นาย โชคดี กลิ่นศร การจัดการทั่วไป 5210125401077
ขั้นตอนการพัฒนาองค์การไปสู่การเป็นองค์การเพื่อการเรียนรู้
จากคำจำกัดความของการเป็นองค์การเพื่อการเรียนรู้ การพัฒนาองค์การไปสู่การเป็นองค์การเพื่อการเรียนรู้จึงเกี่ยวข้องกับขั้นตอนหลัก 3 ขั้นตอน คือ การเรียนรู้ หรือการแสวงหาความรู้ (Knowledge acquisition) การแบ่งปันความรู้ (Knowledge sharing) และนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้(Knowledge utilization) ซึ่งจะเห็นได้ว่าขั้นตอนหลักของ การพัฒนาองค์การไปสู่การเป็นองค์การเพื่อการเรียนรู้นี้เกี่ยวข้องกับการจัดการองค์ความรู้ หรือ Knowledge management ซึ่ง Garvin กล่าวว่า การจัดการองค์ความรู้ในองค์การเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการพัฒนาองค์การไปสู่การเป็นองค์การเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งในส่วนต่อไปจะอธิบายถึง 3 ขั้นตอนนี้
1) การแสวงหาความรู้ (Knowledge acquisition)
องค์การจะสามารถเรียนรู้ได้ก็ต่อเมื่อสมาชิกในองค์การแต่ละคนต่างก็เรียนรู้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเมื่อสมาชิกในองค์การเกิดการเรียนรู้แล้วองค์การจะกลายเป็นองค์การเพื่อการเรียนรู้ในทันทีหรือโดยอัตโนมัติ ยังมีปัจจัยต่างๆอีกมากที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ แต่อย่างไรก็ตามการเรียนรู้ในระดับบุคคลก็ยังคงเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นไป กล่าวคือในระดับกลุ่มหรือทีมและระดับองค์การต่อไป
2) การแบ่งปันความรู้ (Knowledge sharing)
การแบ่งปันความรู้ คือ การถ่ายทอดความรู้ที่ได้เรียน มาให้กับสมาชิกในองค์การหรือเพื่อนร่วมงาน เมื่อแต่ละ คนในองค์การต่างก็แสวงหาความรู้แล้ว ขั้นตอนต่อไปที่ จะกล่าวถึงคือ การแบ่งปันความรู้ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ที่จะพัฒนาองค์การไปสู่การเป็นองค์การเพื่อการเรียนรู้ นักวิจัยกล่าวว่า หากมีแต่การแสวงหาความรู้แต่ไม่มีการแบ่งปันความรู้ ก็จะไม่เป็นประโยชน์ต่อองค์การเท่าที่ควรในทางปฏิบัติ
3) การใช้ความรู้ (Knowledge utilization)
การนำความรู้ไปใช้ คือ การใช้และการขยายความรู้ที่ได้มา เพื่อการตัดสินใจ รวมทั้งประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพกับสถานการณ์ใหม่ๆ ที่มากระทบกับองค์การ ดังนั้น การรู้ว่าจะนำความรู้ส่วนไหนและจากที่ใดมาใช้จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับขั้นตอนนี้ นอกจากนี้ขั้นตอนของการใช้ความรู้ยังขึ้นกับประสิทธิภาพของการเรียนรู้และระบบการจัดเก็บความรู้ (Organizational memory system) ในองค์การด้วย
อ้างอิง องค์การเพื่อการเรียนรู้ ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุรพร ศุทธรัตน์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น