หน้าเว็บ

น.ส.อัญชลี คำประชม รหัส 5210125401058 เอกการจัดการทั่วไป ภาคปกติ


บทที่ 11
การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต
ส่งเสริมมาตรการ Greening supply chain
            ได้มีการส่งเสริมผ่านการสัมมนาและฝึกอบรมให้แก่ภาคธุรกิจไทยให้เห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้คู่ค้าใส่ใจในการจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษจากการประกอบธุรกิจ นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาและวิจัยในประเทศและต่างประเทศ เพื่อทราบสถานการณ์การดำเนินงานในด้านนี้ และร่วมกันนำเสนอนโยบายและมาตรการที่เหมาะสมให้แก่หน่วยงานรัฐ
จัดทำแผนแม่บทการช่วยเหลือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่น
            สถาบันได้จัดทำ Master Plan of the Green Partnership Plan ใน 2 แผน คือระหว่างปี พ.ศ. 2544-2548 (ค.ศ. 2001-2005) และปี พ.ศ. 2549-2553 (ค.ศ. 2006-2010) เพื่อกำหนดกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นในการจัดการสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรม
การจัดการสิ่งแวดล้อมในภูมิภาค
            การดำเนินงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ สถาบันได้ร่วมกับองค์กรวิจัยของประเทศต่างๆ หลายโครงการและได้ร่วมทีมประเมินงานวิจัยและภาคสนามในหลายประเทศ เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการทำงาน การประสานงาน และการควบคุมการทำงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยตัวอย่างงานวิจัยระหว่างประเทศที่สำคัญ เช่น
            ในปี พ.ศ. 2547-2552 ได้ทำงานร่วมกับองค์กรวิจัยของประเทศต่างๆ เช่น ฟิลิปปินส์ อินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย ญี่ปุ่น จีน บังคลาเทศ ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณของ Institute for Global Environmental Strategies (IGES) ในการทำงานวิจัยประเด็นการค้าและสิ่งแวดล้อมระดับเอเชีย-แปซิฟิค (ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก) โดยศึกษาถึงการรีไซเคิล SME ระบบข้อมูล พลังงาน การเปิดการค้าเสรี เป็นต้น
            ในปี พ.ศ. 2551 ทำงานร่วมกับธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) และ The Energy and Resources Institute (TERI) ในเรื่อง Energy and climate change โดยร่วมกับองค์กรวิจัยในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ จีน และญี่ปุ่น โดยสถาบันรับผิดชอบงานวิจัยใน 5 ประเทศ คือ เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูชา และไทย
            ในปี พ.ศ. 2552 ทำงานร่วมกับ ADB และ TERI ในเรื่อง Technology Transfer เพื่อเตรียมการเจรจาในการประชุมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC: COP 15 Negotiation) ณ กรุงโคเปนเฮเก็น ประเทศเดนมาร์ก ร่วมกับองค์กรวิจัยในประเทศอินเดีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ จีน และ ญี่ปุ่น

ตัวอย่างธุรกิจที่สามารถบริหารจัดการธุรกิจสีเขียว
            จานชามจากชานอ้อย ชูคุณสมบัติย่อยสลายใน 45 วัน ใช้กับเตาไมโครเวฟได้โดยไม่มีสารก่อมะเร็งจานชามรวมถึงแก้วน้ำและกล่องบรรจุอาหารจากชานอ้อยนี้เป็นผลิตภัณฑ์จากบริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด บริษัทร่วมทุนระหว่างภาคเอกชน กับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ถือเป็นที่แห่งแรกในประเทศ ที่ผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
          นายแพทย์วีรฉัตรกิตติรัตนไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการบริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด จ.ชัยนาท กล่าวว่า บริษัทจัดตั้งมาแล้ว 2 ปี และอยู่ระหว่างทดลองตลาดในช่วงปีที่ 3 กำลังการผลิตอยู่ที่ 200 ล้านชิ้นต่อปี ใช้เยื่อชานอ้อย 3,000 ตันต่อปี จากโรงงานผลิตเยื่อกระดาษวาดเขียน ทิชชูแบบหยาบและผ้าอนามัย ราคาขายของบรรจุภัณฑ์ชานอ้อยจะแพงกว่ากล่องโฟมบรรจุอาหารแต่ก็ถูกกว่าพลาสติกประมาณ 20% และเมื่อเทียบคุณสมบัติแล้วบรรจุภัณฑ์จากชานอ้อยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 100%
          บรรจุภัณฑ์ชานอ้อยสามารถทนร้อนจัดและเย็นจัดที่อุณหภูมิ -40 ถึง 250 องศาเซลเซียสจึงนำเข้าช่องแช่แข็งและอบในเตาอบหรือไมโครเวฟได้ ทั้งยังทนน้ำร้อน และน้ำมันขณะตั้งไว้ภายนอกได้ 150 องศาเซลเซียส โดยไม่ก่อให้เกิดสารก่อมะเร็ง ต่างจากกล่องโฟมบรรจุอาหาร ที่จะหลอมละลายเมื่อได้รับความร้อนและไขมัน
      ด้านการย่อยสลายทางศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ทดสอบแล้วระบุว่าสามารถย่อยสลายหมดเกลี้ยงใน 45 วัน หลังจากฝังกลบในดิน และย่อยสลายได้เร็วขึ้นภายใน 31 วัน หากฝังกลบพร้อมกับเศษอาหารที่เหลือติดอยู่ เนื่องจากแบคทีเรียในอาหาร กอปรกับความร้อนและความชื้นในดิน ช่วยเพิ่มคุณสมบัติการย่อยได้ดีขึ้น
          บรรจุภัณฑ์จากชานอ้อยสามารถขึ้นรูปได้ตามที่ต้องการเก็บได้นาน 10 ปี ผลิตภัณฑ์มีสีน้ำตาลอ่อนตามสีชานอ้อยธรรมชาติ เพราะการผลิตไม่ใช้สารคลอรีนในการฟอกสี ปัจจุบันบริษัทผลิตเป็น จาน ชาม ถาด ถ้วยขนาดต่างๆ กว่า 26 แบบ ซึ่งกว่า 80% ส่งออกต่างประเทศ โดยตลาดหลักคือ สหรัฐ อังกฤษ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น
ที่มา : หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก, ฉบับบวันที่ 11 มิถุนายน 2551

ไม่มีความคิดเห็น: