยงที่จะทดลองเลยนั้น ก็ไม่สามารถจะลิ้มรสของความเป็นผู้นำที่แตกต่างได้เลย โดยเครื่องไม้เครื่องมือหลายอย่างที่อเมซอนคิดค้นขึ้น เพื่อนำมาสู่การให้บริการค้าปลีกออนไลน์ต่อลูกค้าอย่างล้ำสมัย ไม่ว่าจะเป็นระบบแนะนำสินค้าแบบตัวต่อตัว ระบบเว็ปเพจส่วนบุคคล ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เคยถูกมองว่าเป็นไปไม่ได้ทั้งสิ้น หรือแม้แต่ คีออสเพลงดิจิตอลของสตาร์บัค หรือ ระบบค้นหาข้อมูลระดับโลกของกูเกิล ก็ผ่านการวิพากษ์วิจารณ์กันมาอย่างหนาหูทั้งสิ้น แต่สิ่งต่าง ๆ ก็ได้นำมาความสำเร็จที่แตกต่างมาสู่กิจการอย่างต่อเนื่องเช่นกัน    ซึ่งการที่กล้าเสี่ยงกับการสร้างสรรค์นี้ ไม่ควรแต่จะมุ่งเน้นในการพิจารณาเฉพาะการเคลื่อนไหวของคู่แข่งโดยตรงใน ปัจจุบันเท่านั้นนะครับ เพราะจะทำให้เป็นการสร้าง "กรอบ" ในแนวความคิดของกิจการเอง อาจส่งผลให้ไม่สามารถคิดออกไปนอกกรอบหรือแนวทางที่ต่างไปจากที่อุตสาหกรรม และการแข่งขันปัจจุบันเป็นอยู่ก็ได้ จึงยากที่จะแตกต่างอย่างแท้จริง ดังนั้นจึงไม่ควรเพียงแต่ "look around" เท่านั้น แต่ควรจะ "look ahead" มองออกไปข้างหน้าโดยไม่ยึดติดกับสิ่งที่เคยเห็นหรือเคยดำเนินการอยู่
         เทคนิคประการที่สอง คือ อย่าลุ่มหลงกับการเพิ่มขนาดเท่านั้น ควรเน้นที่การสร้างความเป็นเอกลักษณ์มากกว่า หลายธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ มักจะคิดว่าการเติบโตหรือขนาดที่ใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น ถือเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ จึงมีความพยายามที่จะเพิ่มขนาดอย่างต่อเนื่อง   แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความได้เปรียบทางการแข่งขัน มิได้ขึ้นอยู่กับขนาดแต่เพียงอย่างเดียว ยิ่งขนาดใหญ่ขึ้น แต่หากทุกอย่างกลับขาดความโดดเด่น จะยิ่งทำให้เป็นภาระทางการดำเนินงานเสียเปล่า ดังนั้น การมุ่งเน้นที่เอกลักษณ์เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะด้านที่พิเศษแตกต่าง จริง ๆ จึงเป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดความมั่นคงในการแข่งขันมากกว่า  วอลล์-มาร์ท ห้างค้าปลีกที่ใหญ่สุดในโลก ก็เริ่มที่จะทำนุบำรุงความได้เปรียบทางการแข่งขันของตน โดยมิได้พึ่งพาเรื่องของขนาดเท่านั้น แต่มุ่งเน้นให้วอลล์-มาร์ทกลายเป็นธุรกิจบริการที่ใส่ใจและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงจะเป็นตัวกลางในการนำเสนอแต่ผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมสุขภาพ และไม่ทำลายสภาพแวดล้อม เพื่อให้เหมาะสมกับแนวโน้มความต้องการของสังคม โดยสินค้าที่นำมาจำหน่ายในร้านจะต้องสามารถติดตามกลับไปยังต้นแหล่งได้เสมอ เพื่อยืนยันถึงความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อโลกอย่างจริงจัง ซึ่งถือเป็นจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์จากค้าปลีกรายอื่น ๆ
         เทคนิคประการที่สาม คือ อย่าดึงดันกับการแข่งขันแต่เพียงอย่างเดียว ควรหาตลาดใหม่เพื่อฉกฉวยโอกาสในการเติบโตด้วย โดยแนวคิดนี้เน้นว่าควรใส่ใจในการสร้างสรรค์โอกาสทางการตลาดใหม่ๆอยู่ตลอด เวลา แทนที่จะดำเนินงานอยู่ในตลาดที่มีการแข่งขันรุนแรงแต่เพียงอย่างเดียว เพราะอาจจะเพลี่ยงพล้ำได้ง่าย และผลตอบแทนก็ไม่คุ้มค่า
         เทคนิคที่สี่ คือ โฟกัสที่ลูกค้า มิใช่คู่แข่งขัน ซึ่งอาจจะทำให้เห็นการพัฒนาโอกาสทางธุรกิจที่อยู่ในความต้องการของตลาดได้ อย่างมาก เช่น บริษัท Caterpillar ที่มีผลิตภัณฑ์ด้านเครื่องจักรหนักอันลือชื่อ โดยเน้นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างถึงที่สุด จนเกิดความเป็นเลิศด้านบริการ ซึ่งบริษัทสัญญาว่า ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่ที่ใดในโลกนี้ ก็สามารถที่จะส่งชิ้นส่วนไปให้บริการได้ภายใน 24 ชั่วโมง   ซึ่งถือเป็นจุดขายที่เป็นเอกลักษณ์ จนกระทั่งหลายคนมองว่า Caterpillar ขายบริการด้วยซ้ำ และท้ายที่สุด จากการที่กิจการมีการพัฒนาเครือข่ายการขนส่งทั่วโลก ทำให้มีทักษะและเทคโนโลยีสูงมากพอที่จะเข้าแข่งขันในธุรกิจให้บริการทางด้านลอจิสติกส์เพิ่มเติม ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นธุรกิจหลักที่เติบโตสูงสุดของบริษัท และทำรายได้มหาศาลกลับคืนมาทีเดียว  นอกจากนี้ กิจการยังควรมีการสร้างเครือข่ายสนับสนุนการแลกเปลี่ยนไอเดียและข้อมูล ระหว่างบริษัท เพื่อเป็นการจุดประกายการสร้างสรรค์ รวมถึงควรต้องกระตุ้นให้บุคลากรของเรากระหายในความสำเร็จและพัฒนาอย่างต่อ เนื่องตลอดเวลา จึงจะสามารถวิ่งหนีและกระโดดข้ามคู่แข่งได้ต่อไปในอนาคต

http://www.ezyjob.com/บทความ/การตลาด
บทที่ 11
การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต

ในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจสีเขียว สิ่งที่จำเป็นคือการลงทุนใหม่ๆ การสร้างทักษะใหม่ๆ และการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการนี้ สมาชิกผู้เข้าร่วมจึงยินยอมที่จะมอบแหล่งเงินทุนให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาและให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนเครื่องมือทางการเงิน ลดเงินช่วยเหลือที่สร้างผลเสียต่อสภาพแวดล้อมและไม่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน สนับสนุนการวิจัยร่วมกันระหว่างประเทศเกี่ยวกับเทคโนโลยีสีเขียวที่เกี่ยวข้องกับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ในราคาที่เหมาะสม และสนับสนุนองค์กรทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ของประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรท้องถิ่นได้พัฒนาเทคโนโลยีสีเขียวแบบท้องถิ่น
1. ความมั่นคงทางอาหาร
เรียกร้องให้ทุกประเทศหันมาให้ความสำคัญกับปริมาณการผลิตอาหารที่ยั่งยืนโดยเพิ่มการลงทุนให้กับผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่น ขยายตลาดอาหารที่ได้จากการเกษตร และลดของเสียในห่วงโซ่อุปทาน โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษกับผู้หญิง เกษตรกรรายย่อย เยาวชน เกษตรกรพื้นเมือง สร้างความมั่นใจในโภชนาการที่เหมาะสม ผ่านกระบวนการค้าขายที่โปร่งใสและเปิดกว้างมากขึ้น พร้อมแนวทางที่จะนำไปสู่ความมีเสถียรภาพมากขึ้นของราคาอาหารและตลาดในประเทศ นอกจากนี้ยังสนับสนุนการริเริ่มในทุกๆระดับที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเข้าถึงข้อมูล เพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรและผู้เชี่ยวชาญผ่านบริการการศึกษาและการใช้เทคโนโลยี
2. น้ำ
เน้นความสำคัญของการมีน้ำดื่มที่สะอาดและปลอดภัยเพื่อสุขอนามัยในฐานะหนึ่งในสิทธิมนุษยชนที่จำเป็นสำหรับการมีชีวิตที่ดี จำเป็นต้องวางเป้าหมายให้กับการจัดการน้ำเสีย รวมไปถึงการลดปริมาณน้ำเสียจากครัวเรือน โรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งกสิกรรม และสนับสนุนให้มีการบำบัดน้ำเสียโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตชานเมือง


3. พลังงาน
จะริเริ่มสร้างแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน โดยมีเป้าหมายในการนำเสนอการเข้าถึงบริการพลังงานพื้นฐานในระดับขั้นต่ำสำหรับทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคในปี ค.ศ.2030 ดังนั้นจึงต้องขอให้มีการจัดหาทรัพยากรทางการเงินที่เพียงพอและมีคุณภาพสำหรับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อทำให้การใช้แหล่งพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและกว้างขวางขึ้น และแต่ละประเทศควรหันมาพัฒนานวัตกรรมคาร์บอนต่ำมากขึ้น


4. เมือง
ส่งเสริมแนวทางบูรณาการและแบบองค์รวมเพื่อการวางแผนและการสร้างเมืองอย่างยั่งยืนด้วยการให้การสนับสนุนแก่ฝ่ายปกครองท้องถิ่น เครือข่ายการสื่อสารและคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ ระบบการส่งมอบบริการที่ดีขึ้น อากาศและคุณภาพน้ำที่ดีขึ้น ลดปริมาณของเสีย ขยายการเฝ้าระวังภัยธรรมชาติและตอบสนองความเปลี่ยนแปลงในสภาพอากาศที่แปรปรวน
5. งานสีเขียวและการใหทุกคนในสังคมมีสวนรวม
การพัฒนาขีดความสามารถของมนุษย์เป็นสิ่งจำเป็นในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีฐานกว้าง อันจะช่วยสร้างชุมชนที่แข็งแกร่งและยั่งยืนและพัฒนาสภาพแวดล้อม คนงานจึงต้องมีทักษะและได้รับการคุ้มครองที่จำเป็นเพื่อที่พวกเขาจะได้มีส่วนร่วมและได้ประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจสีเขียวซึ่งมีศักยภาพในการสร้างตำแหน่งงานดีๆ อีกมาก โดยเฉพาะกับเยาวชนดังนั้นภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมจึงควรสนับสนุนการสร้างงานสีเขียวเช่นการลงทุนในงานสาธารณะเพื่อการฟื้นฟูและขยายทุนธรรมชาติมีปฏิบัติการจัดการน้ำและที่ดิน การเพาะปลูกในครัวเรือน การเพาะปลูกตามระบบนิเวศ การจัดการผืนป่า การใช้ความหลากหลายทางชีวภาพด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ ฯลฯ จำเป็นต้องขยายการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนและให้ความรู้เกี่ยวกับงานสีเขียวรวมทั้งเพิ่มความคุ้มครองทางสังคมแก่สมาชิกทุกคนในสังคมรวมถึงแรงงานนอกระบบด้วย
6. มหาสมุทรและทะเล
ให้ความสำคัญกับการรักษาและจัดการแหล่งมหาสมุทรและทะเลอันเป็นส่วนสำคัญในการรักษาระบบนิเวศของโลก และร่วมดูแลแนวปะการังไปจนถึงหมู่เกาะและรัฐชายฝังทะเล สนับสนุนการร่วมมือกันตามแนวทางของCoral Triangle initiative (CTi) และ the international Coral Reefinitiative(iCRi) สำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก (SiDS)ยังคงจัดเป็นกรณีที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษเนื่องจากได้รับผลกระทบสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภัยธรรมชาติ 

7. ภัยธรรมชาติ
แนวทางการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติจะยังคงความสำคัญในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืนและถูกรวมอยู่ในวาระการพัฒนาหลังปีค.ศ.2015 แต่ประเทศสมาชิกต้องเร่งประสานงานระดับชาติ ภูมิภาคและระดับสากล เพื่อพัฒนาการพยากรณ์อากาศและระบบการเตือนภัยล่วงหน้าให้ดีขึ้น
8. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ประเทศที่พัฒนาแล้วยังคงมีช่องโหว่เรื่องการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและกำลังเผชิญผลเชิงลบมากขึ้นเรื่อยๆ อันจะเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงทางอาหารและความพยายามในการขจัดความยากจน อีกทั้งคุกคามการดำรงอยู่ของประเทศหมู่เกาะเล็กๆ ที่ประชุม Rio+20 จะส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ ร่วมมือกันจัดการกับปัญหาที่เชื่อมโยงกันระหว่างน้ำ พลังงาน อาหาร และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


9. ปาและความหลากหลายทางชีวภาพ
สนับสนุนการชะลอและยับยั้งการทำลายผืนป่า และส่งเสริมให้มีการจัดการผืนป่าในแง่ของการรักษาและฟื้นฟู ปฏิบัติการเร่งด่วนนี้เรียกว่า “NonLegally Binding instrument on all Types of Forests  (NLBi)” ผ่านพิธีสารนาโงยา ซึ่งจะถูกนำมาใช้ในการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยจับกระแส Rio+20ความหลากหลายทางชีวภาพครั้งที่ 10 ทั้งยังต้องกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในทุนธรรมชาติ ผ่านเครื่องมือกระตุ้นและนโยบายที่เหมาะสม
10. ความเสื่อมโทรมของดิน และการกลายเปนทะเลทราย
เนื่องจากผืนดินเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเจริญเติบโต ความมั่นคงทางอาหาร และการขจัดความยากจน การที่พื้นที่เพาะปลูกในแอฟริกากลายเป็นทะเลทรายนั้นเป็นปัญหาร้ายแรงสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนในพื้นที่แถบนั้นดังนั้นประชาคมโลกจึงต้องมีส่วนร่วมมากขึ้นในการดำเนินงานตามอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อรับมือกับการกลายเป็นทะเลทราย (United NationsConvention to Combat Desertification: UNCCD) และสนับสนุนการร่วมมือกันและการริเริ่มโครงการพิทักษ์รักษาทรัพยากรดิน เช่น โครงการแนวร่วมดินโลก (Global Soil Partnership: GSP) ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่พุ่งเป้าไปที่การทำให้คนตระหนักถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากนโยบายจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน
11. ภูเขา
ภูเขามีความเสี่ยงสูงที่จะประสบปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งยังเป็นที่พำนักพักพิงของชนเผ่าท้องถิ่นจำนวนมากที่ใช้ทรัพยากรอย่างพอเพียง แต่ถูกมองข้าม และยังมีปัญหาความยากจนและเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติและภาวะขาดแคลนอาหาร ดังนั้นเราจึงต้องทำการสำรวจกลไกระดับโลก ระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับท้องถิ่นให้มากขึ้นเพื่อเป็นการชดเชยและตอบแทนชุมชนที่อาศัยในภูเขา สำหรับสิ่งที่พวกเขาทำมาตลอดเพื่อปกป้องระบบนิเวศ
12. สารเคมีและของเสีย
โครงการกลยุทธ์การจัดการสารเคมีระดับประเทศ (SAiCM) ต้องริเริ่มหาวิธีการจัดการกับสารเคมีและของเสียตลอดวงจรชีวิตของมันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในระดับสากล การให้ทุนสำรองที่ยั่งยืนและเพียงพอนั้นสำคัญต่อการช่วยพัฒนาประเทศที่มีการจัดการสารเคมีและของเสียที่ปลอดภัย ดังนั้นการปฏิบัติงานภายใต้อนุสัญญาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่  Basel Convention, Rotterdam Convention และ Stockholm Convention จึงควรประสานงานกันมากขึ้นเพื่อจัดการกับมลพิษอินทรีย์และมีการร่วมมือกันระหว่างทั้งภาครัฐและภาคเอกชนโดยมุ่งเป้าไปที่การเพิ่มศักยภาพและเทคโนโลยีของการจัดการของเสียในสิ่งแวดล้อม รวมทั้งปัญหาของเสียอิเล็กทรอนิกส์และพลาสติกในแหล่งน้ำ
13. การผลิตและการบริโภคที่ยังยืน
จัดทำแผนงานระยะ 10 ปีว่าด้วยการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงระดับโลกเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน




14. การศึกษา
ทุกคนต้องสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ซึ่งจะทำได้โดยการเพิ่มการเตรียมความพร้อมของครูและให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ รวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษาระดับสากล อาทิ ให้ทุนการศึกษาในระดับนานาชาติเพื่อเผยแพร่แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยให้นักเรียนรู้จักคุณค่า หลักการสำคัญ และแนวทางที่หลากหลายอันจำเป็นต่อวิถีการพัฒนานี้
15. ความเทาเทียมทางเพศ
ความไม่เสมอภาคในสังคมและเศรษฐกิจที่มีอยู่มายาวนานนั้นส่งผลต่อผู้หญิงและเด็กซึ่งเป็นคนกลุ่มหลักในบรรดาคนจนทั้งหมดในโลก ดังนั้นเราต้องทำให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่กับเศรษฐกิจ เสริมศักยภาพของผู้หญิงในฐานะผู้ขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน เราต้องให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมทางเพศในทุกมิติของสังคม อันรวมไปถึงการศึกษา การจ้างงาน การเป็นเจ้าของทรัพยากร การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม การเมือง การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจระดับองค์กร ฯลฯ
16. การเรงและการวัดความคืบหนา
เป้าประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย และหลักการประเมินมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวัดและการเร่งความคืบหน้าในกระบวนการนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนดังนั้นจึงต้องมีการออกกฎหรือแนวทางในการประเมินผล ที่สะท้อนให้เห็นการจัดการกับประเด็นเสาหลักทั้งสาม (เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม) ได้อย่างสมดุลและสอดคล้องกับหลักการของ  Agenda 21 ทั้งยังมีความเป็นสากลและสามารถนำไปประยุกต์ได้กับทุกประเทศ แต่ยังเปิดกว้างสำหรับความแตกต่างในแนวทางแก้ปัญหาในแต่ละประเทศ โดยคาดการณ์ว่าเป้าประสงค์เหล่านี้จะบรรลุผลได้ภายในปี ค.ศ.2030 นอกจากนี้ยังต้องพัฒนาการจัดทำตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่รวมมิติทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมในลักษณะที่สมดุล และขอให้เลขาธิการเป็นผู้ริเริ่มขั้นตอนทั้งหมดจากการปรึกษาหารือกับสมาชิกสหประชาชาติและองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

แหล่งที่มา   หนังสือ แนวคิดและความเคลื่อนไหวเรื่องเศรษฐกิจสีเขียว  ของ สฤณี อาชวานันทกุล

น.ส.กันตินันท์ บุญลิลา รหัส 235 รุ่น 19


 ( ขอเพิ่มเติมค่ะ)
บทที่ 11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต

2-3 ปีมานี้ เราได้เห็นและได้ยินคำว่า “องค์กรสีขาว” หรือ “โรงเรียนสีขาว” กันหนาตาหนาหู ซึ่งทุกท่านคงทราบถึงนัยสำคัญของคำว่า “สีขาว” ดี นั่นก็คือ ปราศจากยาเสพติดนั่นเอง สีขาวเป็นสีของความพิสุทธิ์จึงถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของความผุดผ่องไม่มัวหมองด้วยสารเสพติดทั้งหลายทั้งปวง


แต่คำว่า “องค์กรสีเขียว” “ธุรกิจสีเขียว” (Green Business) หรือ “โรงเรียนสีเขียว” นี้ คงไม่ค่อยได้ยินบ่อยสักเท่าไร แต่เราจะได้ยินคำว่า “พื้นที่สีเขียว” มากกว่า โดยหมายถึงพื้นที่ที่เขียวชอุ่มด้วยพันธุ์ไม้ แต่คำว่าองค์กรสีเขียวหรือธุรกิจสีเขียวนี้ มีความหมายอย่างอื่นค่ะ และแน่นอน! ไม่ได้หมายความว่าองค์กรนั้นๆ ทำธุรกิจขายสีซึ่งเป็นสีเขียว หรือทำธุรกิจขายต้นไม้พันธุ์ไม้
ความหมายของ ‘Green Business’
“ธุรกิจสีเขียว” หมายถึง องค์กรที่ประกอบธุรกรรมโดยมีปณิธานในการทำงานที่มุ่งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติทั้งหลายของโลกมนุษย์ อาทิ อากาศ ต้นน้ำ ลำธาร ป่าไม้ สัตว์ป่า พืชพันธุ์ธัญญาหาร แมลง ฯลฯ มีชีวิตอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศวิทยาที่ดีที่สุดและอย่างยั่งยืนที่สุด
การดำเนินธุรกิจหรือแม้กระทั่งการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา ล้วนมีผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมไม่มากก็น้อยอยู่ทุกนาที แค่อยู่กับบ้านทำอาหาร อาบน้ำแต่งตัว เข้านอน ฯลฯ ก็ล้วนสามารถสร้างมลพิษให้สิ่งแวดล้อมได้ตลอดเวลา
ลองคิดดูง่ายๆ ก็ได้นะคะ เช่น ทอดไข่เจียวรับประทานกับข้าว เวลาล้างกระทะที่มีน้ำมันติดอยู่ คราบน้ำมันก็จะไหลผ่านท่อน้ำในอ่างส่งตรงไปยังท่อระบายน้ำรวมทันที โดยไม่มีระบบกรองหรือกักคราบน้ำมันใดๆ ทั้งสิ้น นี่ยังไม่คิดถึงน้ำยาล้างจานที่เป็นสารเคมีอีกนะคะ เวลาอาบน้ำแต่งตัวล่ะ? คราบสบู่ แชมพูสระผม สเปรย์ผม ก็ล้วนสร้างมลพิษให้น้ำและอากาศทั้งสิ้น เวลานอนรึ? อากาศร้อนก็ต้องเปิดแอร์ ซึ่งทำให้บรรยากาศของโลกร้อนขึ้นทุกวันเช่นกัน ทำยังไงได้? ก็มันร้อนนี่นา
เมื่อใช้ก็ต้องทดแทน เมื่อรับเอาก็ต้องรู้จักให้คืน
เราคงต้องยอมรับความจริงว่าการใช้ชีวิตที่เกิดมาเป็นมนุษย์นี้ ต้องใช้ทรัพยากรและทำลายทรัพยากรมากพอสมควร ทั้งนี้ การประกอบธุรกิจบางอย่างก็มีผลในทางทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยตรง เช่น ธุรกิจค้าไม้ ขุดเจาะน้ำมัน เป็นต้น ส่วนที่ทำลายสิ่งแวดล้อมทางอ้อมนั้น คงไม่จำเป็นต้องยกตัวอย่างแล้วนะคะ
อย่างไรก็ตาม การเป็นองค์กรสีเขียวไม่ได้หมายความว่ากระดุกกระดิกทำอะไรไม่ได้เลย ห้ามใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยเด็ดขาด อย่างนี้มันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว แต่การเป็นหรือพยายามเป็นองค์กรสีเขียวหมายความว่า มีนโยบายและกระบวนการในการประกอบธุรกิจที่พยายามใช้ หรือทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และหากเป็นไปได้ก็ต้องพยายามสร้างขึ้นทดแทน หรือพยายามบำบัดสภาพแวดล้อมที่ถูกทำลายไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีการตัดไม้มาใช้ ก็ต้องปลูกป่าทดแทน เป็นต้น หรือถ้าของบางอย่างมันสร้างทดแทนไม่ได้เช่น ถ้าขุดน้ำมันหรือถ่านหินมาใช้แล้ว ก็คงสร้างขึ้นมาคืนสู่ธรรมชาติไม่ได้ ก็ต้องหาวิธีขุดเจาะน้ำมันหรือถ่านหินที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด รวมทั้งมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากน้ำมัน หรือถ่านหินให้ได้สูงสุด และมีกากของทรัพยากรเหลือทิ้งน้อยที่สุด
สรุปก็คือว่า การประกอบธุรกิจสีเขียวคือ การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของโลก เพราะโลกเรานี้ทุกคนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ อย่าแก้ปัญหาอย่างมักง่าย แค่ให้พ้นๆ ตัว แต่มันไม่พ้นจากโลกนี้ แล้วก็จะกลับย้อนมาหาตัวต้นตอในที่สุด หนีไม่พ้นหรอกค่ะ ยกตัวอย่าง (อีกแล้ว) เช่น การที่ประเทศอุตสาหกรรมบางประเทศ มีกากขยะนิวเคลียร์อันเป็นสารพิษมีอันตรายร้ายแรง ความที่รัฐบาลของประเทศตนเองมีกฎหมายควบคุมการกำจัดสารพิษอย่างเคร่งครัด ดังนั้น จึงได้ลักลอบขนเอากากนิวเคลียร์ใส่เรือลอยในมหาสมุทร ซึ่งถือเป็นน่านน้ำสากลไม่มีประเทศใดเป็นเจ้าของคอยตรวจตราดูแล แล้วจู่ๆ วันหนึ่งเรือลำนั้นก็ลอยไปเกยหาดของประเทศใดประเทศหนึ่ง ที่กลายเป็นแพะโดยจำใจ และก็มีหลายกรณีเช่นกัน ที่บริษัทยักษ์ใหญ่บางบริษัททำการเจรจากับรัฐบาลที่เห็นแก่เงินของประเทศด้อยพัฒนาบางประเทศ เพื่อทิ้งกากขยะ กากสารพิษต่างๆ ซึ่งนับเป็นกรรมของประชาชนตาดำๆ ของประเทศนั้นไป
ระดับ ‘ความเขียว’ ของธุรกิจ
การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ หรือไร้ค่าใช้จ่าย ในทางตรงกันข้ามมันเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายแฝงอยู่ด้วยพอสมควร (หรืออาจแพงมาก ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ) จะอาศัยเพียงจิตสำนึกความรับผิดชอบเพียงปัจจัยเดียวไม่เพียงพอ แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าไม่มีจิตสำนึกรับผิดชอบเอาเสียเลย โลกของเราคงถล่มทลายแน่จากปัญหา Global Warming (ภาวะโลกร้อน) คงกลายเป็น Global Boiling (ภาวะโลกเดือดพล่าน) เป็นแน่
องค์กรแต่ละองค์กรสามารถเลือกวางนโยบายได้ว่า ตนเองมีความต้องการและความพร้อมที่จะ “เขียว” ขนาดไหน ซึ่งปัจจัยที่นำมาพิจารณาในการเลือกระดับความเขียว (หรือระดับความรับผิดชอบต่อทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) มีดังนี้
ปัจจัยที่ 1 ระดับศีลธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบของเจ้าของบริษัทหรือ CEO
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า บุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการกำหนดระดับความรับผิดชอบขององค์กรคือ ผู้นำระดับสูงสุดนั่นเอง ดังนั้น ค่านิยมและความเชื่อส่วนตัวของผู้นำจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด อันมีผลกระทบต่อความเชื่อ ทัศนคติและพฤติกรรมของพนักงานทั้งองค์กร
ปัจจัยที่ 2 กฎหมายที่ควบคุมผู้ประกอบการ
ในแต่ละประเทศจะมีกฎข้อบังคับ ข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติต่างๆสำหรับธุรกิจแต่ละประเภทอยู่แล้ว เช่น ต้องมีการบำบัดน้ำเสียอย่างไร ต้องมีการดูแลเรื่องควันพิษอย่างไร ฯลฯ ซึ่งการปฏิบัติตามกฎหมายกำหนดนั้น ถือว่าเป็นการปฏิบัติขั้นต่ำที่สุดแล้ว เพราะถ้าไม่ทำตามก็ถือว่าผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามมีผู้ประกอบการหลายคนไม่สนใจข้อกฎหมาย โดยใช้วิธีหลบเลี่ยงหรือติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อปิดปากไม่ให้เอาเรื่องก็มีถมไป มิฉะนั้นแม่น้ำแม่กลองของเราคงไม่เน่าจนปลาลอยตายเป็นแพให้เห็นอยู่บ่อยๆ หรอกนะคะ
ปัจจัยที่ 3 ทัศนคติของผู้บริโภคและสาธารณชน
ปัจจุบันนี้ชาวบ้านอย่างเราๆ ท่านๆ เริ่มมีหูตากว้างขวางและมีสิทธิมีเสียงมากขึ้น อีกทั้งมีสื่อในรูปแบบต่างๆ ช่วยเป็นกระบอกเสียงให้เรา ดังนั้น เมื่อมีผู้เดือดร้อน เช่น เหม็นกลิ่นควัน น้ำเน่า คันตามตัวเพราะพิษจากสารเคมี ฯลฯ จึงสามารถร้องเรียนเรียกค่าเสียหายได้ หรือแม้กระทั่งธุรกิจนั้นยังไม่เปิดกิจการ แต่สาธารณชนมีความกังวลห่วงใยว่า จะสร้างผลกระทบทางลบต่อสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของพวกเขา สาธารณชนก็สามารถทักท้วงหรือประท้วงต่อต้านจนธุรกิจล้มก็ยังไหว
ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงต้องใคร่ครวญปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ให้ดีว่า บริษัทของตนเองควรจะมีความเขียวในระดับใดจึงจะเหมาะสมกับเงื่อนไขต่างๆ นี้










น.ส ปวราพร หาญบุญศรี รหัส 5130125401227 การจัดการทั่วไปรุ่น 19




บทที่ 11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต
          ครบรอบ 54 ปี ไปหมาดๆ กับการดำเนินการของการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) ที่รับผิดชอบในการจ่ายไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการมีลูกค้าอยู่3.15ล้านรายตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานอกเหนือจากภารกิจหลักในการจำหน่ายไฟฟ้าแล้ว กฟน.ยังได้ให้ความสำคัญในเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อมหรือซีเอสอาร์ควบคู่ไปด้วย ผ่านโครงการต่างๆไม่ว่าจะเป็นโครงการคืนโลกสดใสลดใช้พลังงานที่เน้นให้เยาวชนตระหนักในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงานการอนุรักษ์ป่าชายเลนซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ โครงการ Young MEA ที่เน้นการสนับสนุนให้เยาวชนทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมรวมถึงกิจกรรมประหยัดพลังงานโครงการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและสังคมในการออกหน่วยให้บริการประชาชนตามชุมชนต่างๆโครงการบำรุงรักษาระบบสายดินตู้น้ำดื่มในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นต้น
          ล่าสุดกฟน.ได้จัดทำโครงการสาธิตเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าและสถานีชาร์จไฟซึ่งได้เปิดตัวสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์แห่งแรกในประเทศไทยไปแล้ว เมื่อวันที่ 1สิงหาคมที่ผ่านมา โดยนายอาทร สินสวัสดิ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) ชี้ให้เห็นว่า การดำเนินงานไม่ใช่เพียงการแสวงหาผลกำไรจากการดำเนินงานเท่านั้นแต่จะต้องดูว่าจะตอบแทนสังคมและประเทศอย่างไรเพื่อให้ธุรกิจเกิดความยั่งยืนและควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมการดำเนินงานดังกล่าวเนื่องจากเห็นว่าประเทศไทยต้องพึ่งการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะน้ำมันที่มีราคาแพงจะทำอย่างไรช่วยประเทศประหยัดการใช้น้ำมันลงได้
          ประกอบกับการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้ากำลังเป็นกระแสที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทำให้แนวโน้มการใช้รถยนต์ประหยัดพลังงานมีมากขึ้น กฟน.จึงเห็นความสำคัญในส่วนนี้ที่จะต้องเตรียมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าไว้รองรับที่สำคัญหากกฟน.ไม่ริเริ่มดำเนินการมองว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะเกิดขึ้นได้ยากเหมือนกับไข่กับไก่ใครเกิดก่อนกันทำให้กฟน.ตระหนักถึงจุดนี้ที่จะต้องพัฒนาสถานีชาร์จไฟฟ้าขึ้นมาก่อนเพื่อให้ประชาชนเห็นว่าหน่วยงานรัฐพยายามจะผลักดันให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างแพร่หลาย
          อย่างไรก็ตามก่อนที่จะมีการตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าไม่ใช่ว่ามีสถานที่แล้วดำเนินการได้เลยจะต้องมีการศึกษาให้รอบด้านซึ่งทางกฟน.ได้มีการจัดทำโครงการวิจัยและศึกษาแนวโน้มการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต มาตั้งแต่ปี2553 โดยศึกษาในด้านเทคโนโลยีของแบตเตอรี่ เทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า นโยบายด้านรถยนต์ไฟฟ้าในต่างประเทศและผลกระทบต่อกฟน. ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า แนวโน้มการใช้งานของเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นในหลายประเทศ การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของค่ายรถยนต์ต่างๆที่มีจำนวนมากขึ้น รวมถึงเทคโนโลยีของแบตเตอรี่ที่มีการพัฒนาให้สามารถเก็บประจุได้มากขึ้น ในราคาต้นทุนที่ต่ำลง
          ต่อมาในปี 2554 กฟน.ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลง "Feasibility Study of Electric Vehicle" ร่วมกับ บริษัทมิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และได้มอบรถยนต์Mitsubishi i-MiEVจำนวน 1คันเพื่อใช้ในการศึกษาและทดสอบรถยนต์ไฟฟ้าในการใช้งานในเขต กทม. เป็นระยะเวลา 9 เดือน โดยมีผลการศึกษาหลักประกอบด้วยการประเมินผลการขับขี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าi-MiEV ในสภาพการจราจรปกติของกรุงเทพมหานคร, การประเมินประสิทธิภาพและการใช้พลังงานของรถยนต์ iMiEV ในสถานการณ์ต่างๆกัน, การตรวจวัดผลกระทบของการชาร์จไฟของรถยนต์i-MiEV ต่อระบบไฟฟ้าของ กฟน.
          และได้มีการจัดทำโครงการสาธิตเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าและสถานีชาร์จไฟร่วมกับศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งแล้วเสร็จช่วงปลายปี2555โดยผลจากการศึกษานี้ กฟน. จะนำไปใช้เพื่อเป็น Roadmap สำหรับโครงการต่อเนื่องของ กฟน. ต่อไป
          สำหรับสถานีชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์แห่งแรกในประเทศไทยนี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่สำนักงานใหญ่ กฟน. ถนนเพลินจิต ซึ่งได้เปิดให้บริการฟรีตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2555 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 เพื่อนำร่องให้เกิดการใช้จริงในอนาคตโดยปัจจุบัน กฟน.มีรถยนต์ไฟฟ้าทดลอง 1 คัน และในอนาคตเตรียมสั่งซื้อเพิ่มอีก20 คันภายในปี 2559 หรือปีละ 5 คัน ในราคาประมาณคันละกว่า 2  ล้านบาท เพื่อนำมาใช้ในกิจการของ กฟน.เอง รวมทั้งขยายสถานีบริการเพิ่มอีก10 แห่งในกรุงเทพฯภายในปี 2556 ใช้เงินลงทุนก่อสร้างสถานีละ 6 แสนบาทต่อแห่ง ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสังคมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเวลานี้
          โดยสถานีชาร์จไฟฟ้าในรถยนต์แห่งนี้มีกำลังไฟฟ้า 350 โวลต์ สามารถชาร์จเร่งด่วนภายใน 20 นาที หรือประมาณ 80% ของความจุ และขึ้นอยู่กับขนาดความจุของแบตเตอรี่ สามารถวิ่งได้ 100-140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หากชาร์จตามบ้านเรือนกำลังไฟฟ้า220 โวลต์จะใช้เวลาชาร์จ8-10 ชั่วโมง ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยมีรถชาร์จไฟฟ้าอยู่เพียง 3 คัน
          จากจุดเริ่มต้นดังกล่าวนี้เอง แม้ว่ากฟน.จะต้องแบกรับภาระในการดำเนินงานดังกล่าวก็ตามแต่ด้วยการตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมแล้วถือเป็นบทบาทของกฟน.ที่ต้องดำเนินการและจะเป็นแหล่งข้อมูลการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในสภาพจริงให้กับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ เอกชนหรือแม้กระทั่งประชาชนทั่วไปซึ่งกฟน.ยินดีที่จะเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ประเทศได้ก้าวไปสู่สังคมรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อสภาพแวดล้อมที่ดีของคนไทยต่อไปในอนาคตที่สำคัญหากมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าแพร่หลายในอนาคตการตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าก็จะเป็นอีกโอกาสหนึ่งในการทำธุรกิจสีเขียวสร้างรายได้ให้กับกฟน.ทางหนึ่งด้วยตามวิสัยทัศน์กฟน.ที่มุ่งสู่องค์กรสมรรถนะสูง เป็นผู้นำด้านระบบจำหน่ายไฟฟ้าและบริษัทที่เป็นเลิศ สร้างความเข้มแข็งในธุรกิจเกี่ยวเนื่อง รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
          "เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทำให้แนวโน้มการใช้รถยนต์ประหยัดพลังงานมีมากขึ้นกฟน.จึงเห็นความสำคัญในส่วนนี้ที่จะต้องเตรียมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าไว้รองรับ"

       

          ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 23 - 25 ส.ค. 2555--
http://www.its.in.th

น.ส.อัญชลี คำประชม รหัส 5210125401058 เอกการจัดการทั่วไป ภาคปกติ



                การบริหารจัดการสมัยใหม่ต้องมียุทธศาสตร์เป็นความเข้าใจกันอยู่ในปัจจุบัน กล่าวคือจะมีการให้ความสำคัญกับความชัดเจนในทิศทางอันหมายถึงเป้าหมายของการบริหารงานที่เกิดจากความริเริ่มเมื่อพนักงานเห็นทิศทางของงานขององค์กรชัดเจน จึงมุ่งที่จะสัมผัสทิศทางนั้นให้ได้ ดั้งนั้นเส้นทางหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานสามารถปรับเปลี่ยนเพื่อให้สั้นเข้า ลดความซับซ้อน ย่นระยะเวลาได้ยิ่งดี ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในเวลาอันรสเร็ว นี่คือพื้นฐานแนวคิดของการบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์ที่สามารถกำชัยชนะในเวลาอันรวดเร็ว
การบริหารจัดการควรมีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะปรับโครงสร้างและกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายงานและองค์กรได้ตลอดเวลาถ้าเราแนวคิดของ เดวิด นอร์ตันและแคปแลนต์ มาวิเคราะห์จะพบว่าการบริหารงานองค์กรนั้นเขาบอกว่าจะสร้างหรือพัฒนาความเข้มแข็งองค์ประกอบการบริหารทั้งสี่ด้านคือ ด้านการเงิน ด้านกระบวนการ การบริหารงานภายใน ด้านการเรียนรู้ การเติบโต และด้านลูกค้า โดยแต่ละด้าน จะต้องมีการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ทั้งในทางส่งเสริม สนับสนุนหรือขัดแย้งกัน
                เดวิด นอร์ตัน และแคปแลนด์ เสนอให้ใช้เทคนิคการบริหารดุลยภาพบาร์ลาน สกอการ์ด เป็นเครื่องมือในการจัดการทรัพยากรขององค์กรให้สามารถวัดผลการดำเนินงานให้ออกมาเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของเงินหรือคุณค่าหรือศักยภาพที่จะทำให้กระบวนการบริหารจัดการงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเรียกการบริหารงานในลักษณะนี้ว่าการบริหารงานแบบมียุทธศาสตร์และเราก็ยอมรับกันว่าเป็นการบริหารงานแบบใหม่ (Modern Management) อีกรูปแบบหนึ่ง
                หากเรายอมรับเอาแนวคิดการบริหารดุลยภาพ BSC เป็นการแบ่งยุคการบริหารสมัยเก่าและสมัยใหม่ โดยใช้จุดกำเนิดการบริหารดุลยภาพ BSC ราวปี 2533 ซึ่งในปีนี้ เดวิด นอร์ตัน  และแคปแลนด์ได้ทำการวิจัยผลการดำเนินงานขององค์กรชื่อ Measuring Performance in the Organization Of the Future เป็นจุดการแบ่งความเก่า ความใหม่ ของแนวคิดและเทคนิคการบริหารจัดการคงจะยอมรับกันได้ การยอมรับเช่นนี้ก็ไม่ได้เสียหายแต่ประการใด หากยังอธิบายลักษณะการบริหารจัดการที่ชัดเจน ง่ายต่อการเข้าใจ มากขึ้น เสียอีก
                นับตั้งแต่การกำเนิดการบริหารดุลยภาพ BSC วงการบริหารจัดการได้มีการกล่าวถึงอย่างจริงจังมาจนถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะช่วงวิฤตเศรษฐกิจต่างๆ ทั้งในอเมริกาใต้ และเอเชียรวมทั้งประเทศไทยมีการนำเอาเทคนิค BSC ไปประยุกต์ใช้กันอย่างกว้างขว้างทั้งภาครัฐและเอกชน
                แม้ว่าเครื่องมือการบริหารดุลยภาพ BSC มิใช่เครื่องมือที่ดีที่สุดที่จะอธิบายถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของการบริหารจัดการก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีเครื่องมือใดที่จะเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันที่จะอธิบายการบริหารงานแบบมียุทธ์ศาสตร์ โดยเฉพาะกรอบการบริหารดุลยภาพ BSC
ที่มา: นิรนาม เทียมทัน. (2549). การบริหารงานอย่างมียุทธ์ศิลป์ . กรุงเทพฯ 

น.ส.กุลยา สุขเกิดผล การจัดการทั่วไป รหัส 5210125401007


บุคคลที่กำหนดชื่อทฤษฎีองค์การตามสถานการณ์ และกรณีคือ Fiedler นอกจากนั้นก็มี Woodward, Lawrence และ Lorsch ได้ทำการวิจัยศึกษาเรื่องนี้

                  [1]การบริหารตามสถานการณ์ เป็นแนวคิดที่ว่าไม่มีทฤษฎีหรือวิธีการทางการบริหารวิธีใดที่จะนำไปใช้ได้ทุกสถานการณ์หรือไม่มีรูปแบบการบริหารแบบใดดีที่สุด การบริหารแต่ละแบบและแต่ละวิธีจะก่อให้เกิดผลแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมแต่ละอย่าง  การเลือกแบบใดให้เหมาะสมขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เพราะแต่ละวิธีก็มีข้อดีและข้อจำกัดอยู่ในตัว การบริหารที่มีประสิทธิภาพจะให้ความสำคัญต่อการเลือกใช้การจัดการให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ที่เกิดกับปัญหาแต่ละปัญหา มีความเชี่ยวชาญที่จะจำแนกวิเคราะห์ และแก้ไขแต่ละสถานการณ์ ซึ่งเป็นความจริงว่าปัญหาแต่ละเรื่องมีสถานการณ์แตกต่างกัน ทำให้การบริหารเป็นเรื่องที่ยากและไม่มีข้อตายตัว แนวความคิดของการบริหารตามสถานการณ์จึงถือเอาความสัมพันธ์ต่าง ๆ เป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ของปัจจัยในองค์กร ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนอกองค์กรและความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับสภาพแวดล้อม และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ  การจัดการวิธีนี้มีใช้กันในหลายองค์การ  โดยพิจารณาว่า  “IF-THEN”  ถ้าสถานการณ์เป็นเช่นนั้น  แล้วจึงเลือกกลวิธีที่คิดว่าเหมาะสมกับสถานการณ์นั้น

[2]การบริหารเชิงสถานการณ์ (Situational Management Theory) หรือทฤษฎีอุบัติการณ์ (Contingency Theory) การบริหารในยุคนี้ค่อนข้างเป็นปัจจุบัน ปรัชญาของการบริหารเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากการมองการบริหารในเชิงปรัชญา ไปสู่การมองการบริหารในเชิงสภาพข้อเท็จจริง เนื่องจากในปัจจุบันมนุษย์ต้องประสบกับปัญหาอยู่เสมอ

แนวความคิด

ในปี 1967 Fred E.Fiedler ได้เสนอแนวความคิดการบริหารเชิงสถานการณ์ (Situational Management Theory) หรือทฤษฎีอุบัติการณ์ (Contingency Theory) ซึ่งถือเป็นทฤษฎีการบริหารที่ขึ้นอยู่กับในเชิงสภาพข้อเท็จจริงด้วยแนวคิดที่ว่าการเลือกทางออกที่จะไปสู่การแก้ปัญหาทางการบริหารถือว่าไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุด หากแต่สถานการณ์ต่างหากที่จะเป็นตัวกำหนดว่าควรจะหยิบใช้การบริหารแบบใดในสภาวการณ์เช่นนั้น หลักคิดง่ายๆ ของการบริหารเชิงสถานการณ์ นั้นถือว่าการบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์  สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ และรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม และผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด โดยเป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระบบปิดและระบบเปิด และยอมรับหลักการของทฤษฎีระบบว่าทุกส่วนของระบบจะต้องสัมพันธ์ และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน คือมุ่งเน้น ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมขององค์การ สถานการณ์บางครั้งจะต้องใช้การตัดสินใจอย่างเฉียบขาด บางสถานการณ์ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงหลักมนุษย์และแรงจูงใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงเป้าหมายหรือผลผลิตขององค์กรเป็นหลัก การบริหารจึงต้องอาศัยสถานการณ์เป็นตัวกำหนดในการตัดสินใจ


การบริหารเชิงสถานการณ์จะคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลใน

หน่วยงานเป็นหลักมากกว่าที่จะแสวงหาวิธีการอันดีเลิศมาใช้ในการทำงาน โดยใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาในการพิจารณาด้วย โดยเน้นให้ผู้บริหารรู้จักใช้การพิจารณาความแตกต่างที่มีอยู่ในหน่วยงาน เช่น ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างระหว่างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการ และการควบคุมงาน ความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร หรือความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การ เป็นต้น

ทฤษฎีองค์การและการจัดการ ทุกองค์การไม่ว่าจะมีขนาด ประเภท หรือสถานที่ตั้งอย่างไร จำเป็นต้องมีการจัดการที่ดี ซึ่งการจัดการที่ดีเป็นจุดเริ่มต้นของการดําเนินงานขององค์การ การเติบโตและการดํารงอยู่ต่อไปของ องค์การ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์การในยุคศตวรรษที่21 ซึ่งต้องเผชิญกับ ปัจจัยแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม เศรษฐกิจ โลกาภิวัตน์ และเทคโนโลยี ทําให้องค์การต้องมีแนวทางในการจัดการที่ทันสมัยเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้ เพื่อให้เข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการสมัยใหม่ ในบทนี้จะได้นำเสนอหัวข้อเกี่ยวกับเรื่อง องค์การสมัยใหม่ ความหมายของการจัดการ ขบวนการจัดการ บทบาทของการจัดการ คุณสมบัติของนักบริหารที่ประสบความสำเร็จการจัดการเกิดขึ้นในองค์การ และในมุมมองด้านการจัดการ องค์การหมายถึง การที่มีคนมาทํางานร่วมกันอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งองค์การมีลักษณะร่วมกันอยู่ 3 ประการ ได้แก่

1) ทุกองค์การต้องมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของตนเอง
2) ทุกองค์การต้องมีคนร่วมกันทํางาน
3) องค์การต้องมีการจัดโครงสร้างงานแบ่งงานหน้าที่รับผิดชอบของคนในองค์การ
ตามที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าองค์การปัจจุบันต้องเผชิญกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นองค์การต้องมีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ แนวคิดเกี่ยวกับองค์การในแบบเดิมกับองค์การสมัยใหม่ก็มีความแตกต่างกัน เช่น การจัดการแบบคงเดิมกับแบบพลวัตร รูปแบบไม่ยืดหยุ่นกับแบบยืดหยุ่น การเน้นที่ตัวงานกับเน้นทักษะ การมีสถานที่ทำงานและเวลาทำงานที่เฉพาะคงที่กับการทํางานได้ทุกที่ทุกเวลา องค์การแบบเดิมจะมีลักษณะการจัดการที่คงเดิมไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นบ้างก็เป็นในช่วงสั้นๆ แต้องค์การปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จะมีความคงที่บ้างเป็นช่วงสั้นๆ จึงมีการจัดการแบบพลวัตรสามารถปรับเปลี่ยนให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา องค์การแบบเดิมมักมีการจัดการแบบไม่ยืดหยุ่น ส่วนในองค์การสมัยใหม่จะมีการจัดการที่ยืดหยุ่น กล่าวคือในองค์การสมัยใหม่จะไม่ยึดติดกับแนวทางปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ต้องให้มีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติ สามารถปรับเปลี่ยนได้ถ้าสถานการณ์แตกต่างไป องค์การแบบเดิมลักษณะของงานจะคงที่ พนักงานแต่ละคนจะได้รับมอบหมายงานเฉพาะ และทํางานในกลุ่มเดิมไม่ค่อยเปลี่ยน แต่ในองค์การสมัยใหม่พนักงานต้องเพิ่มศักยภาพของตนที่จะเรียนรุ้และสามารถทํางานที่เกี่ยวข้องได้รอบด้าน และมีการสับเปลี่ยนหน้าที่และกลุ่มงานอยู่เป็นประจํา ตัวอย่างเช่น ในบริษัทผลิตรถยนต์ พนักงานในแผนกผลิต ต้องสามารถใช้งานเครื่องจักรที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ได้ด้วย ซึ่งในคำบรรยายลักษณะงาน (job description) เดียวกันนี้เมื่อ 20 ปก่อนไม่มีการระบุไว้ดังนั้นในองค์การสมัยใหม่จะพัฒนาบุคลากรให้เพิ่มทักษะการทํางานได้หลากหลายมากขึ้น และในการพิจารณาค่าตอบแทนการทํางาน (compensation) ในองค์การสมัยใหม่มีแนวโน้มที่จะตอบแทนตามทักษะ (skill based) ยิ่งมีความสามารถในการทํางานหลายอย่าง มากขึ้นก็ได้ค่าตอบแทนมากขึ้น แทนการให้ค่าตอบแทนตามลักษณะงานและหน้าที่รับผิดชอบ (job based) องค์การแบบเดิม พนักงานจะทํางานในสถานที่ทํางานและเป็นเวลาที่แน่นอน แต่ในองค์สมัยใหม่มีแนวโน้มที่จะให้อิสระกับพนักงานในการทํางานที่ใดก็ได้เมื่อไรก็ได้ แต่ต้องได้ผลงานตามที่กําหนด เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีเอื้อให้สามารถสื่อสารถึงกันได้แม้ทํางานคนละแห่ง รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และโลกาภิวัตน์ทําให้คนต้องทํางานแข่งกับเวลามากขึ้นจนเบียดบังเวลาส่วนตัวและครอบครัว ดังนั้นองค์การสมัยใหม่จะให้เกิดความยืดหยุ่นในการทํางานทั้งเรื่องเวลาและสถานที่เพื่อให้สอดรับกับแนวโน้มวิถีการดําเนินชีวิตของพนักงานยุคใหม่


เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ประเทศไทยจะได้รับผลประโยชน์ในทางบวกหรือผลดีที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งเป็นสิ่งที่คนไทยเน้นย้ากันเป็นพิเศษ จะมีดังนี้ คือ

1. ก็คือ จะมีตลาดสินค้าและบริการที่ใหญ่ขึ้น นักธุรกิจไทยจะมีตลาดการค้าที่ใหญ่ขึ้น เพราะมีประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 580 ล้านคน เพราะทั้ง 10 ประเทศนี้ต่างก็มีจำนวนมหาศาลพอสมควร โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ซึ่งมีประชากรประมาณ 220 ล้านคน บวกกับ ฟิลิปปินส์ ประมาณ 87 ล้านคน เวียดนาม 84 ล้านคน ไทยอีกประมาณ 63 ล้านคน เหล่านี้เป็นต้น นับว่าจะการเพิ่มโอกาสทางการค้าเนื่องจากมีขนาดตลาดที่ใหญ่โตขึ้น และจะเอื้อให้การผลิตในลักษณะที่ผลิตมากขึ้นต้นทุนต่ำลงย่อมมีโอกาสมากขึ้นด้วย (Economies of Scale) แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ แต่ละประเทศก็ต้องออกแรงขยันหาตลาดและมีกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการหาลูกค้าเช่นกันกลยุทธ์ในด้านการตลาดการหาลูกค้าจะต้องทบทวนกันใหม่ เพราะลูกค้าใหม่ที่จะเข้ามาในประเทศย่อมนำกลยุทธ์ที่เขาเคยประสบความสำเร็จหรือเหนือกว่าเราออกมาใช้และจะมีการนำวัฒนธรรมในการบริโภคสินค้าเข้ามาให้นักการตลาดของเราได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้นจากเดิม เราต้องเรียนรู้พฤติกรรมการบริโภคสินค้าและบริการตลอดจนลูกเล่นทางการค้าของเขา รวมทั้งความเชื่อต่างๆ การปรับตัวของธุรกิจภายในประเทศจะต้องทันต่อเหตุการณ์และสภาพของตลาดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ใครปรับตัวหรือมีการเตรียมการที่ดีย่อมได้ผลในทางบวกแต่ในทางตรงกันข้ามหากพ่อค้าของเราปรับตัวช้า จะสูญเสียโอกาสและอาจจะสูญเสียฐานของลูกค้าเดิมไปด้วยเช่นกัน

2. ประเทศไทยจะได้อานิสงส์ ในการที่จะกลายมาเป็นเป้าหมายในการดึงดูดการลงทุน เงินลงทุน จากต่างประเทศได้มากขึ้นเพราะต่อไปนี้การขยายการลงทุนจากต่างประเทศมาไทยจะกระทำได้ง่ายขึ้น หากเป็นไปตามข้อตกลงที่ได้ตกลงกันไว้ และประเทศไทยได้เปรียบประเทศอื่นๆ หลายประการโดยเฉพาะทัศนคติของคนไทยที่มีต่อนักลงทุนชาวต่างชาตินั้นดีมาก แม้ว่าบางครั้งการลงทุนของต่างชาติมาลงทุนในประเทศไทยไม่ได้ก่อให้เกิดราย ได้แก่ ชุมชน การจ้างงาน หรือการนำเทคโนโลยีมาช่วยประเทศไทยเลย แต่คนไทยก็ไม่เคยรังเกียจนักลงทุนเหล่านี้ เหมือนดังประเทศอื่น อีกทั้งระเบียบกฎเกณฑ์ด้านการลงทุน ประเทศไทยอาจกล่าวได้ว่าเปิดโอกาสมากกว่าหลายๆ ประเทศในภูมิภาคนี้ แม้กระทั่งหากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาวหรือพม่า เป็นต้นกลยุทธ์ในด้านการลงทุนและการเงิน ของประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องพัฒนาให้ทันกาลการเข้ามาของต่างชาติ การเปิดเสรีมากเกินไปนอกจากจะทำให้ฐานะของประเทศไทยเกิดความเสี่ยงมากขึ้นแล้ว ไทยจะไม่สามารถหาประโยชน์ได้มากเหมือนแต่ก่อนที่ยังไม่เปิดเสรีในด้านนี้ กฎหมายหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ ของภาครัฐด้านการลงทุนและการเงินจะต้องรื้อปรับระบบกันใหม่ (Reengineering) ในขณะนี้ ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศได้รับผลดีอย่างเต็มที่และต้องหามาตรการในการลดความเสี่ยงในด้านการลงทุนและการเงิน ทุกรูปแบบ แต่มิใช่เป็นการสกัดกั้นอย่างมีอคติต่อนักลงทุนชาวต่างชาติเช่นกัน ทั้งนี้ รวมทั้งกฎหมายที่ว่าด้วยการถือครองอสังหาริมทรัพย์เช่น ที่ดินเป็นต้น มิฉะนั้นแล้ววันข้างหน้าคนไทยจะไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ธุรกิจก็เป็นธุรกิจของต่างชาติที่เข้ามามีบทบาททำให้ธุรกิจท้องถิ่นที่มีมาแต่ช้านานสูญหายไปหมด โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย

 3. การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสามารถทำให้ประเทศไทยมีอำนาจในการเจรจาต่อรองต่อเวทีโลกได้มากขึ้น เพราะต่อไปนี้จะมีฐานประชาคมอาเซียนสนับสนุนอยู่และไม่ใช่ไปแบบโดดเดี่ยวเหมือนเมื่อก่อน ซึ่งสามารถทำให้ประเทศคู่ค้าต้องรับฟังมากขึ้น เพราะดีไม่ดีอาจจะไปกระทบกับประชาคมอาเซียนไปด้วย เนื่องจากประเทศไทยเป็นสมาชิกของประชาคมประเทศหนึ่งกลยุทธ์ที่จะช่วยได้อาจเป็นไปในรูปการสร้างและการขยายเครือข่ายโดยมีพันธมิตรคู่ค้าที่เป็นนักลงทุนต่างชาติในกลุ่มอาเซียนเพื่อจะเป็นฐานหรือตัวช่วยในการเจรจาต่อรองมากขึ้น ทั้งนี้ โดยอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ผลประโยชน์ร่วมกันและภายใต้ความเป็นธรรมและเสมอภาค รวมทั้งการเรียนรู้เทคนิคในการเจรจาต่อรองในรูปแบบต่างๆ ที่สอดคล้องต่อประเพณีและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ

4. การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจะทำให้นักธุรกิจไทย และผู้ที่เกี่ยวข้องด้านเศรษฐกิจและการค้ามีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องให้ดีขึ้นจากเดิม เพื่อการรองรับการแข่งขัน และสามารถนำมาซึ่งเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่พร้อมจะออกไปเพื่อการแข่งขัน รวมทั้งประเทศไทยสามารถเรียนรู้เทคนิคด้านต่างๆ ของประเทศในกลุ่มนี้มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้าน การผลิต การตลาด การขนส่งและโลจิสติกส์ การจัดการ การเจรจาต่อรอง การเงิน การท่องเที่ยว การเดินอากาศ และอื่นๆกลยุทธ์ที่เหมาะสมในประเด็นนี้ ก็คือ เราต้องหาเทคโนโลยีในการพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการให้ดำรงความเหนือกว่าให้ได้ การลงทุนพัฒนาและการวิจัยในด้านเทคโนโลยีของธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นและเป็นหนทางในการอยู่รอดและสร้างความได้เปรียบในด้านการแข่งขัน ภาครัฐต้องเห็นความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาในด้านการผลิตและการบริการและต้องมาช่วยภาคเอกชนในทุกวิถีทาง เพราะหากปล่อยให้ภาคเอกชนกระทำการแต่เพียงฝ่ายเดียวจะไม่ประสบความสำเร็จในระยะยาว เนื่องจากขาดงบประมาณและความร่วมมือของหน่วยงานราชการ การสร้างนวัตกรรมของประเทศไทยจะเป็นตัวจักรสำคัญในการสร้างความแตกต่างและความยั่งยืนของอุตสาหกรรมไทยในวันข้างหน้าเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

5. จะมีผลต่อการจ้างแรงงานเพราะสามารถเข้าโรงงานอุตสาหกรรมที่ให้ค่าจ้างแรงงานที่สูงกว่าเดิม รวมทั้งการออกไปหารายได้เพิ่มขึ้นจากค่าแรงงานในกลุ่มประเทศอาเซียน ส่วนสถานประกอบการสามารถที่จะสร้างรายได้ของสถานประกอบการให้มากขึ้นจากการขยายตลาดและการเพิ่มปริมาณลูกค้ามากขึ้น และในที่สุด ก็จะมีผลต่อรายได้ที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมไทยดีขึ้นรวมทั้งการได้รับสินค้าและการบริการที่ดีขึ้นหรือมีตัวเลือกและทางเลือกมากขึ้นจากเดิมกลยุทธ์ที่เหมาะสมในประเด็นนี้ ก็คือ การเพิ่มทักษะในด้านภาษาท้องถิ่นของแต่ละประเทศนอกเหนือจากภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ที่เคยมีมาแต่ก่อน แต่จำเป็นที่จะต้องมีการเรียนการสอนด้านภาษามาเลย์ ภาษาเวียดนาม ภาษาเขมร ลาว และภาษาพม่าให้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน ในประเด็นนี้ผู้เขียนได้ทราบว่าประเทศมาเลเซียได้มีการเรียนการสอนภาษาไทยกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันเพื่อการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยเฉพาะ ดังนั้น ภาครัฐไม่ว่าจะเป็นระดับประถม มัธยม สายวิชาชีพ หรือแม้กระทั่งระดับอุดมศึกษาก็น่าที่จะมีการปรับตัวเตรียมการกันได้แล้ว เพราะเรื่องของภาษาเป็นเรื่องของการใช้เวลาและการฝึกหัดที่ต้องกินเวลาพอสมควรเพื่อให้ได้ผลดี ในส่วนการศึกษาของภาคเอกชนโดยเฉพาะสถานศึกษาภาคเอกชนก็ควรปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อเตรียมการผลิตนักเรียน นิสิต นักศึกษาที่มีความพร้อมในด้านนี้ออกไปเช่นกัน

 6. เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ก็เท่ากับว่าต่อไปนี้จะมีการปรับปรุงแรงงานฝีมือในสาขาวิชาชีพต่างๆ (7 วิชาชีพ) ให้เท่าเทียมนานาประเทศ สาขาวิชาชีพเหล่านี้ ได้แก่ วิศวกร แพทย์ พยาบาล นักบัญชี นักสำรวจ ทันตแพทย์ และผู้ประกอบวิชาชีพ สถาปนิก เพราะสาขาวิชาชีพเหล่านี้เป็นสาขาวิชาชีพหน้าด่านของไทยที่มีความพร้อมสูง มีสมาคมและการรวมตัวที่มีประสิทธิภาพเป็นที่ประจักษ์ และเป็นสมาคมที่ประชาคมอาเซียนได้ยกมาเป็นกลุ่มแรกของไทยที่จะมีการวางกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆ หากจะมีคนในประเทศสมาชิกเข้ามาทำงานในกลุ่มวิชาชีพทั้งเจ็ดนี้ในไทย แต่ในทางกลับกันหากคนไทยที่ทำงานในกลุ่มวิชาชีพเหล่านี้ยังไม่พร้อมในการปรับตัว ปัญหาก็จะตกมาสู่พวกเขาเช่นกัน ในประเด็นนี้ข้อสรุป ก็คือ การเปิดให้ผู้ประกอบอาชีพที่มีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการประสานงานวิชาชีพสาขาต่างๆ ทั้ง 7 สาขา (ASEAN Joint Coordinating Committee) และหน่วยงานที่กำกับดูแลวิชาชีพหรือองค์การระดับประเทศสมาชิกต่างๆ หรือสภาวิชาชีพ (Professional Regulatory Authority) หรือกระทรวง/องค์การที่เกี่ยวข้องของประเทศสมาชิก ขึ้นทะเบียนหรือออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบวิชาชีพชาวต่างชาติเข้ามาประกอบวิชาชีพในประเทศอาเซียนได้ โดยต้องปฏิบัติตามกฎและระเบียบภายในประเทศนั้นๆ ในทำนองกลับกันหากคนไทยที่ประกอบวิชาชีพเหล่านี้ ก็สามารถที่จะไปทำงานยังประเทศอื่นที่มีค่าจ้างแรงงานที่สูงกว่าได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการไทย หรือแรงงานไทยก็จะมีโอกาสออกไปลงทุนหรือทำงานในต่างประเทศมากขึ้น และได้รับค่าตอบแทนที่สูงจากเดิมกลยุทธ์ที่ควรนำมาพิจารณาในประเด็นนี้ น่าจะเป็นเรื่องที่จะทำอย่างไรให้ความรู้ในด้านภาษาของคนในกลุ่มวิชาชีพเหล่านี้สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว สามารถสื่อสารได้หลายภาษามากขึ้นจากแต่เดิม รวมทั้งเทคนิคและวิธีการใหม่ๆ ในการประกอบอาชีพในด้านนั้นๆ ที่จะต้องนำมาเสริมเพิ่มเติมความรู้ให้มากขึ้นจากเดิม รวมทั้งกลยุทธ์ในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่หาหนทางจูงใจให้คนดีและคนเก่งอยู่ในองค์การของเราให้นานที่สุด ศาสตร์ในด้านการรักษาทรัพยากรมนุษย์ที่ทรงคุณค่าไว้ในองค์การหรือ Talent Management ควรจะถูกหยิบยกมาพิจารณาและให้ความสำคัญมากขึ้น มิฉะนั้น จะเกิดเหตุการณ์สมองไหลไปสู่องค์การของต่างชาติทั้งในและนอกประเทศไทยกันหมด

7. ประเทศไทยสามารถอาศัยความร่วมมือช่วยเหลือกันในภาคเศรษฐกิจหรือ AEC นี้ เข้าไปเสริมสร้างความสัมพันธ์ในด้านการเมือง การปกครองการป้องกันประเทศให้ดีขึ้น เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและลดข้อขัดแย้งต่างๆ กับประเทศเพื่อนบ้านของไทย ไม่ว่าจะเป็น พม่า กัมพูชา หรือประเทศอื่นๆ โดยผ่านความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนเป็นหัวหอกเหมือนที่เคยเป็นมาในอดีตและจะช่วยให้ด้านอื่นๆ มีสัมพันธภาพอันดีตามมาในที่สุดกลยุทธ์ที่เหมาะสมคือการเรียนรู้และการปรับตัวโดยอาศัยการศึกษาและการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการวัฒนธรรมข้ามชาติหรือที่เรียกว่า Cross Cultural Management มาเป็นหลักเพื่อให้เกิดการผนึกความร่วมมือร่วมใจ ปรองดองกันระหว่างคนไทยและประเทศเพื่อนบ้านให้อยู่ร่วมกันโดยปราศจากข้อขัดแย้งทางด้าน สังคม เศรษฐกิจและการเมือง
อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/293#ixzz1cUexl02o

วัตถุประสงค์ทั่วไป
     1. ทราบถึงความสำคัญของการสืบทอดวัฒนธรรมไทย
     2. เข้าใจถึงการธำรงรักษาวัฒนธรรมไทย
     3. เข้าใจคุณสมบัติผู้ทรงภูมิปัญญาไทยได้
     4. เข้าใจถึงคุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
     5. เข้าใจวิธีการส่งเสริมภูมิปัญญาไทย
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
     1. อธิบาย ความหมาย ประเภท ลักษณะ และภูมิปัญญาไทย ของสังคมไทยได้
     2. แยก แยะภูมิปัญญาไทยออกมาเป็นสาขาต่าง ๆได้
     3. อธิบายคุณสมบัติผู้ทรงภูมิปัญญาไทยได้
     4. อธิบาย คุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาไทยได้
     5. อธิบายวิธีการส่งเสริมภูมิปัญญาไทยได้

  ความสำคัญของการสืบทอดวัฒนธรรม
วัฒนธรรมไทยเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตของคนในสังคมไทย ทั้งยังเป็นเครื่องวัดความเจริญ หรือความเสื่อม
ของสังคม  ซึ่งมีผลต่อความก้าวหน้าของประเทศ เพราะประเทศจะเจริญหรือไม่นั้นย่อมขึ้นอยู่กับการ พัฒนา
ของคนในสังคม จากแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่กล่าวถึงการพัฒนาประเทศให้ เจริญ
ก้าวหน้านั้น สังคมต้องมีดุลยภาพจากการพัฒนาคนในสังคมปรากฏผลได้ดังนี้
1. เป็นสังคมคุณภาพ หมายถึง สังคมไทยต้องพัฒนาคนในสังคมทุกด้าน ทั้งด้านความรู้ ทักษะมีการ
ดำเนินชีวิตที่ดีโดยยึดหลักความพึงพอเพียงความพอดีและสามารถพึ่งตัวเองได้
2.เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและกาเรียนรู้โดยคนไทยสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตให้เป็นคนคิดเป็นทำเป็น และแก้ปัญหาเป็นเป็นผู้มีเหตุผลร่วมใจกันพัฒนาภูมิปัญญาไทยควบคู่กับการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่น

3. เป็นสังคมที่มีความเอื้ออาทรต่อกัน โดยต้องปลูกฝังให้คนไทยเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีค่านิยมที่ถูกต้อง พึ่งพาอาศัยกัน มีความรู้รัก รู้สามัคคี ภูมิใจในความเป็นไทย รักษาสถาบันที่สำคัญของสังคมไทยสืบต่อไป

การสืบทอดวัฒนธรรมไทยที่สำคัญ
         1. การปลูกฝังค่านิยมที่ดี ซึ่งต้องเริ่มที่พ่อ - แม่ ควรเป็นตัวอย่างที่ดี อบรมสั่งสอนลูกให้เป็นคนดีของ
สังคม
         2. การจัดวิชาที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีไว้ในหลักสูตรทุกระดับชั้น เพื่อเป็นการปลูกฝังและสั่งสม
ความรู้ ประสบการณ์ตัวแต่เด็ก ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากสถาบันการศึกษา ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่
กระทรวงศึกษา และภาคเอกชน ได้แก่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ
         3.การสนับสนุนส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีอย่างจริงจัง โดยประสานงานกับหน่วยงานของจังหวัดหรือท้องถิ่นทั้งภาครัฐและเอกชน ช่วยจัดงานฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีให้เป็นที่รู้จัก
        4. การจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีไทย โดยใช้การท่องเที่ยว เช่นโครงการ
Unseen Thailand  เที่ยวเมืองไทยไม่ไปไม่รู้  เป็นต้น
        5. การจัดงานเที่ยวกับผลิตภัณฑ์สินค้าไทย เป้นงานเกี่ยวกับ OTOP (One Tambol One Product)
หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภันฑ์ มีการสาธิตเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณีไทย เรื่องของอาชีพ การแสดงพื้นบ้านต่างๆ อาจจัดงานใหญ่ เช่น ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติ หรือหน่วยงานของเอกชน
        6. การเสนอข่าวประกาศเกียรติคุณบุคคลที่ประพฤติตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนทั่วไป เช่น แม่ดีเด่น ลูกกตัญญู หรือผู้ที่มีผลงานหรืออนุรักษ์ผลงานเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยผู้อนุรักษ์หุ่นละครโรงเล็ก ผู้ประดิษฐดนตรีไทยอาจใช้วัสดุสมัยใหม่
       7. การส่งเสริมให้สถาบันทางศาสนาเป็นศูนย์รวมแหล่งความรู้แขนงต่าง ๆ เช่นวัด หรือพระสงฆ์ เป็นต้นมีส่วนในการช่วยปลูกฝังส่งเสริมประเพณี วัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการเทศน์ การอบรม การเรียนการสอนในโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นต้น

การบริหารการเปลี่ยนแปลง13 เป็นการวางแผนปรับแต่งองค์การ กระบวนงานเพื่อให้องค์การและบุคลากรสามารถปรับตัว เกิดการยอมรับ และพัฒนาศักยภาพของส่วนราชการ ไปพร้อมการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารราชการแผ่นดิน และกำหนดแนวทางในการลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับส่วนราชการและระดับบุคลากร

การวางแผนเพื่อปรับแต่งองค์การทั้งระดับกระทรวง ทบวง และกรม จะยึดแผนและเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ของส่วนราชการเป็นที่ตั้ง โดยมีการกำหนดและทบทวนทิศทางและยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และแผนงานโครงการ เพื่อทำการวิเคราะห์และประเมิน ขีดความสามารถและปริมาณทรัพยากรที่ส่วนราชการมีอยู่ ทั้งด้านบุคลากร กระบวนการในการทำงาน ระบบการบริหาร ค่านิยมและทัศนคติของข้าราชการ ความสามารถในการให้บริการประชาชน กฎระเบียบต่างๆ ฯลฯ ที่ใช้อยู่ และประเมินหาสิ่งที่ยังขาด (Gap) หรือไม่เพียงพอ เพื่อกำหนดแนวทางหรือวิธีการลดช่องว่างนั้น โดยการจัดทำเป็นข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for change)14

การบริหารการเปลี่ยนแปลงในส่วนราชการ ก.พ.ร.ได้สนับสนุนให้นักบริหารในระดับกระทรวง ทบวง กรมและจังหวัด เป็นผู้แสดงบทบาทของนักบริหารการเปลี่ยนแปลง (Chief Change Officer: CCO) รับผิดชอบในการผลักดันให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในส่วนราชการ โดยดำเนินการ พัฒนาแนวทางและวิธีการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัย เหมาะสม ในบริบทของระบบราชการไทย เพื่อนำมาเป็นต้นแบบกลางในการดำเนินการบริหารการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนให้นักบริหารการเปลี่ยนแปลง และทีมงานใช้เทคนิควิธีการบริหารการเปลี่ยนแปลงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนราชการ รวมทั้งให้แนวคิดในการวางแผนและแก้ปัญหาต่างๆในการปฏิบัติงาน และเสริมสร้างการบริหารการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานนำร่อง ก่อนที่จะดำเนินการขยายผลต่อไป เพื่อให้ส่วนราชการและจังหวัดสามารถนำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for Change) ไปสู่การปฎิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งพัฒนาบุคลากรของ สำนักงาน ก.พ.ร. ให้มีประสบการณ์และเข้าใจการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อสนับสนุนส่วนราชการอื่นๆ ต่อไป

แนวคิดความได้เปรียบในการแข่งขัน (competitive advantage) และทฤษฎีไดมอนด์ (diamond model) ของ ไมเคิล อี. พอร์เตอร์ (Michael E. Porter)
             Porter (1985, p. 157) ได้เสนอความคิดเรื่องกลยุทธ์การแข่งขัน (competitive strategy) โดยเชื่อว่า การทำธุรกิจจะประสบกับปัญหา หรือมีการแข่งขันกันมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับพลังต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ 5 ประการ (5 forces) ที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน คือ
             ประการที่ 1 กลุ่มที่มีความสามารถเข้าสู่ตลาดใหม่ (potential new entrants) โดยการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรมจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเป็นเรื่องง่ายที่บริษัทต่าง ๆ จะเข้ามาสู่ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในบางสถานการณ์ผู้เข้าตลาดใหม่จะเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจที่สำคัญของสิ่งแวดล้อมตลาด เช่น ความชัดเจนของตลาด ราคา และความภักดีของลูกค้า เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็มีกลุ่มที่มีความสามารถกดดันให้มีการตอบสนอง และการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของบริษัทอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน การคุกคามของผู้ที่เข้าสู่ตลาดใหม่จะต้องอาศัยการประเมินค่าสิ่งที่เป็นอุปสรรคในการเข้าตลาด เช่น ความภักดีของกลุ่มลูกค้า (brand loyalty) ความสนิทสนมในด้านความสัมพันธ์กับลูกค้า ต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายจริง ความขาดแคลนของทรัพยากรที่สำคัญ การเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบ  ที่ถูกควบคุมโดยบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมเดิม ช่องทางการจัดจำหน่ายที่ถูกควบคุมโดยบริษัทอุตสาหกรรมเดิม (access to distribution)  ความได้เปรียบด้านต้นทุนของการอยู่ได้ของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมจากประสบการณ์ที่ยาวนานมีผลต่อการหักค่าเสื่อมทรัพย์สิน และการขนส่งและการปฏิบัติของภาครัฐ
             ประการที่ 2 กลุ่มคู่แข่งขัน (rivalry) เป็นการอธิบายความรุนแรงของการแข่งขันระหว่างบริษัทต่าง ๆ ในภาคอุตสาหกรรม ภาวะกดดันในด้านการแข่งขันสูง มีผลต่อความกดดันด้านราคา กำไร และการแข่งขันระหว่างการอยู่ได้ของบริษัทต่าง ๆ จะเกิดขึ้นสูงมาก เมื่อมีบริษัทจำนวนมากในขนาดตลาดเดิม บริษัทต่าง ๆ มีกลยุทธ์คล้ายกัน อัตราการเติบโตของตลาดต่ำ อุปสรรคเพื่อความอยู่รอดสูง เช่น วัสดุเฉพาะคุณภาพสูงและราคาแพงและ มีความแตกต่างกันไม่มากระหว่างบริษัทต่าง ๆ กับสินค้า
             ประการที่ 3 กลุ่มสินค้าทดแทน (substitute) ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทนจะมีอยู่ ถ้ามีทางเลือกในสินค้าราคาถูกของปัจจัยในด้านการปฏิบัติงานที่ดีกว่า ซึ่งสามารถดึงดูดด้วยอัตราส่วนของปริมาณตลาด การลดลงของปริมาณยอดขาย  ทั้งนี้ ภัยคุกคามของสินค้าทดแทนมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบของสินค้า ถูกตัดสินโดยความภักดีของกลุ่มลูกค้า ความสนิทสนมในด้านความสัมพันธ์ของลูกค้า การเปลี่ยนแปลงในด้านราคาของผู้บริโภค ความสัมพันธ์ด้านราคาเพื่อการปฏิบัติงานของกลุ่มตัวแทน แนวโน้มในปัจจุบัน
             ประการที่ 4 กลุ่มผู้ซื้อ (buyers) พลังการต่อรองของผู้ซื้อเป็นตัวกำหนดราคา ผู้ซื้อสามารถกดดันการกำหนดกำไร และปริมาณการซื้อ พลังการต่อรองของผู้บริโภคจะมีสูงเมื่อปริมาณการซื้อสูง
             ประการที่ 5 กลุ่มผู้จำหน่ายวัตถุดิบ (suppliers) กลุ่มผู้จำหน่ายวัตถุดิบประกอบด้วยแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้  ซึ่งมีความจำเป็นในการจัดสินค้าและบริการ พลังการต่อรองของกลุ่มผู้จำหน่ายวัตถุดิบจะมีสูง  เมื่อตลาดถูกครอบงำโดยผู้จำหน่ายขนาดใหญ่สองสามราย มีความเป็นไปได้ที่กลุ่มผู้จำหน่ายวัตถุดิบมีการรวมตัวกันล่วงหน้าเพื่อให้ได้มาซึ่งราคาและกำไรที่สูง ต่อมาแนวคิดนี้ได้รับการพัฒนาเป็นทฤษฎีเครือข่ายวิสาหกิจ (cluster theory) ในฐานะที่เป็นเครื่องมือการพัฒนาในระดับจุลภาค โดยพอร์เตอร์ได้เสนอบทความวิชาการ เรื่อง The Competitive Advantage of Nations ในปี ค.ศ. 1990 ว่า แนวคิดที่มีความหมายต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างแท้จริง คือ การเพิ่มผลิตภาพ (productivity) คลัสเตอร์ หรือเครือข่ายวิสาหกิจ หมายถึง เครือข่ายที่ประกอบด้วยคุณลักษณะ 4 ประการ คือ
คุณลักษณะที่ 1 การเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
คุณลักษณะที่ 2 ความร่วมมือซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อถือไว้วางใจ ซึ่งเป็นต้นทุนทางสังคมที่มีความสำคัญประการหนึ่ง
คุณลักษณะที่ 3 การแข่งขัน ข้อแตกต่างของเครือข่ายวิสาหกิจคือเป็นความร่วมมือบนพื้นฐานของการแข่งขัน
คุณลักษณะที่ 4 การมุ่งกำหนดกลไกราคาหรือปริมาณ เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันในบรรดาหมู่สมาชิก และประสิทธิภาพโดยรวม
           


การบริการสีเขียว (Green Service)

"จัดการธุรกิจ ตระหนักคิด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม"

     รูปแบบการให้บริการของธุรกิจท่องเที่ยวแขนงต่าง ๆ ที่สร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวด้วยมาตรฐานคุณภาพที่ดี ควบคู่ไปกับการมีปณิธานและการดำเนินการรักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการให้บริการต่างๆ

     หากใครที่เดินทางอย่างสม่ำเสมอจะสังเกตได้ถึงความเปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการทางด้านการท่องเที่ยวที่เห็นได้ชัดประการหนึ่งคือ การจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการการ์ดที่ขอความร่วมมือผู้เข้าพักในโรงแรม รีสอร์ทว่า หากต้องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก็สามารถทำได้ เช่น หากไม่ต้องการให้พนักงานเปลี่ยนผ้าเช็ดตัวผืนใหม่ก็สามารถทำได้โดยการไม่วางในจุดที่โรงแรมกำหนด การลดการใช้กระดาษชำระเท่าที่จำเป็น ฯลฯ หรือโรงแรมมีการใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำให้ผู้เข้าพักส่วนใหญ่รู้สึกว่าต้องประหยัดทั้งๆที่เสียเงินสำหรับการบริการ กลับกลายเป็นว่าการที่ผู้ประกอบการใส่ใจกับเรื่องสิ่งแวดล้อมเท่ากับว่าผู้ประกอบการมิได้ละเลยความรับผิดชอบกับเรื่องเหล่านี้

     ซึ่งนโยบายของผู้ประกอบการเหล่านี้ก็ดูเหมือนว่าจะสอดคล้องกับแผนการสร้าง การบริการสีเขียว ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเช่น ส่วนในรายละเอียดของการทำให้แหล่งท่องเที่ยว ผู้ประกอบการท่องเที่ยวสร้างการบริการสีเขียวได้อย่างมีประสิทธิภาพจะประกอบไปด้วย

การสร้าง การบริการสีเขียว ในฐานะพื้นที่ทางวัฒนธรรม

แนวปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการเพื่อส่งเสริมให้เกิดการบริการสีเขียว ทำได้โดยที่ให้บริการทางการท่องเที่ยวทุกแขนงที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อมรดกทางวัฒนธรรมและสร้างผลกระทบน้อยที่สุดโดยการ

ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนหน่วยงานทางราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันและบำรุงรักษาสถานที่และมรดกทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและวัฒนธรรม รวมทั้งสิ่งที่เป็นความเชื่อของท้องถิ่น
หลีกเลี่ยงการซื้อขาย/แลกเปลี่ยนโบราณวัตถุและการจัดแสดงทางวัฒนธรรมโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
มีการตกแต่งสถานประกอบการด้วยผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น  โคมไฟเฟอร์นิเจอร์ เชิงเทียน เป็นต้น โดยหลีกเลี่ยงสิ่งประดับที่เป็นของเก่าและอาจผิดกฎหมาย เช่น พระพุทธรูป เศียรพระพุทธรูป เป็นต้น
เลือกใช้สินค้าและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นในการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว เช่น อาหาร  เครื่องดื่มต้อนรับ(น้ำสมุนไพร น้ำมะพร้าว ไวน์ผลไม้ ฯลฯ) การใช้จานชามดินเผา เครื่องจักสาน เป็นต้น
ส่งเสริมการจัดแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยในสถานประกอบการ ซึ่งเป็นที่ยอมรับของคนในท้องถิ่น และหลีกเลี่ยงหรือไม่อนุญาตให้มีการจัดแสดงใดๆ ที่อาจสร้างผลกระทบหรือขัดต่อประเพณีหรือความเชื่อของคนในท้องถิ่น
สนับสนุนให้พนักงานต้อนรับและพนักงานบริการอื่นๆ แต่งกายด้วยชุดที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของท้องถิ่น
ส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวมีโอกาสได้สัมผัสและเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม  และวิถีชีวิตของท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด รวมถึงกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มรดกเหล่านั้น
 การสร้าง บริการสีเขียว สำหรับผู้ประกอบการด้านที่พัก

แนวปฏิบัติที่ 1 ผู้ประกอบการที่ให้บริการทางการท่องเที่ยวทุกแขนงมีการพัฒนาหรือปรับปรุงระบบการบริหารจัดการธุรกิจและการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกชนิดต่างๆ โดย

มีนโยบาย ปณิธาน และแผนงานที่ให้ความสำคัญต่อความยั่งยืนในระยะยาว ทั้งในเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ รวมทั้งการหลีกเลี่ยง/ลดละ/ทดแทน การปฏิบัติที่เป็น
 เคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย/อนุสัญญา/ข้อตกลงระหว่างประเทศ และกฎระเบียบในประเทศที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
บุคลากรหรือพนักงานที่เกี่ยวข้องได้รับการฝึกอบรมให้มีความรู้   และทักษะในการปฏิบัติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม รวมถึงวิธีปฏิบัติที่หลีกเลี่ยง/ลดละ/ทดแทน  การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
มีการออกแบบ/ก่อสร้างอาคาร และระบบสาธารณูปโภค-สาธารณูปการ สอดคล้องกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมโดยคำนึงถึงหลักการออกแบบ/ก่อสร้างที่ยั่งยืน (sustainable design/construction) และ เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุ เด็กเล็กและคนพิการสามารถใช้ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย
มีแผนและแนวทางปฏิบัติในการใช้ทรัพยากรต่างๆ เช่น เชื้อเพลิง ไฟฟ้า น้ำ ฯลฯ อย่างประหยัดและก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเชิงธุรกิจและการบริการ
มีแผนและแนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อสินค้า และการบริการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
มีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว ทรัพยากรหรือสิ่งแวดล้อม และกิจกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง รวมทั้งเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม  
มีแผนการตลาดและประชาสัมพันธ์ โดยใช้ประเด็นด้านการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสถานบริการ
การประชาสัมพันธ์และการตลาดต้องถูกต้องตรงกับความเป็นจริงทั้งหมด และต้องไม่สัญญาเสนอสิ่งหนึ่งสิ่งใด ให้แก่นักท่องเที่ยวโดยไม่สามารถกระทำได้จริง
มีการประเมิน/ตรวจวัดความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว หรือผู้มาใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ  และต่อเนื่อง พร้อมทั้งมีการแก้ไขปรับปรุงสิ่งที่จำเป็นตามความเหมาะสม
แนวปฏิบัติที่ 2  มีการปฏิบัติที่มุ่งเน้นการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกชนิดต่างๆ

มีการป้องกัน ตรวจสอบและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมอันเกิดตามธรรมชาติและจากการพัฒนาหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและระบบสาธารณูปโภคในบริเวณสถานประกอบการอย่างสม่ำเสมอ เช่น การตัดต้นไม้ การพังทลายของดิน น้ำป่าไหลบ่า ความเสื่อมโทรมของชายหาด เป็นต้น
ไม่ขยายขอบเขตของสถานประกอบการ ลุกล้ำพื้นที่สาธารณะประเภทต่างๆ เช่น พื้นที่ป่า ชายหาด ลำห้วย ลำธาร ทางเท้าหรือถนน เป็นต้น
ใช้พันธุ์พืชท้องถิ่นในการตกแต่งหรือฟื้นฟูภูมิทัศน์ (หลีกเลี่ยงการนำพืชต่างถิ่นเข้ามาปลูก)ในสถานประกอบการ
การนำสัตว์มาใช้แสดงให้นักท่องเที่ยวชมจะต้องได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องและการเลี้ยงดูสัตว์ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและเป็นไปตามระเบียบของทางราชการ
ไม่นำทรัพยากรธรรมชาติที่หายากหรือกำลังสูญพันธุ์หรือมีแนวโน้มลดน้อยลง เช่น เปลือกหอย ปะการัง กล้วยไม้ป่า ฯลฯ มาจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว
ไม่มีการกักขังสัตว์ป่ายกเว้นกฎหมายจะอนุญาตและต้องปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสม ถ้าเป็นสัตว์ป่าหวงห้ามหรือสัตว์ป่าคุ้มครองควรมอบให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายเป็นผู้ดูแลจัดการแทน
ให้การสนับสนุนการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและพื้นที่อนุรักษ์ประเภทต่างๆ ที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับสถานประกอบการ
มีการจัดซื้อสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และช่วยลดการใช้พลังงาน หรือปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุด ประกอบด้วย
1.        เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ

2.        เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้

3.        เลือกซื้อผลิตภัณฑ์แบบที่เติมได้

4.        เลือกซื้อสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถส่งกลับคืนได้ เช่น ขวดแก้ว เป็นต้น

5.        เลือกซื้อสินค้าที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล

6.        เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากเขียวหรือมีฉลากคาร์บอน (ผลิตภัณฑ์ที่มีกระบวนการ   ผลิตที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณน้อย) หรือผลิตภัณฑ์อินทรีย์ ฯลฯ

7.        เลือกซื้อสินค้าที่ได้มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม

8.        เลือกซื้ออุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงาน (เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดฉลากประหยัดไฟเบอร์5 หรือมีฉลากอัตราการใช้ไฟ เป็นต้น) และอุปกรณ์ที่ประช่วยหยัดน้ำ

9.        เลือกซื้อยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น รถที่ใช้เชื้อเพลิงไฮบริด ไบโอดีเชล  เชื้อเพลิงที่เผาไหม้สะอาด เป็นต้น

10.     เลือกซื้อสินค้าที่มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมครบวงจร (สินค้าที่ดำเนินการควบคุม    ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ การผลิต และการกำจัดซากผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุแล้ว โดยไม่ให้เกิดผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม)

11.     มีการกำหนดให้ซื้ออาหารที่ผลิตได้ในท้องถิ่นตามแต่ละฤดูกาล เพื่อลดการใช้ พลังงานในการขนส่งและเก็บรักษา

มีการจัดการขยะและสิ่งปฏิกูลในสถานประกอบการ การปฏิบัติต่างๆ ประกอบด้วย
1.        ใช้สินค้าหรือวัสดุภัณฑ์เป็นแพ็คใหญ่เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้หีบห่อที่ไม่จำเป็น

2.        ใช้ผลิตภัณฑ์แบบที่ใช้หมดแล้วเติมใหม่ได้ (refillable products) แทนการทิ้งเป็นขยะ

3.        ใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติแทนการใช้ถุงพลาสติก หรือโฟม เช่น ใช้กระดาษแป้งข้าวโพด กระดาษแป้งมันสำปะหลัง เป็นต้น

4.        ลดและหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้ง เพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอย เช่น       กาแฟ ชา น้ำตาล ครีมเทียม เครื่องปรุงรส ฯลฯ ที่บรรจุในซองขนาดเล็ก

5.        หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์บนโต๊ะอาหารที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เช่น แก้วพลาสติกช้อนส้อม พลาสติก ตะเกียบ เป็นต้น

6.        มีการใช้กล่องบรรจุอาหารแทนการใช้ฟิล์มพลาสติกห่ออาหาร

7.        มีการลดขยะเปียก เช่น การเก็บอาหารสดให้พอดีกับอายุ ทำอาหารให้มีปริมาณพอดี  กับผู้บริโภค โน้มน้าวให้ลูกค้าบริโภคอาหารให้หมด เป็นต้น

8.        มีการจัดทำรายการขยะ และแยกขยะที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ ขยะรีไซเคิล  ขยะเศษอาหาร ขยะอันตราย ขยะทั่วไป เป็นต้น

9.        มีการจัดทำถังสำหรับหมักขยะเปียก (หรือมอบให้ผู้อื่นนำไปจัดการ) เพื่อทำเป็นปุ๋ยหมักแล้วนำกลับมาใช้ในสนามหรือสวนภายในสถานประกอบการ

10.     มีการเก็บขยะบริเวณโดยรอบอาคารและบริเวณสนามหรือสวนอย่างสม่ำเสมอ

มีการจัดการคุณภาพอากาศและเสียง ได้แก่
1.        จัดพื้นที่สูบบุหรี่แยกออกจากพื้นที่อื่นๆ และมีป้ายบอกอย่างชัดเจน

2.        จัดหาให้เช่าหรือให้บริการยานพาหนะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแก่ลูกค้า เช่น จักรยาน    เป็นต้น

3.        ป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก โดยการปลูกต้นไม้เป็นฉนวนหรือสร้างกำแพงกั้น

4.        ตรวจสอบและควบคุมการเกิดมลพิษทางอากาศในส่วนต่างๆ ของสถานประกอบการ เช่น ห้องพัก ห้องครัว ห้องควบคุมความเย็น เป็นต้น

5.        มีการนำวัสดุภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่ ที่สำคัญ ได้แก่

6.        ใช้กระดาษทั้งสองหน้าในธุรกิจและการให้บริการ

7.        ใช้ถุงผ้า หลีกเลี่ยงหรือลดการใช้ถุงพลาสติก

8.        ใช้ถ่านแบบ Rechargeable กับเครื่องไฟฟ้า

9.        นำผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ฯลฯ ที่ไม่สามารถใช้ได้ต่อไปแล้วมาใช้ประโยชน์ เช่น ผ้าเช็ดถูทำความสะอาด เป็นต้น

มีการประหยัดและการจัดการการใช้น้ำที่ดี ได้แก่
1.        มีการวิเคราะห์หารูปแบบ และประเภทการใช้น้ำหลักๆ ของสถานประกอบการเพื่อหาแนวทางและวิธีประหยัดน้ำ

2.        มีการจดบันทึกค่าน้ำเป็นประจำทุกเดือน

3.        ทำการปิดวาล์วน้ำ เมื่อไม่ใช้งาน

4.        ทำความสะอาดโดยการปัดกวาดฝุ่นละออง เศษผงต่างๆ ออกก่อน แล้วจึงทำความสะอาด เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำและลดการปนเปื้อนของน้ำทิ้ง

5.        มีการสำรวจตรวจสอบ และทำการเปลี่ยนหรือซ่อมแซมอุปกรณ์ที่ชำรุด หรือ เสื่อมสภาพที่ทำให้เกิดการรั่วไหลของน้ำอย่างสม่ำเสมอ เช่น ปั๊มน้ำ ระบบการจ่ายน้ำ (เช่น ท่อประปา วาล์ว ก๊อกน้ำ) ระบบสุขภัณฑ์ (เช่นหัวฉีดชำระ ขอบยาง และ ลูกลอยชักโครก) เป็นต้น

6.        เลือกใช้อุปกรณ์ที่ประหยัดน้ำ เช่น ก๊อกน้ำ โถชักโครก หัวฉีดชำระประหยัดน้ำ เป็นต้น

7.        ใช้น้ำในการจัดสวนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยออกแบบสวนให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมและมีความชุ่มชื่นเสมอ เลือกปลูกต้นไม้ที่ต้องการน้ำน้อย และมีการกำจัดวัชพืชเป็นประจำ

8.        นำน้ำจากการชำระล้างหรือน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับมาใช้ใหม่ เช่น ใช้ทำความ  สะอาดลานอเนกประสงค์ ใช้กับโถชักโครก ใช้รดน้ำต้นไม้ เป็นต้น

9.        มีการเก็บกักน้ำฝนไว้ใช้ในองค์กร

10.     มีมาตรการประหยัดน้ำในส่วนของห้องครัว และส่วนของห้องอาหาร เช่น

o        หลีกเลี่ยงการล้างผักและผลไม้โดยวิธีปล่อยให้น้ำไหลผ่าน

o        กำจัดคราบไขมันก่อนทำความสะอาดด้วยน้ำ

o        น้ำดื่มที่เหลือในแก้วลูกค้าสามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อได้

11.     มีการกำหนดการเปลี่ยนผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ฯลฯ เมื่อลูกค้าขอให้เปลี่ยน

12.     มีมาตรการประหยัดน้ำในส่วนสระว่ายน้ำ

13.     มีการใช้ระบบน้ำหยด /สปริงเกอร์/ฝักบัวรดน้ำต้นไม้แทนการใช้สายยาง

14.     มีการรดน้ำต้นไม้ในช่วงเวลาที่มีการระเหยต่ำได้แก่ช่วงเวลาเช้าและเย็น

15.     มีการนำน้ำที่เหลือจากกิจกรรมซักรีดกลับมาใช้ใหม่

มีการบำบัดและจัดการน้ำเสียในสถานประกอบการ สิ่งที่ควรปฏิบัติ ได้แก่
1.        มีระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้มาตรฐาน และ/หรือไม่มีการระบายน้ำทิ้งออกนอกบริเวณ

2.        มีการจัดการน้ำเสียเบื้องต้น (pre-wastewater treatments) ก่อนเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียเช่น ใช้สารลดคราบน้ำมันและจารบี ใช้ตะแกรงแยกเศษอาหารออกจากน้ำที่ใช้จากห้องครัว มีการแยกน้ำและน้ำมันออกจากกัน เป็นต้น

3.        มีการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีธรรมชาติโดยใช้พืชหรือจุลินทรีย์ เช่น ใช้พืชดูดซับน้ำเสีย ใช้จุลินทรีย์ในการย่อยของเสียในน้ำ เป็นต้น

4.        มีการตรวจสอบระบบบ่อเกรอะ (septic tank) เป็นประจำ (อย่างน้อยทุกๆ ปี)

5.        มีถังบำบัดน้ำเสียสำรอง

มีการประหยัดและจัดการการใช้พลังงานเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งที่ควรปฏิบัติ ประกอบด้วย
1.        หลีกเลี่ยงการใช้ยานพาหนะที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เช่น ใช้จักรยานแทนการใช้รถยนต์ เป็นต้น

2.        มีการใช้ระบบขนส่งมวลชน และ/หรือการใช้รถร่วมกัน (car pooling)

3.        มีการตรวจสอบปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อวัน /สัปดาห์/เดือนของสถานประกอบการ เพื่อทราบถึงปริมาณการใช้พลังงานที่สิ้นเปลืองและที่สามารถประหยัดได้

4.        มีการวางแผนการเดินทางขององค์กร เช่น หลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีการจราจรคับคั่ง หาเส้นทางที่เหมาะสมเพื่อลดระยะทางในการเดินทาง เป็นต้น

5.        มีตารางการบำรุงรักษารถยนต์ และเครื่องยนต์ขององค์กรให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ

6.        มีการใช้เครื่องยนต์ที่มีการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ เช่น เลือกใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อน 4 สูบ  ที่ประหยัดน้ำมัน ลดการเกิดมลพิษไฮโดรคาร์บอน และเสียงเบา  เป็นต้น

7.        มีการใช้เชื้อเพลิงทางเลือก เช่น น้ำมันไบโอดีเซล แก๊สธรรมชาติ หรือรถที่ใช้พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น

มีการประหยัดและจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย          
1.        มีการแจกแจงประเภทและรูปแบบการใช้พลังงานไฟฟ้าของสถานประกอบการ เพื่อหาแนวทางและวิธีการประหยัดพลังงานไฟฟ้า

2.        มีตารางติดตามการใช้ไฟฟ้าเป็นประจำ (เช่น ประจำสัปดาห์ หรือประจำเดือน) เพื่อ ทราบถึงปริมาณการใช้พลังงานที่สิ้นเปลืองและที่สามารถประหยัดได้

3.        มีการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น พัดลม มอเตอร์ เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ ที่มีขนาดเหมาะสมกับความต้องการของธุรกิจ

4.        มีตารางการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้า (เช่น พัดลม มอเตอร์ เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด) เช่น การทำความสะอาดเป็นประจำ เป็นต้น

5.        มีการลดความต้องการในการใช้พลังงานไฟฟ้าของสถานประกอบการ  ในช่วงเวลาที่มีค่าไฟฟ้าแพง

6.        มีวิธีการใช้เครื่องปรับอากาศอย่างเหมาะสม

7.        มีวิธีการใช้ไฟฟ้าเพื่อระบบแสงสว่างอย่างเหมาะสม

8.        มีการประหยัดไฟฟ้าจากการใช้เครื่องใช้สำนักงานอย่างถูกต้อง เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องโทรสาร เป็นต้น

9.        มีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพ เช่น หลอดไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

10.     มีวิธีการใช้ระบบทำความร้อนอย่างเหมาะสม โดย

o        การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้อุ่นน้ำที่ป้อนเข้าสู่หม้อไอน้ำ (solar co- generation) ในการทำน้ำอุ่น

o        มีการใช้ก๊าซ LPG ในการทำความร้อนแทนการใช้ Heater ไฟฟ้า

o        มีการนำความร้อนจากระบบปรับอากาศมาใช้ใหม่

o        มีการตั้งค่าอุณหภูมิความร้อนที่เหมาะสม

o        มีการหุ้มฉนวนท่อไอน้ำป้องกันการสูญเสียความร้อนไปในอากาศ

o        มีการใช้ผ้าเช็ดมือแทนเครื่องเป่ามือ

หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องปั่นผ้าแห้งหากไม่จำเป็น
1.        มีระบบคีย์แท็กประหยัดไฟฟ้า (ช่วยควบคุมการจ่ายไฟฟ้าในห้องพัก)

2.        ในกรณีที่มีลิฟต์ สถานประกอบการมีการประหยัดไฟฟ้าจากการใช้ลิฟต์โดย

o        กำหนดให้ลิฟต์หยุดเฉพาะชั้น เช่น หยุดเฉพาะชั้นคี่ เป็นต้น

o        มีการปิดลิฟต์บางจุดในช่วงที่มีการใช้งานน้อย เช่น เวลากลางคืน เป็นต้น

o        รณรงค์ให้ใช้บันไดแทนลิฟต์ในกรณีที่ขึ้นลงน้อยชั้น

o        รณรงค์ให้กดปุ่มเรียกลิฟต์เพียงครั้งเดียว

มีการใช้พลังงานทดแทนในองค์กร เช่น การใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ พลังงานลมพลังงานชีวมวล เป็นต้น
มีการจัดการสารเคมีและสารอันตราย ประกอบด้วย
1.        มีการจัดทำรายการสารอันตรายที่มีการเก็บและใช้งานอยู่ในปัจจุบันและมีการตรวจสอบจำนวนอย่างสม่ำเสมอ

2.        มีคู่มือความปลอดภัยในการใช้งานและแสดงข้อมูลพื้นฐานที่ต้องทราบเกี่ยวกับสารอันตราย ผลกระทบต่อสุขภาพและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่ตามมาเมื่อมีการใช้สารอันตรายเหล่านั้น

3.        มีการจัดระบบการจัดเก็บสารเคมีอย่างปลอดภัย เช่น มีการติดป้ายชื่อสารเคมี บรรจุหีบห่ออย่างแน่นหนาและกำหนดรายการสารที่ต้องเก็บไว้เฉพาะที่ เป็นต้น

4.        มีการตรวจสอบว่าสารอันตรายได้รับอนุญาตให้ใช้ได้ตามกฎหมาย เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง LPG  แอมโมเนีย เป็นต้น

5.        มีการตรวจสอบและรักษาสภาพการใช้งานของเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศให้มี การปล่อยก๊าซ CFC และ HCFC น้อยที่สุด

6.        หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีหรือสารอันตรายในสถานประกอบการ เช่น

o        เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสารฟอกขาวในปริมาณน้อย (เช่น กระดาษชำระ ตะเกียบ เป็นต้น)

o        มีการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดแมลง ยากำจัดวัชพืช

o        มีการใช้ปุ๋ยหมักแทนปุ๋ยเคมีในการบำรุงสวน

o        มีการใช้พืช (ตะไคร้หอม) หรือสารสกัดจากธรรมชาติ ฯลฯ  ในการกำจัดแมลงรบกวน (ยุงแมลงวัน แมลงต่างๆ) แทนการใช้สารเคมี

o        ผู้ประกอบการในธุรกิจที่พักมีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้านสังคม และเศรษฐกิจแก่ชุมชนโดยรอบและสร้างผลกระทบทางลบน้อยที่สุด

แนวปฏิบัติที่ 3          

ให้การสนับสนุนโครงการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่นโดยส่วนรวม เช่น การศึกษาสุขอนามัย  น้ำอุปโภค-บริโภค ความสะอาด เป็นต้น
ให้การสนับสนุนแก่ชุมชนท้องถิ่นที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตท้องถิ่นทั้งในรูปตัวเงินและวัสดุอุปกรณ์
มีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่นในการกำหนดทิศทางและแผนพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน
ให้การสนับสนุนแก่ชุมชน จัดทำกฎกติกาหรือจรรยาบรรณสำหรับการปฏิบัติในเรื่องต่างๆ รวมถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม และลดการใช้พลังงานในชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน
สนับสนุนชุมชนให้ได้รับการฝึกอบรมด้านความรู้และทักษะการบริหารจัดการและให้บริการทางการท่องเที่ยวรวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถขายเป็นสินค้า/ของที่ระลึกที่เป็นเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ของชุมชน เช่น อาหาร/เครื่องดื่ม เครื่องหัตถกรรม ศิลปะการแสดง เป็นต้น
มีการจ้างงานโดยคนท้องถิ่นเข้าทำงานในสถานประกอบการในหน้าที่ต่างๆ และจัดให้มีการฝึกอบรม เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะตามความจำเป็น
ให้ความเท่าเทียมเสมอภาคในเรื่องการจ้างงานโดยเฉพาะผู้หญิง และชนกลุ่มน้อย หลีกเลี่ยงการใช้แรงงานเด็ก
ให้ความเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน/คุ้มครองแรงงานและจ่ายค่าจ้างในอัตราที่เพียงพอกับการดำรงชีวิต
รับซื้อสินค้าจากท้องถิ่นเท่าที่สามารถจะกระทำได้ และให้ราคาที่เป็นธรรม
มีการใช้บริการของชุมชนท้องถิ่น เช่น ร้านอาหาร เครื่องดื่ม ที่พัก พาหนะขนส่ง มัคคุเทศก์ท้องถิ่น เป็นต้น
การให้บริการพื้นฐานแก่นักท่องเที่ยวในสถานประกอบการ เช่น น้ำอุปโภค ไฟฟ้า สุขอนามัยความปลอดภัย ฯลฯ ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนหรือเป็นปัญหาต่อชุมชนใกล้เคียง
ดังนั้น หากผู้ประกอบการไม่ว่าจะอยู่ในภาคส่วนใดในธุรกิจการท่องเที่ยว หากนำสิ่งเหล่านี้ไปปฏิบัติก็สามารถสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวได้ นอกเหนือจากการบริการที่มีมาตรฐานและมีคุณภาพ