การวิเคราะห์สภาพแวดล้
ผู้โพส : นางสาวสอาด รหัส 5130125401218
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้ อมภายในเป็นการศึกษาเพื่อค้ นหาและระบุว่าองค์การจะต้องบริ หารงานและดำเนินงานที่จะนำปัจจั ยขององค์การมาใช้เพื่อสร้ างความได้เปรียบในการแข่งขั นจากจุดแข็งและโอกาส ตลอดจนเพื่อหลีกเลี่ยงจุดอ่ อนและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น การวิเคราะห์สภาพแวดล้ อมภายในขององค์การสามารถทำได้ หลายวิธี ดังนี้ คือ การวิเคราะห์โดยใช้ทรัพยากรเป็ นฐานเป็นการพิจารณาถึงคุณลั กษณะพิเศษของทรัพยากรที่จะสร้ างผลตอบแทนเข้าสู่องค์การ การวิเคราะห์ลูกโซ่แห่งคุณค่ าเป็นการพิจารณากิ จกรรมภายในขององค์การ ที่สร้างคุณค่าให้กับลูกค้า แบ่งเป็นกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม และกิจกรรมสนับสนุน 4 กิจกรรม เพื่อนำไปสู่การได้เปรียบเที ยบทางการแข่งขัน โดยการปรับปรุงกิจกรรมในแต่ละกิ จกรรมให้เป็นจุดแข็งที่จะก่อให้ เกิดคุณค่าให้แก่ลูกค้า การวิเคราะห์ตามหน้าที่ธุรกิ จเป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้ อมภายในองค์การโดยแยกตามหน้าที่ ธุรกิจ คือ การตลาด การเงิน การผลิตและดำเนินงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การวิจัยและพัฒนา การจัดการและระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์โครงร่าง 7-S ของแมคคีนซีย์เป็นการศึกษาปัจจั ยที่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่มี ผลต่อความสำเร็จในการดำเนิ นงานขององค์การ ประกอบด้วย โครงร่าง กลยุทธ์ ระบบ รูปแบบ การบริหาร พนักงาน ทักษะฝีมือและค่านิยมร่ วมและการวิเคราะห์ความสามารถหลั กขององค์การเป็นการวิเคราะห์ปั จจัยที่เป็นความสามารถหลั กขององค์การที่จะนำไปสู่การแข่ งขันให้ประสบความสำเร็จ โดยการสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้ าที่สามารถรับรู้ได้ เช่น ความคงทน ความสะดวกสบาย หรือความน่าใช้ในตัวสินค้าหรื อบริการ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
2 ความคิดเห็น:
นางสาว สายชน นาคปานเสือ รหัส 521025401055
ทฤษฎี X และทฤษฎี Y ของแมคเกรเกอร์.
แมคเกรเกอร์ (McGregor, 1960) ได้ชี้ให้เห็นถึงแบบของการบริหาร 2 แบบ คือ ทฤษฎี X ซึ่งมีลักษณะเป็นเผด็จการ และทฤษฎี Y หรือการมีส่วนร่วม แต่ละแบบเกี่ยวข้องกับสมมุติฐานที่มีต่อลักษณะของมนุษย์ดังนี้
ผู้บริหารแบบทฤษฎี X เชื่อว่า
1. มนุษย์โดยทั่วไปไม่ชองการทำงาน และพยายามหลีกเลี่ยงงานถ้าสามารถทำได้
2. เนื่องจากการไม่ชอบทำงานของมนุษย์ มนุษย์จึงถูกควบคุม บังคับ หรือข่มขู่ให้ทำงาน ชอบให้สั่งการและใช้วิธีการลงโทษ เพื่อให้ใช้ความพยายามได้เพียงพอ และบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
3. มนุษย์โดยทั่วไปพอใจกับการชี้แนะสั่งการหรือการถูกบังคับ ต้องการหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ มีความทะเยอทะยานน้อย และต้องการความมั่นคงมากที่สุด ผู้บริหารตามทฤษฎี X จึงต้องสร้างแรงจูงใจโดยการข่มขู่ และลงโทษ เพื่อทำให้ลูกน้องใช้ความพยายามให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์การ
ผู้บริหารแบบทฤษฎี Y มีความเชื่อว่า
1. การทำงานเป็นการตอบสนองความพอใจ
2. การข่มขู่ด้วยวิธีการลงโทษไม่ได้เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการจูงใจให้คนทำ งาน บุคคลที่ผูกพันกับการบรรลุถึงความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์การ จะมีแรงจูงใจด้วยตนเองและควบคุมตนเอง
3. ความผูกพันของบุคคลที่มีต่อเป้าหมายขึ้นอยู่กับรางวัล และผลตอบแทนที่พวกเขาคาดหวังว่าจะได้รับเมื่อเป้าหมายบรรลุถึงความสำเร็จ
4. ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการทำงาน เป็นการจูงใจให้บุคคลอมรับและแสวงหาความรับผิดชอบ มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน
ทฤษฎี Y เน้นถึงการพัฒนาตนเองของมนุษย์ ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์นั้นรู้จักตัวเองได้ถูกต้อง รู้จักความสามารถของตนเอง ผู้บริหารควรสร้างแรงจูงใจโดยการสร้างสรรค์สถานการณ์ที่จะทำให้สมาชิกมีความ รู้สึกรับผิดชอบ และมีส่วนร่วมในการทำงาน ในการบริหารนั้น มีการนำทฤษฎีเชิงจิตวิทยามาใช้จำนวนมาก เพราะการบริหารเป็นการทำงานกับ “คน” และทฤษฎีจิตวิทยาก็พูดเรื่อง “คน” การศึกษาทฤษฎีจิตวิทยาที่เกี่ยวกับการควบคุมกำกับพฤติกรรมของมนุษย์ การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน และภาวะผู้นำ จึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้บริหาร Donglas Mc Gregor ได้ค้นพบแนวคิด “พฤติกรรมองค์การ” และสรุปว่า กิจกรรมการบริหารจัดการล้วนมีสาเหตุรากฐานมาจากทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์ (human behaviors) ซึ่งเป็นไปตามกรอบทฤษฎี X และทฤษฎี Y คือ
ทฤษฎี X (Theory X) คือคนประเภทเกียจคร้าน ในการบริหารจึงควรใช้มาตรการบังคับ มีระเบียบกฎเกณฑ์คอยกำกับ มีการควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด และมีการลงโทษเป็นหลัก
ทฤษฎี Y (Theory Y) คือคนประเภทขยัน ควรมีการกำหนดหน้าที่การงานที่เหมาะสม ท้าทายความสามารถ สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเชิงบวก และควรเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการบริหารงาน
อ้างอิงจาก หนังสือ ทฤษฎี องค์การเพื่อการบริหาร
ร.ศ.ดร สมิหร่า จิตลดากร
สำนักพิมพ์ คงวุฒิ คุณากร พิมพ์ ครั้งที่ 3
5 กุมภาพันธ์ 2546
นายธนกฤต อาชีวะประดิษฐ รหัส 5210125401053
ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์.
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งกำหนดโดยนักจิตวิทยา
ชื่อ มาสโลว์ (Abraham Maslow) เป็นทฤษฎีการจูงใจที่มีการกล่าวขวัญอย่างแพร่หลาย มาสโลว์มองว่าความต้องการของมนุษย์มีลักษณะเป็นลำดับขั้น จากระดับต่ำสุดไปยังระดับสูงสุด เมื่อความต้องการในระดับหนึ่งได้รับการตอบสนองแล้ว มนุษย์ก็จะมีความต้องการอื่นในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
1. ความต้องการทางร่างกาย (physiological needs) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์เพื่อความอยู่รอด เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค อากาศ น้ำดื่ม การพักผ่อน เป็นต้น
2. ความต้องการความปลอดภัยและมั่นคง (security or safety needs) เมื่อมนุษย์สามารถตอบสนองความต้องการทางร่างกายได้แล้ว มนุษย์ก็จะเพิ่มความต้องการในระดับที่สูงขึ้นต่อไป เช่น ความต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความต้องการความมั่นคงในชีวิตและหน้าที่การงาน
3. ความต้องการความผูกพันหรือการยอมรับ (ความต้องการทางสังคม) (affiliation or acceptance needs) เป็นความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ซึ่งเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ เช่น ความต้องการให้และได้รับซึ่งความรัก ความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ ความต้องการได้รับการยอมรับ การต้องการได้รับความชื่นชมจากผู้อื่น เป็นต้น
4. ความต้องการการยกย่อง (esteem needs) หรือ ความภาคภูมิใจในตนเอง เป็นความต้องการการได้รับการยกย่อง นับถือ และสถานะจากสังคม เช่น ความต้องการได้รับความเคารพนับถือ ความต้องการมีความรู้ความสามารถ เป็นต้น
5. ความต้องการความสำเร็จในชีวิต (self-actualization) เป็นความต้องการสูงสุดของแต่ละบุคคล เช่น ความต้องการที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างได้สำเร็จ ความต้องการทำทุกอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง เป็นต้น
อ้างอิง ชัชรี นฤทุม. 2545. การพูดและการเขียนในงานส่งเสริม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
แสดงความคิดเห็น