บทที่ 2 แนวคิด
ทฤษฎีทางการบริหารจัดการที่สำคัญ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันเทคนิคการบริหารดุลยภาพ
Balance
Score Card หรือที่เรียกว่า การบริหารเชิงควบคุมของเดวิด นอร์ตัน
และแคปแลนด์
การบริหารจัดการสมัยใหม่ต้องมียุทธศาสตร์เป็นความเข้าใจกันอยู่ในปัจจุบัน
กล่าวคือจะมีการให้ความสำคัญกับความชัดเจนในทิศทางอันหมายถึงเป้าหมายของการบริหารงานที่เกิดจากความริเริ่มเมื่อพนักงานเห็นทิศทางของงานขององค์กรชัดเจน
จึงมุ่งที่จะสัมผัสทิศทางนั้นให้ได้
ดั้งนั้นเส้นทางหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานสามารถปรับเปลี่ยนเพื่อให้สั้นเข้า ลดความซับซ้อน
ย่นระยะเวลาได้ยิ่งดี ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในเวลาอันรสเร็ว
นี่คือพื้นฐานแนวคิดของการบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์ที่สามารถกำชัยชนะในเวลาอันรวดเร็ว
การบริหารจัดการควรมีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะปรับโครงสร้างและกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายงานและองค์กรได้ตลอดเวลาถ้าเราแนวคิดของ
เดวิด นอร์ตันและแคปแลนต์
มาวิเคราะห์จะพบว่าการบริหารงานองค์กรนั้นเขาบอกว่าจะสร้างหรือพัฒนาความเข้มแข็งองค์ประกอบการบริหารทั้งสี่ด้านคือ
ด้านการเงิน ด้านกระบวนการ การบริหารงานภายใน ด้านการเรียนรู้ การเติบโต และด้านลูกค้า
โดยแต่ละด้าน จะต้องมีการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ทั้งในทางส่งเสริม
สนับสนุนหรือขัดแย้งกัน
เดวิด นอร์ตัน และแคปแลนด์
เสนอให้ใช้เทคนิคการบริหารดุลยภาพบาร์ลาน สกอการ์ด
เป็นเครื่องมือในการจัดการทรัพยากรขององค์กรให้สามารถวัดผลการดำเนินงานให้ออกมาเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของเงินหรือคุณค่าหรือศักยภาพที่จะทำให้กระบวนการบริหารจัดการงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งเรียกการบริหารงานในลักษณะนี้ว่าการบริหารงานแบบมียุทธศาสตร์และเราก็ยอมรับกันว่าเป็นการบริหารงานแบบใหม่
(Modern
Management) อีกรูปแบบหนึ่ง
หากเรายอมรับเอาแนวคิดการบริหารดุลยภาพ
BSC เป็นการแบ่งยุคการบริหารสมัยเก่าและสมัยใหม่
โดยใช้จุดกำเนิดการบริหารดุลยภาพ BSC ราวปี 2533 ซึ่งในปีนี้ เดวิด นอร์ตัน
และแคปแลนด์ได้ทำการวิจัยผลการดำเนินงานขององค์กรชื่อ Measuring
Performance in the Organization Of the Future เป็นจุดการแบ่งความเก่า
ความใหม่ ของแนวคิดและเทคนิคการบริหารจัดการคงจะยอมรับกันได้
การยอมรับเช่นนี้ก็ไม่ได้เสียหายแต่ประการใด
หากยังอธิบายลักษณะการบริหารจัดการที่ชัดเจน ง่ายต่อการเข้าใจ มากขึ้น เสียอีก
นับตั้งแต่การกำเนิดการบริหารดุลยภาพ BSC วงการบริหารจัดการได้มีการกล่าวถึงอย่างจริงจังมาจนถึงทุกวันนี้
โดยเฉพาะช่วงวิฤตเศรษฐกิจต่างๆ ทั้งในอเมริกาใต้ และเอเชียรวมทั้งประเทศไทยมีการนำเอาเทคนิค
BSC ไปประยุกต์ใช้กันอย่างกว้างขว้างทั้งภาครัฐและเอกชน
แม้ว่าเครื่องมือการบริหารดุลยภาพ
BSC มิใช่เครื่องมือที่ดีที่สุดที่จะอธิบายถึงประสิทธิภาพ
ประสิทธิผลของการบริหารจัดการก็ตาม
แต่ก็ยังไม่มีเครื่องมือใดที่จะเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันที่จะอธิบายการบริหารงานแบบมียุทธ์ศาสตร์
โดยเฉพาะกรอบการบริหารดุลยภาพ BSC
ที่มา: นิรนาม เทียมทัน. (2549).
การบริหารงานอย่างมียุทธ์ศิลป์ . กรุงเทพฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น