หน้าเว็บ

หทัยทิพย์ การจัดการทั่วไป ปี 4 รหัส 5210125401070 หมู่ 1

การเก็บรวบรวมข้อมูลสภาพแวดล้อม
ในการวิเคราะห์ SWOT องค์กรควรได้ศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทั้งภายใน และ ภายนอกกิจการ เพื่อทำให้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม และ ผลกระทบที่เกิดขึ้น การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจทำได้หลายวิธีร่วมกัน ดังนี้
1. จากข้อมูล จากหน่วยงานเก็บรวบรวมไว้แล้ว
2. ข้อมูลจากพนักงานในองค์การ
3. หนังสือพิมพ์ วารสารทางธุรกิจต่างๆ
4. หน่วยงานของรัฐ หรือ เอกชน
5. ฐานข้อมูลต่างๆ ทั้งภายใน ภายนอกองค์กร
6. ข้อมูลจากลูกค้า และ ผู้จัดส่งวัตถุดิบ


7. ข้อมูลจากการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญการพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม
นอกจากข้อมูลที่รวบรวมจากแหล่งข้อมูลต่างๆแล้ว ธุรกิจอาจต้องพยากรณ์ คาดการณ์ ถึงสภาพแวดล้อมในอนาคต เช่น การพยากรณ์ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี เพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจ กำหนดกลยุทธ์ ที่เหมาะสม กับองค์กรต่อไป
การพยากรณ์ ทำได้หลายวิธีด้วยกัน ทั้งใน เชิงคุณภาพ และ เชิงปริมาณ ดังนี้
1. การใช้ข้อมูลจากอดีตมาคาดการณ์อนาคต
2. ใช้ข้อวิจารณ์ หรือ ความคิดเห็นของบุคคลต่างๆ
3. ใช้ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
4. ระดมสมอง
5. การคาดการณ์สถานการณ์ในอนาคต
6. จากนักพยากรณ์อนาคต
7. ใช้สถิติในการวิเคราะห์ การถัวเฉลี่ย การวิเคราะห์อนุกรมเวลา การวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis)

3 ความคิดเห็น:

kitti กล่าวว่า...

ขอเอกสารอ้างอิงด้วยค่ะ

blueheart กล่าวว่า...

งั้นขอหาใหม่นะคะอ. เพราะว่าเอามาจากเว็บไม่ได้ใช่มั๊ยคะ

blueheart กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก

ในการกำหนดกลยุทธ์ที่มีประสิทธิผลเพื่อนยึดครองโอกาสนั้น ผู้ประกอบการต้องทำการวิเคราะห์องค์ประกอบ 2 ประการคือ

1.สภาพแวดล้อมภายนอก โดยทำการศึกษาแนวโน้มสภาพแวดล้อมทั่วไป และสภาพแวดล้อมอุตสาหากรรม หรือสภาพแวดล้อมการแข่งขัน เพื่อค้นหาช่องว่างจากตลาด

2. สภาพแวดล้อมภายใน หรือการวิเคราะห์กิจการ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไป หรือการวิเคราะห์ PEST ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี

การเมือง
- ภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล
- งบประมาณของรัฐ
- นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรม
- นโยบายการเงินและระดับอัตราดอกเบี้ย
- ข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ
- กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและการแข่งขัน
- การออกกฎระเบียบและการผ่อนคลายกฎระเบียบของรัฐ
- การปฏิบัติในระดับท้องถิ่น
- นโยบายด้านการศึกษา

เศรษฐกิจ
- วัฏจักรธุรกิจ
- ภาวะการจ้างงาน
- อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน
- ราคาที่อยู่อาศัยและภาวะตลาดหลักทรัพย์
- การพัฒนาเศรษฐกิจ

สังคม
- อัตราการเติบโตของประชากร
- โครงสร้างอายุ
- การโยกย้ายถิ่นฐาน
- การเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรม

เทคโนโลยี
- ระดับค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมต่างๆ
- ตลาดใหม่
- วิธีการผลิต
- อัตราการยอมรับเทคโนโลยีใหม่

สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม

การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการ
1. อุปสรรคที่สกัดกั้นผู้ที่จะเข้ามาใหม่
2. การแข่งขันของกิจการที่มีอยู่เดิม
3. แรงกดดันจากผลิตภัณฑ์ทดแทน
4. อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ
5. อำนาจการต่อรองของผู้จัดหา

อ้างอิงจาก อำนาจ ธีระวนิช. (2549). ผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.