หน้าเว็บ

Noppamas Pintamorn foofong_2mai3_sensibility@hotmail.com



5 ขั้นสู่การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน




1 มองว่ากฎระเบียบ กฎหมาย มาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ คือโอกาส (Viewing Compliance as Opportunity)
วิธีเริ่มต้นที่ดี ก็คือ เล่นตามน้ำ ปรับกระบวนการต่างๆ ให้สอดคล้องตามกฎระเบียบระดับประเทศ ระดับภูมิภาค ไปจนถึงระดับสากลให้ได้ แล้วค่อยพัฒนาไปทำเรื่องที่ยากขึ้น ก็จะเป็นองค์กรที่นำหน้าองค์กรอื่นๆ อยู่หนึ่งก้าว (หรือหลายก้าว) เสมอ



ตัวอย่าง

ช่วงปี 1990s เริ่มมีกระแสต้านสารตะกั่วในผลิตภัณฑ์ HP จึงเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีสารพิษน้อยลง หาทางเลือกที่ดีกว่ามาทดแทนสารตะกั่วตั้งแต่นั้นมา ในปี 2006 เมื่อสหภาพยุโรปประกาศมาตรการต่อต้านเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสารตะกั่ว ผลิตภัณฑ์ของ HP ผ่านมาตรการต่างๆ ได้ในทันที ในขณะที่อีกหลายบริษัท อาจเพิ่งจะเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ปลอดสารตะกั่ว ซึ่งเสียโอกาสทางธุรกิจมหาศาล



2 พัฒนากระบวนการผลิต/ การทำงาน ให้ยั่งยืน (Making Value chains Sustainable)
ได้แก่ ออกแบบกระบวนการผลิตให้ดีต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น ใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติน้อยลง ของเสียลดลง ลดคาร์บอนไดออกไซด์ พัฒนาพลังงานสะอาด คิดวิธีจัดการกับผลิตภัณฑ์ชำรุดหรือถูกตีกลับ ฯลฯ นอกจากนี้องค์กรยังควรทำการค้ากับซัพพลายเออร์ที่มีกระบวนการผลิตที่ดีต่อสังคม/สิ่งแวดล้อม ซึ่งเรื่องนี้อาจต้องใช้เวลาปรับตัวกันสักระยะหนึ่ง แต่ด้วยการกำหนดทิศทางที่ชัดเจนก็จะช่วยสร้างมารตฐานการผลิตใหม่ขึ้นได้



ตัวอย่าง

พนักงาน IBM กว่า 25% จาก 320,000 คน ทำงานออนไลน์จากที่บ้าน พนักงาน ประหยัดเวลา ประหยัดค่าเดินทาง ลดคาร์บอนจาก การเดินทาง ฯลฯ ในขณะเดียวกัน ช่วยให้บริษัทฯ ประหยัดค่าพื้นที่สำนักงาน เป็นเงินกว่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ



ปี 2008 Wal-Mart กำหนดทิศทางให้กับซัพพลายเออร์ กว่าพันรายในประเทศจีน ว่าจะต้อง ลดของเสียและการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ลดค่าใช้จ่ายจากหีบห่อลง 5% ภายในปี 2013 และลดการใช้พลังงานลง 25% ให้ได้ภายใน 3 ปี (ปี 2011)





3 ออกแบบผลิตภัณฑ์ และ/หรือ บริการ ที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง (Designing Sustainable Products & Services)
อาจปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น หรือสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมาเลย แต่ควรจะสร้างผลิตภัณฑ์/บริการที่ ดีต่อสิ่งแวดล้อมจริงๆ ไม่ใช่แค่สร้างภาพ ถ้าไม่รู้จะเริ่มตรงไหน ให้ลองมองหาผลิตภัณฑ์ตัวที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด แล้วพัฒนาให้มันดีขึ้น

ตัวอย่าง

ปี 2005 P & G คิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ผงซักฟอกที่ใช้กับน้ำเย็นได้ดี เพื่อช่วยประหยัดพลังงานในการทำน้ำอุ่น โดนใจแม่บ้านชาวยุโรปทีเดียว ในปี 2008 แม่บ้านชาวฮอลแลนด์หันมาใช้น้ำเย็นซักผ้าแทนน้ำอุ่น 52% (จากเมื่อก่อนแค่ 5%) แม่บ้านอังกฤษใช้น้ำเย็นซัก 21% (จาก 2% เมื่อปี 2002) ในขณะที่แม่บ้านอเมริกันยังไม่สนใจจะเปลี่ยนพฤติกรรมนัก!



4 การสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ (Developing New Business Models)
ความท้าทายคือ การสร้างนวัตกรรมที่จะเพิ่มคุณค่าและเปลี่ยนตลาดการแข่งขันไปเลย
สิ่งที่จำเป็นคือ ความสามารถที่จะเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคและพัฒนาวิธีการใหม่ๆ ที่จะตอบสนองความต้องการนั้นๆ รวมถึงการร่วมมือกับหุ้นส่วนใหม่ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการได้
ซึ่งอาจนำไปสู่ การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่จะสามารถปฏิวัติวงการนั้นๆ ได้เลย สิ่งที่น่าสนใจคือ การเน้นการหารายได้จากบริการมากกว่าตัวสินค้าเป็นหลัก

ตัวอย่าง

ในปี 2008 FedEx ร่วมกับบริษัทจัดพิมพ์เอกสาร (Kinko) เสนอบริการใหม่ในการส่งสินค้าประเภทเอกสาร ด้วยการรับดิจิตอลไฟล์จากผู้ส่ง แล้ว FedEx จัดส่งไฟล์ไปยังร้านรับพิมพ์ในเครือปลายทาง พิมพ์และเข้าเล่มให้เรียบร้อย ก่อนจะส่งถึงมือผู้รับ บริการใหม่นี้ ช่วยประหยัดเวลาของผู้ส่ง (ไม่ต้องกังวลเรื่องการพิมพ์ การทำสำเนา ฯลฯ) ได้งานพิมพ์คุณภาพดี ลดขั้นตอน ลดภาระการขนส่ง และลดคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นบริการใหม่ท่ีลูกค้าพอใจ



5 การสร้างตลาดแห่งอนาคต (Creating Next-Practice Platforms)
ความท้าทายคือ การตั้งคำถาม เกี่ยวกับแนวคิดและวิธีการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันผ่านมุมมองด้านความยั่งยืน สิ่งที่จำเป็นคือ ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรม ความสามารถในการสร้างโมเดลทางธุรกิจใหม่ เทคโนโลยีใหม่ และกฎเกณฑ์ใหม่ในอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่โอกาสในการสร้างตลาดใหม่ ที่ลูกค้าและคู่ค้าสามารถท่ีจะบริหารจัดการพลังงานในลักษณะที่แตกต่างจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง

2 สิ่งที่จะช่วยให้องค์กรเป็นองค์กรที่ยั่งยืนได้ คือ
1. ผู้บริหารที่ใส่ใจและจริงจัง เช่น วางเป็นวัตถุประสงค์ขององค์กร ที่ต้องการจะเป็นองค์กรที่ยั่งยืนให้ได้
2. การเลือกคนที่ใช่เข้ามาร่วมงาน รวมถึงพยายามรักษาพนักงานที่ใช่ ให้อยู่กับองค์กรนานๆ ในทางกลับกัน องค์กรที่มีแนวทางที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ก็จะดึงพนักงานให้มีความสุขที่จะทำงานกับองค์กร และจะสามารถรักษาพนักงานที่มีความสามารถเอาไว้ได้มากกว่า


การมุ่งสู่การเป็นบริษัทที่รับผิดชอบต่อสังคม ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ประโยชน์ที่องค์กรและสังคมได้รับนั้น เป็นเรื่องที่ท้าทายมากทีเดียว สิ่งสำคัญที่ผู้บริหารควรใส่ใจคือSustainability = Innovation ความยั่งยืนคือนวัตกรรม




www.green.in.th

ไม่มีความคิดเห็น: