หน้าเว็บ

ปณิตา 064 การจัดการทั่วไป รุ่น52 ภาคปกติ


บทที่ 9 การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

                การเปลี่ยนแปลงในองค์การอาจเกิดได้หลายระดับคือระดับบุคคล  กลุ่มหรือองค์การ โดยที่การเปลี่ยนแปลงด้านใดด้านหนึ่ง ก็จะส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นด้วยก็ได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์และยุทธศาสตร์ขององค์การ อาจต้อให้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างขององค์การด้วย เป็นต้น และการเปลี่ยนแปลงจะเกี่ยวข้องกับคนไม่โดยตรงก็โดยอ้อม ดังนั้นจึงจำเป็ฯที่ดำเนินการเปลี่ยนแปลงให้ราบรื่นและสำเร็จผลตามต้องการการดำเนินการดังกล่าวได้จะต้องมีการบริหาร นั่นคือ การบริหารการเปลี่ยนแปลงโดยในเรื่องนี้จะนำเสนอความหมายและตรวจแบบหรือแนวคิดการบริหารการเปลี่ยนแปลง
                การบริหารการเปลี่ยนแปลง หมายถึง การดำเนินการของผ็บริหารที่มุ่งจัดเตรียมบุคลากรและองค์การ เพื่อการนำวิธีการใหม่มาใช้ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการ นโยบาย เทคโนโลยี และอื่น โดยพยายามทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดผลต่อบทบาทและความรับผิดชอบของบุคลากร
                จากความหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการบริหารการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวข้องกับ
1.ผู้บริหารหรือผู้นำ ซึ่งจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลยอมรับการเปลี่ยนแปลง
2.การติดต่อสื่อสาร เพราะเป็นเรื่องการปฏิบัติงานและบุคลากรเพื่อให้เกิดความเข้าใจและการยอมรับ
3.บทบาทและความรับผิดชอบนั่นจะต้องมีทั้งผู้บริหารและบุคลากรที่จะต้องร่วมกันให้เกิดผลแห่งการเปลี่ยนแปลงตามต้องการ
4.การจัดสรรทรัพยากร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจะต้องใช้ทรัพยากรทั้งบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ และงบประมาณ
5.การฝึกอบรมและพัฒนา เพราะเกี่ยวกับบุคลากร อันจะทำให้เกิดความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลง
6.เกณฑ์วัดผลดำเนินงานนั่นคือจะต้องมีการประเมินผลการเปลี่ยนแปลง โดยจะต้องหาการชี้วัด เพื่อตรวจสอบและวัดคุณค่าของการเปลี่ยนแปลง
7.สภาวะหนึ่งไปสู่อีกภาวะหนึ่ง หมายถึง เกี่ยวกับเรื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์ปัจจุบันที่ไม่เหมาะสมสอดคล้องในอนาคตไปสู่สภาพการณ์ที่ต้องการต่อไป

อ้างอิง : กิ่งพร ทองใบและคนอื่นๆ. (2553). องค์การและการจัดการและการจัดการเชิงกลยุทธ์. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทันธรรมาธิราช.

ไม่มีความคิดเห็น: