หน้าเว็บ

น.ส.นฤมล คำแหงพล รหัส 5130125401247

การวิเคราะห์ภายนอก : โอกาส, อุปสรรค, การแข่งขันทางอุตสาหกรรม
โดยทั่วไปการรับรู้ต่อสภาพแวดล้อมไม่มีขอบเขตทิ้นสุดและทุกๆสิ่งภายนอกของการมีความหลายหลายเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามการพิจารณาการวิเคราะห์ปัจจุบันเป็นเพียงมุมหนึ่งของสภาพแวดล้อมที่องค์การไม่มีความแน่นอน และต้องยอมรับเพื่อการอยู่รอด ดังนั้นสภาพแวดล้อมในองค์การคือตัวกำหนดส่วนประกอบที่เกิดขึ้นทั้งหมดหรือบางส่วนขององค์การ จุดประสงค์ของการศึกษาสภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อการชี้ถึงโอกาสและอุปสรรค ซึ่งช่วยให้บริษัทสามารถปรับการแข่งขันเชิงกลยุทธ์ เพื่อทำให้บริษัทประสบผลสำเร็จในการบริหารงาน สิ่งซึ่งเรยกว่า “โอกาส” คือสิ่งที่เป็นหนทางที่นำไปสู่ความได้เปรียบที่มีความน่าจะเกิดขึ้นได้ ในขณะที่ “อุปสรรค” คือแรงบีบคั้นที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งทั้งโออาสและอุประสรรคอาจมีผลกระทบต่อความพยายามของบริษัทในการแข่ขันด้านกลยุทธ์ให้ประสบผลสำเร็จได้
องค์ประกอบของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
- การตรวจสอบ เป็นการระบุถึงสัญญาณเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของสภาพแวดล้อม
- การควบคุม เป็นการจับความหมายผ่านการสังเกตอย่างต่อเนื่องของการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของสภาพแวดล้อม
- การคาดคะเน เป็นการพัฒนาการวางแผนรองรับผลล่วงหน้าอันอาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของสภาพแวดล้อม
- การประเมินสถานการณ์ เป็นการกำหนดจังหวะเวลาและความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของสภาพแวดล้อมสำหรับกลยุทธ์ของบริษัทและการจัดการกลยุทธ์เหล่านั้น
ที่มา : Q.Nguyen & H. Mintzberg, The rhythm of change, MIT Sloan Management Review, 44 (4), 2003,
        pp. 79-84
สภาพแวดล้อมมักมีอิทธิพลต่อทิศทางและการดำเนินงานของโครงการ โครงสร้างองค์การ และกระบวนการภานในองค์การ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ถูกกำหนดด้วยสภาพแวดล้อมต่างๆ ซึ่งสามารถสรุปได้เป็น 3 ปัจจัยดัได้แก่
1.ปัจจัยในสภาพแวดล้อมระยะไกล
-เศรษฐกิจ
- สังคม
-การเมือง
-เทคโนโลยี
-นิเทศวิทยา
2.ปัจจัยในสภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม
-อุปสรรคที่เกิดจากคู่แข่งขันรายใหม่
-อำนาจต่อรองของซัพพลายเออร์
-อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ
-อุปสรรคที่เกิดจากสินค้าทดแทน
-การแข่งขันช่วงชิงท่ามกลางบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นมา
3.สภาพแวดล้อมการทำงาน
-คู่แข่งขัน
-เจ้าหนี้ 
-ลูกค้า
-ผู้จัดจำหน่าย
ที่มา : John A. Pearce II and Richard B. Robinson, Jr., Strategic Management Published by Mc Graw-Hill/lrwin, a business unit of The Mc Graw-Hill Companies., Copyright 2005. P.78
ที่มา : วิเชียร วิทยาอุดม, รศ. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร : ธนธัชการพิมพ์.

ไม่มีความคิดเห็น: