หน้าเว็บ

นางสาววัชรี ทองห่อ รหัส 5210125401052 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4



บทที่ 10

การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

การแข่งขันเพื่อการได้เปรียบ (Competitive Advantage)

ในเรื่องการแข่งขันเพื่อการได้เปรียบนั้น จะพบว่า ไมเคิล พอทเตอร์ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการตัวแทนอุตสาหกรรมของท่านประธานาธิบดี โรนัล เรแกน พอทเตอร์ มีโอกาสได้นั่งอยู่ท่ามกลางกลุ่มนักธุรกิจ ผู้นำแรงงาน นักวิชาการ และอดีตข้าราชการของรัฐ ซึ่งแต่ละท่านไม่สามารถให้คำจำกัดความหมายของ “การแข่งขัน” การแข่งขันที่ได้เปรียบในทางธุรกิจ ซึ่งความหมายของการแข่งขันเพื่อการได้เปรียบ หมายถึง ความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก ส่วนผู้แทนสภาครงเกรส หมายถึง ความพึงพอใจต่อการไม่ขาดดุลการค้า แต่ดูเหมือนปัญหาหนักอยู่ที่ว่าไม่มีทฤษฎีใดเป็นที่ยอมรับในการอธิบาย “คอมพีติตีฟเนส” ดังนั้นการที่ “พอทเตอร์” ที่ได้นั่งเป็นคณะกรรมการอยู่ในกรรมการนั้นเห็นการวางแนวทางทฤษฎีเกี่ยวกับเนื้อหาการแข่งขันภายในประเทศและระดับโลก

ถ้าหากพอทเตอร์ไม่สามารถให้ความเข้าใจแก่กลุ่มเพื่อนในคณะกรรมการนั้น ก็คงไม่มีใครในอเมริการที่สามารถอธิบายชัดได้ ปี 1980 พอทเตอร์ ได้เขียนหนังสือยุทธศาสตร์การแข่งขันในช่วงที่เป็นศาสตราจารย์หนุ่มจากฮารวาร์ด ได้เสนอความรู้แก่ชาวโลกว่า บริษัทจะขยายหรือวางตำแหน่งของตนเอง ในยุคการแข่งขันต่อคู่ต่อสู้ของพวกเขาได้อย่างไร ดังนั้น พอทเตอร์จึงได้ให้ความเห็นว่า “ความได้เปรียบในการแข่งขันเกิดขึ้นจากคุณค่าของบริษัทที่สามารถสร้างขึ้นเพื่อลูกค้า ไม่ว่าคุณค่านั้นจะมีฐานมาจากราคาต่ำหรือการมีกำไร และกำไรที่เพิ่มขึ้นนั้น จะนำมาสนับสนุนการผลิตเพิ่มหรือการบริการให้มีคุณภาพได้อย่างไร”

เครื่องมือที่พอทเตอร์เสนอให้ผู้จัดการรับทราบจากยุทธศาสตร์การแข่งขันและความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งมีกฎอยู่ 5 ประการ คือ

1. ศักยภาพของคู่แข่งขันใหม่

2. สภาวะกดดันจากการผลิตและการบริการ

3. อำนาจต่อรองระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ

4. จุดอ่อนและจุดแข็งของบริษัท

5. ผลกระทบจากราคาที่ใกล้เคียงกันหรือแตกต่างกัน ที่เกิดจากโครงสร้างของอุตสาหกรรม

อ้างอิง : การแข่งขันสู่ความเป็นเลิศ, บุญทัน ดอกไธสง, ปี 2539, หน้า20-21




ไม่มีความคิดเห็น: