การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environment Analysis)
การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะของอุตสาหกรรม ซึ่งจะสร้างโอกาส และ อุปสรรค และ ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญใหม่ๆขึ้นมา ผู้บริหารจึงต้องประเมินทรัพยากรและความสามารถขององค์กร โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในด้วย ทั้งนี้เพื่อทราบถึงจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรด้วยสภาพแวดล้อมภายในองค์กร (Internal Environment Analysis) เป็นปัจจัยภายในที่ขึ้นกับทรัพยากรและความสามารถขององค์กรเอง ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารสามารถควบคุมได้ (Controllable Factor)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน มีการวิเคราะห์ได้หลายวิธี ที่นิยมกันได้แก่
1. การวิเคราะห์ตามหน้าที่ (FUNCTIONAL ANALYSIS)
2. การวิเคราะห์ปัจจัย 7 ประการของ McKinsey (Mckincy 7-S Framwork)
3. สายโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain Analysis)
การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กรตามหน้าที่การปฏิบัติงาน
การวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง โดยพิจารณาจากสายงาน หรือ หน้าที่ของงานด้านต่างๆ โดยเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน หรือ การดำเนินงานที่ผ่านมาในอดีต การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์การ
การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์การตามหน้าที่การปฏิบัติงาน ประกอบด้วย
1. ด้านการบริหารโดยพิจารณา
1.1 ทักษะ และ ความสามารถของผู้บริหาร
1.2 โครงสร้างองค์กร
1.3 ระบบการวางแผน
1.4 มาตรฐานกระบวนการปฏิบัติงาน
1.5 ระบบการควบคุม
1.6 วัฒนธรรมองค์กร
1.7 จรรยาบรรณของผู้บริหาร
2 ด้าน เทคโนโลยี โดยพิจารณาจาก
2.1 ต้นทุน (COST OF TECHNOLOGY)
2.2 การประหยัดจากขนาดการผลิต (Economic of scale)
2.3 การเพิ่มผลผลิต (PRODUCTIVITY)
2.4 ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Conpetitive Advantage)
2.5 ระบบข้อมูลสารสนเทศ (Information Technology)
3 ด้าน การบริหารทรัพยากรมนุษย์
3.1 ทัศนคติของพนักงาน
3.2 ทักษะความสามารถในการทำงาน
3.3 ประสบการณ์
3.4 จำนวนพนักงาน
3.5 อัตราการขาดงาน / การเข้าออกของพนักงาน
3.6 การจ่ายค่าตอบแทน เงินเดือน และ สวัสดิการ
3.7 ขวัญ และ กำลังใจ
3.8 การวิเคราะห์งาน
3.9 ระบบสรรหา และ คัดเลือก
4 ด้าน การผลิตโดย พิจารณา เครื่องจักร มีประสิทธิภาพการดัดแปลงใช้กับงานอื่นค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงความพร้อมของเครื่องจักร อุปกรณ์วัตถุดิบ ปริมาณต้นทุนจำนวนผู้ผลิต และ ผู้ขายจุดสั่งซื้อ และ ระยะเวลาในการสั่งซื้อ
การจัดซื้ออย่างมีคุณภาพ
4.3 กระบวน
กระบวนการผลิต
กำลัง และ ขีด ความสามารถการผลิต
ระบบควบคุม ระบบคุณภาพ
มีระบบสารสนเทศ สนับสนุนการผลิต
4.4 การบริหารสินค้าคงเหลือ
คุณภาพของสินค้า
ต้นทุนสินค้า ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ และการเก็บ
ปริมาณการผลิตที่เหมาะสม ปริมาณสินค้าคงคลัง
5. ด้าน การตลาดโดย พิจารณา
ส่วนแบ่งตลาด (SEGMENTATION)
กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (TARGET MARKET)
ตำแหน่งของตลาด (POSITIONING)
ผลิตภัณฑ์ (PRODUCT)
ราคา (PRICE)
ช่องทางการจัดจำหน่าย (PLACE)
การส่งเสริมการขาย/การตลาด (PROMOTION)
วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์
6. ด้าน การเงิน โดยพิจารณาจาก
แหล่งที่มาของเงินทุน
ต้นทุนของเงินลงทุน
ปริมาณเงินทุน
ระยะเวลาการใช้คืนเงินทุน
โครงสร้างของเงินทุน
สภาพคล่องทางการเงิน
ความเสี่ยงทางธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น