หน้าเว็บ

นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ รหัส 078 สาขาการจัดการทั่วไป



แนวคิดทฤษฎีทางการบริหารจัดการที่สำคัญตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ทฤษฎีภาวะผู้นำ (Leadership Theories) ซึ่งแบ่งแนวการศึกษาออกได้เป็น 3 แนวทางคือ

1. ทฤษฎีภาวะผู้นำตามคุณลักษณะเฉพาะ (Trait Theories) ทฤษฎีภาวะผู้นำแนวนี้จึงเน้นที่จะค้นหา “คุณสมบัติของบุคคลที่ยิ่งใหญ่” เพื่อสร้างเป็นตัวแบบไว้ให้บุคคลที่ปรารถนาจะเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลได้ใช้เป็นแนวทางในการศึกษา

Davis ได้สรุปลักษณะที่สำคัญ 4 ประการซึ่งจำเป็นสำหรับภาวการณ์เป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลในทรรศนะของเขาไว้ในหนังสือ Human Relations at Work คือ

1.ความเฉลียวฉลาด หมายถึง ความหลักแหลมในการวิเคราะห์ปัญหาหรือวิเคราะห์สัมพันธภาพที่ยุ่งยากซับซ้อนระหว่างบุคคล รวมตลอดถึงความสามารถในการรับรู้ ติดต่อสื่อสารและจูงใจบุคคลอื่นด้วย

2.การบรรลุภาวะทางสังคม ผู้นำมักสนใจในเรื่องทั่วๆไปอย่างกว้างขวางและมีความมั่นคงทางอารมณ์ไม่หวั่นไหวง่าย ไม่มีทัศนคติเป็นปฏิปักษ์ต่อสังคม มีความเชื่อมั่นในตนเอง

3.มีการจูงใจภายในและและมีแรงขับทางด้านการสำเร็จ จะตอบสนองแรงจูงใจภายในโดยมุ่งทำงานที่ได้รางวัลประเภทความพอใจในสิ่งซึ่งจับต้องไม่ได้มากกว่าที่จะได้มาซึ่งรางวัลอันเป็นสิ่งภายนอกที่จับต้องได้

4.มีทรรศนะคติทางด้านมนุษยสัมพันธ์ สร้างความสัมพันธ์ ความเข้าใจอันดีตลอดจนการสังสรรค์ทางสังคม ซึ่งต้องอาศัยมนุษยสัมพันธ์แทบทั้งสิ้น

ส่วน Dubrin & Ireland กล่าวคุณสมบัติเฉพาะที่มีผลต่อความเป็นผู้นำที่มีประสิทธผลซึ่งผ่านกระบวนการวิจัยและเฝ้าสังเกตมาแล้ว ดังนี้

1.ทักษะด้านการรู้คิดหรือความเข้าใจ เป็นทักษะที่ผู้บริหารสามารถใช้ในการคิดแก้ปัญหาโดยเข้าใจโครงสร้างของปัญหาและมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมกับปัญหาแล้วสามารถแก้ปัญหาได้ ซึ่งประกอบด้วย 3 ทักษะคือ

- ความสามารถในการแก้ไขปัญหา



- ความสามารถหยั่งรู้ตัวบุคคลและสถานการณ์

- ความสามารถด้านเทคนิคและความเป็นมืออาชีพ

2.คุณลักษณะเฉพาะทางบุคลิกภาพ เป็นความสามารถในการส่งเสริมให้ผู้บริหารประสบผลสำเร็จปฏิบัติงาน ได้แก่

- ความเชื่อมั่นในตนเอง แรงจูงใจด้านอำนาจ ความต้องการประสบความสำเร็จ อารมณ์ขัน ความกระตือรือร้น และการแสดงออกที่เหมาะสม

3.มนุษยสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา

4.ทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

5.เป็นตัวอย่างที่ดี

6.สัมผัสที่อ่อนไหว

7.ความคาดหวังสูงที่คงเส้นคงวา

8.สนับสนุนผู้ใต้บังคับบัญชา

2. ทฤษฎีภาวะผู้นำตามแนวพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Theories) เกิดขึ้นเนื่องจากแนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำตามคุณลักษณะเฉพาะไม่ประสบความสำเร็จ จึงมีการพยายามศึกษาทฤษฎีภาวะผู้นำตามแนวทางด้านพฤติกรรมของผู้นำกับผู้ตามเป็นหลัก ดังนี้

1.การศึกษาของมหาวิทยาลัยไอโอวา (Iowa Studies) ศึกษาโดยโรนัลด์ ลิพพิทท์ และราล์ฟ ไวท์ ซึงใช้วิธีการวิจัยแบบทดลอง เมื่อปี ค.ศ. 1930 ภายใต้การอำนวยการของ เคิร์ต เลวิน (Kurt Lewin) แห่งมหาวิทยาลัยไอโอวา ผู้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการฝึกอบรมแบบกลุ่มพลวัติและนักทฤษฏีด้านความเข้า­ใจ กลุ่มนักวิจัยได้ทำการทดลองกับเด็กชายอายุ 10 ปี สมาชิกในกลุ่มจะอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้นำ3แบบด้วยกัน คือ อำนาจนิยม ประชาธิปไตย และเสรีนิยม

2.การศึกษาที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอ (Ohio Studies) กระทำการศึกษาโดยหน่วยวิจัยทางธุรกิจในปี ค.ศ. 1945 ในการศึกษาครั้งนี้ได้มีการสร้างแบบสอบถามที่อธิบายถึงพฤติกรรมของผู้นำขึ้นมา ข้อสรุปของการศึกษาครั้งนี้พิจารณาจากมิติของข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม LBDQ คือ มิติของผู้นำที่คิดคำนึงถึงผู้อื่นและมิติการริเริ่มทางโครงสร้าง

- มิติคิดคำนึงถึงผู้อื่น ผู้นำในมิตินี้จะเป็นบุคคลที่มีความเป็นมิตรวางใจได้ น่าเคารพ และให้ความเป็นกันเองที่อบอุ่น

- มิติการริเริ่มทางโครงสร้าง ผู้นำในมิตินี้เน้นการกำหนดบทบาท โดยการกำหนดรูปแบบการทำงาน วิธีการทำงาน ตารางเวลาการปฏิบัติงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชา

3.การศึกษาที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน (Michigan Studies) ก็ได้ทำการศึกษาเรื่องภาวะผู้นำเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ สรุปเกี่ยวกับความเป็นผู้นำหรือภาวะผู้นำคือ ผู้นำที่มุ่งเน้นงาน และผู้นำที่มุ่งเน้นคน

- ผู้นำที่มุ่งเน้นงาน จะมีพฤติกรรมที่สนใจการปฏิบัติงาน วิธีทำงานและผลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังบัญชา

- ผู้นำที่มุ่งเน้นคน มีพฤติกรรมที่สนใจการพัฒนากลุ่มทำงาน ความพอใจในการทำงานและสวัสดิการของผู้ใต้บังคับบัญชา

3.ทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ (Contingence Theories) เป็นทฤษฎีที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบันที่พยายามผสมผสานโดยนำทฤษฎีต่างยุคต่างสมัยมาร่วมกันใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างเพื่อให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

- ตัวแบบผู้นามสถานการณ์ของฟิดเลอร์ เป็นทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ในระยะต้นๆ ซึ่งพัฒนาโดยเฟรด ฟิดเลอร์ กล่าวว่าผู้นำที่ดีเป็นส่วนผสมระหว่างแบบของผู้นำกับสถานการณ์ที่ต้องการ

- ตัวแบบภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของเฮอร์เซย์- บลันชาร์ด กล่าวถึงผู้นำที่จะประสบความสำเร็จต้องปรับแต่งรูปแบบ ในการนำของตนเองด้วยการปฏิบัติต่อผู้ใต้บังบัญชาให้เกิดความพร้อมหรือความยินยอม

ชื่อหนังสือ หลักการจัดการ หลักการบริหาร

ชื่อผู้แต่ง ตุลา มหาพสุธานนท์

บริษัท สำนักพิมพ์ พ.ศ. จำกัด ปีที่พิมพ์ 2545




ไม่มีความคิดเห็น: