หน้าเว็บ

นางสาวสายพิณ สิงห์ใจ 5130125401248


บทที่ 7 การพัฒนาองค์การไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ในการพัฒนาองค์กรต่อไปในอนาคต โครงสร้างการเรียนรู้มีอยู่ 7 ระดับ

1. บุคคลเรียนรู้ (Personal Learning) มีการเรียนรู้ด้วยตัวเอง จัดสอน อบบรม ให้บุคคลมีโอกาสเรียนรู้ รวมถึงการประเมินวัดผลและทดสอบเป็นรายบุคคล

2. ทีมเรียนรู้(Team learning) โดยทุกคนร่วมเรียนรู้และมีการถ่ายทอดงานให้กัน และสามารถทดแทนกันได้หากมีผู้หนึ่งผู้ใดในทีมขาดไป

3. เรียนรู้ข้ามสายงาน (Cross Functional Learning)เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ถ้าระหว่างทีมไม่มีการเรียนรู้ข้ามสายงาน ปัญหาในการประสานงานจะเกิดขึ้น การแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และทักษะวิธีคิดข้ามสายงาน จะทำให้เข้าใจระบบงานซึ่งกันและกัน นอกจากนั้น ในการขึ้นเป็นผู้บริหารระดับสูง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรอบรู้ในทุกสายงานขององค์กร ควรได้มีการหมุนเวียนให้ครบทุกสายงานก่อน(Spiral Career Path)

4. เรียนรู้เรื่องภายในองค์กร พนักงานต้องรู้และเข้าใจภาวะความเป็นจริงขององค์กรว่าเป็นอย่างไร มีทิศทาง(Corporate Vision) ไปทางใหน กลยุทธ์ธุรกิจ การตลาดและหน้าที่ เป็นอย่างไร ตลอดจน เรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมขององค์กร(Organizational Culture) เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการอยู่ร่วมกัน

5. เรียนรู้สภาวะแท้จริงภายนอกองค์กร พนักงานไม่ใช่จะเรียนรู้เฉพาะแต่งานประจำเท่านั้น ต้องเรียนรู้ว่าโลกภายนอกเปลี่ยนแปลงอย่างไร มีเหตุการณ์อะไรที่จะก่อให้เกิดผลคุกคามต่อความอยู่รอดขององค์กร มีเทคโนโลยีอะไรใหม่ๆเกิดขึ้นบ้าง เพื่อนำมาปรับปรุงองค์กรให้ทันสมัย ก้าวหน้าทันโลก

6. เรียนรู้อนาคตและโอกาสทางธุรกิจ ในระดับนี้ทำได้ยาก ต้องมีการสอนและฝึกฝนพนักงาน พอควร โดยเฉพาะระดับผู้นำต้องรู้ที่จะวิเคราะห์ และคาดการณ์อนาคตได้ มองเห็นช่องทางธุรกิจที่สามารถทำได้ในอนาคตนอกเหนือจากธุรกิจที่ทำในปัจจุบัน

7. องค์ความรู้นำไปปฏิบัติให้เกิดผลตามวิสัยทัศน์ ส่วนนี้มีความสำคัญมากที่สุด เพราะการจะเป็นองค์กรเรียนรู้ได้นั้น จะต้องมีการนำความรู้ไปปฏิบัติจริง การถ่ายทอดเป็นเพียงการสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น ไม่ได้เกิดผล และต้องนำผลที่ได้จากการปฏิบัติมาวิเคราะห์และสังเคราะห์สร้างภูมิปัญญาใหม่ๆเพื่อเสริมศักยภาพตลอดไป ความรู้ความเข้าใจเท่านั้นไม่ได้เกิดผล และต้องนำผลที่ได้จากการปฏิบัติมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์สร้างภูมิปัญญาใหม่ๆเพื่อเสริมศักยภาพตลอดไป

อย่างไรก็ตาม การที่บุคคลจะเรียนรู้ในทั้ง7ระดับดังกล่าวได้นั้น จำเป็นต้องมีความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้และ.รู้ในวิธีการเรียนซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งยวดที่จะทำให้เกิดการรู้อย่างลึกซึ้งเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างได้ผลการที่จะรู้วิธีการเรียน นั้นถือเป็นปัจจัยพื้นฐานของบุคลเรียนรู้ ที่มักถูกมองข้ามบ่อยๆ มนุษย์ทุกคนมีในทักษะในการเรียน (Learning skill &potentiality) และรับรู้ได้ไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ สภาพทางร่างกาย ภูมิหลังการเลี้ยงดูในอดีต และประสพการณ์ที่ได้รับ รวมถึงปัจจัยความต้องการ ที่กระตุ้นให้บุคคลนั้นมีการเรียนรู้การใช้ชีวิตและการแก้ปัญหา จนก่อเกิดทักษะ ความสามารถที่จะรับรู้และเข้าใจความต้องการของตนเอง วิธีการที่จะได้มา ตลอดจนคาดการณ์ผลลัพธ์จากการลงมือกระทำได้อย่างถูกต้อง ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวจะพบได้ในบุคคลอัจฉริยะในบ้านเราไม่น้อย

ไม่มีความคิดเห็น: