หน้าเว็บ

นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ รหัส 078 การจัดการทั่วไป



การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในการพัฒนาองค์การ

1.การเปลี่ยนแปลงในด้านสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ทั้งในลักษณะระหว่างบุคคลและกลุ่ม โดยปกตินั้นมนุษย์ถือว่าเป็นสัตว์ทางสังคม ในองค์การย่อมมีแบบแผนในการติดต่อสื่อสารกันเป็น 2 แนวด้วยกัน คือ แนวแรก เป็นการติดต่อกันแบบไม่เป็นทางการ (Informal contacts) ตามความต้องการของแต่ละบุคคลแต่ละกลุ่มด้วยเหตุผลทั้งส่วนตัวและหรือส่วนงานเกิดขึ้นโดยธรรมชาติจะห้ามไม่ได้แต่นักพัฒนาองค์การควรจะมีความเข้าใจที่จะหยิบยกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในงาน แนวที่สองคือ การติดต่อสัมพันธ์กันแบบเป็นทางการอันเนื่องจากสายงาน ทางเดินของงานในองค์การทั่วไป เฉพาะอย่างยิ่งองค์การแบบระบบ ราชการ(Bureaucracy) นั้นมีการติดต่อสื่อสารจากเบื้องบนลงมาเบื้องล่างตามอำนาจหน้าที่และถ้าพิจารณาจากงแง่มุมของหลักการพัฒนาองค์การแล้ว การติดต่อแบบนี้ย่อมปราศจากความเข้าใจปัญหาร่วมกันและจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาองค์การหรือการแก้ปัญหาร่วมกันในเชิงทีม

2.การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ภายในองค์การ โครงสร้างขององค์การนั้นส่วนหนึ่ง หมายถึงสายการบังคับบัญชาตามลำดับขั้นตามสายงานที่ได้แบ่งไว้เพื่อปฏิบัติภารกิจหรือหน้าที่ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การนั้นก็คือ การสั่งงานให้ผู้ที่อยู่ระดับล่างปฏิบัติ ส่วนบุคคลเหล่านั้นจะเห็นด้วยหรือไม่นั้นไม่ต้องคำนึงถึง แต่โดยหลักของการพัฒนาองค์การแล้วการทำเช่นนั้นย่อมจะไม่ได้ผลแต่จำเป็นจะต้องคำนึงถึงการทำความเข้าใจในวัตถุประสงค์ร่วมกันระหว่างผู้สั่งกับผู้รับคำสั่งตั้งแต่แรกคือ การสร้างการยอมรับ ความผูกพันในภาระหน้าที่ก็จะตามมา

3.เงื่อนไขเวลาของการเปลี่ยนแปลง ในหลักการของการพัฒนาองค์การนั้น เป็นเรื่องของความพยายามในการเปลี่ยนแปลงระยะยาวย่อมเป็นการยากที่จะกำหนดตายตัวลงไปว่าเมื่อใดจึงจะสำเร็จ จะต้องเป็นกระบวนการต่อเนื่องหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่ากระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องแบบประชาธิปไตย

อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การพัฒนาองค์การ

โดยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปีที่พิมพ์ 2544
                            

ไม่มีความคิดเห็น: