หน้าเว็บ

นางสาววัชรี ทองห่อ รหัส 5210125401052 การจัดการทั่วไป

ทฤษฎีนิเวศวิทยาขององค์การ (Ecolohical Perspectives)
ดับบลิว. เกรแฮม แอสเลย์ (W. Graham Astley) ได้เสนอไว้ในปี ค.ศ. 1985 เสนอว่าทฤษฎีนี้ มุ้งเน้นวิธีการตรวจสอบองค์การเป็นการเฉพาะ ซึ่งจะวิเคราะห์ 2 ประเด็นหลักคือ การวิเคราะห์นิเวศวิทยาชุมชนขององค์การ และการวิเคราะห์นิเวศวิทยาสมาชิกขององค์การ เป็นการพิจารณาจากสมาชิกในกลุ่มขององค์การ โดยมีสาระสำคัญสรุป ดังนี้
1. ทฤษฎีนิเวศวิทยาชุมชนขององค์การ
ทฤษฎีนิเวศวิทยาชุมชนขององค์การ ซึ่งแอสเลย์ วิเคราะห์ว่า “องค์การ จำเป็นต้องรวมกลุ่มขององค์การเข้าด้วยกันในอันที่จะร่วมมือกันจนสามารถควบคุมความไม่แน่นอนของสภาพแวดล้อมได้” เช่น กลุ่มของนักธุรกิจรวมตัวกันเป็นสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย เพื่อล็อบบี้รัฐบาลให้ลดหรือเพิ่มดอกเบี้ย ให้รัฐบาลหามาตรการช่วยเหลือธุรกิจที่สมาชิกของสมาคมประสบปัญหา หรือกรณีการรวมตัวกันของสถาบันราชภัฏ 8 แห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ร่วมกันกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการรับนักศึกษา และการร่วมมือกันในการพัฒนาบุคลากร หรือแม้แต่การรวมตัวของโรงเรียนมัธยมเป็นสหวิยาเขต ก็ถือว่า ได้ใช้กรอบความคิดของทฤษฎีนี้เช่นกัน
2. ทฤษฎีนิเวศวิทยาสมาชิกขององค์การ
ทฤษฎีนิเวศวิทยาสมาชิกขององค์การ นำเสนอโดย ไมเคิล ที. ฮันนัน (Michael T.Hanan) และจอห์น ฟรีแมน (John Freeman) นักนิเวศวิทยาองค์การเสนอว่า “ความพยายามที่จะควบคุมสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอนนั้น อาจจะเป็นการจัดการกับองค์ประกอบที่ไม่ถูกต้องของสภาพแวดล้อมก็ได้ กล่าวคือ องค์การไม่สามารถกำหนดให้ครอบคลุมได้ว่า สภาพแวดล้อมทีสำคัญๆใดบ้าง เป็นปัจจัยคุกคามองค์การที่องค์การต้องการจะจัดการและควบคุม” ทฤษฎีนิเวศวิทยาสมาชิกขององค์การ เป็นความพยายามที่จะศึกษากระบวนการเกิดขององค์การและการล่มสลายขององค์การ ดังเช่น กรณีของธนาคารมหานครไปรวมกับธนาคารกรุงไทย หรือกรณีการยุบธนาคารกรุงเทพพาณิช ในช่วงการประกาศมาตรการของรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาสถาบันการเงินของประเทศไทย ในช่วงวิกฤตการณ์ปัญหาเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540-2541 มาตรการดังกล่าว ประกาศออกมาเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2541
ที่มา : หนังสือ ทฤษฎีองค์การ ผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร.ทองใบ สุดชารี ปี 2547 หน้า 27

อัญชลี คำประชม

บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารจัดการที่สำคัญ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
เทคนิคการบริหารดุลยภาพ Balance Score Card หรือที่เรียกว่า การบริหารเชิงควบคุม ของเดวิด นอร์ตัน และแคปแลนด์
การบริหารจัดการสมัยใหม่ต้องมียุทธศาสตร์เป็นความเข้าใจกันอยู่ในปัจจุบัน กล่าวคือจะมีการให้ความสำคัญกับความชัดเจนในทิศทางอันหมายถึงเป้าหมายของการบริหารงานที่เกิดจากความริเริ่มเมื่อพนักงานเห็นทิศทางของงานขององค์กรชัดเจน จึงมุ่งที่จะสัมผัสทิศทางนั้นให้ได้ ดั้งนั้นเส้นทางหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานสามารถปรับเปลี่ยนเพื่อให้สั้นเข้า ลดความซับซ้อน ย่นระยะเวลาได้ยิ่งดี ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในเวลาอันรสเร็ว นี่คือพื้นฐานแนวคิดของการบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์ที่สามารถกำชัยชนะในเวลาอันรวดเร็ว
การบริหารจัดการควรมีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะปรับโครงสร้างและกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายงานและองค์กรได้ตลอดเวลาถ้าเราแนวคิดของ เดวิด นอร์ตันและแคปแลนต์ มาวิเคราะห์จะพบว่าการบริหารงานองค์กรนั้นเขาบอกว่าจะสร้างหรือพัฒนาความเข้มแข็งองค์ประกอบการบริหารทั้งสี่ด้านคือ ด้านการเงิน ด้านกระบวนการ การบริหารงานภายใน ด้านการเรียนรู้ การเติบโต และด้านลูกค้า โดยแต่ละด้าน จะต้องมีการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ทั้งในทางส่งเสริม สนับสนุนหรือขัดแย้งกัน
เดวิด นอร์ตัน และแคปแลนด์ เสนอให้ใช้เทคนิคการบริหารดุลยภาพบาร์ลาน สกอการ์ด เป็นเครื่องมือในการจัดการทรัพยากรขององค์กรให้สามารถวัดผลการดำเนินงานให้ออกมาเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของเงินหรือคุณค่าหรือศักยภาพที่จะทำให้กระบวนการบริหารจัดการงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเรียกการบริหารงานในลักษณะนี้ว่าการบริหารงานแบบมียุทธศาสตร์และเราก็ยอมรับกันว่าเป็นการบริหารงานแบบใหม่ (Modern Management) อีกรูปแบบหนึ่ง
หากเรายอมรับเอาแนวคิดการบริหารดุลยภาพ BSC เป็นการแบ่งยุคการบริหารสมัยเก่าและสมัยใหม่ โดยใช้จุดกำเนิดการบริหารดุลยภาพ BSC ราวปี 2533 ซึ่งในปีนี้ เดวิด นอร์ตัน และแคปแลนด์ได้ทำการวิจัยผลการดำเนินงานขององค์กรชื่อ Measuring Performance in the Organization Of the Future เป็นจุดการแบ่งความเก่า ความใหม่ ของแนวคิดและเทคนิคการบริหารจัดการคงจะยอมรับกันได้ การยอมรับเช่นนี้ก็ไม่ได้เสียหายแต่ประการใด หากยังอธิบายลักษณะการบริหารจัดการที่ชัดเจน ง่ายต่อการเข้าใจ มากขึ้น เสียอีก
นับตั้งแต่การกำเนิดการบริหารดุลยภาพ BSC วงการบริหารจัดการได้มีการกล่าวถึงอย่างจริงจังมาจนถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะช่วงวิฤตเศรษฐกิจต่างๆ ทั้งในอเมริกาใต้ และเอเชียรวมทั้งประเทศไทยมีการนำเอาเทคนิค BSC ไปประยุกต์ใช้กันอย่างกว้างขว้างทั้งภาครัฐและเอกชน
แม้ว่าเครื่องมือการบริหารดุลยภาพ BSC มิใช่เครื่องมือที่ดีที่สุดที่จะอธิบายถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของการบริหารจัดการก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีเครื่องมือใดที่จะเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันที่จะอธิบายการบริหารงานแบบมียุทธ์ศาสตร์ โดยเฉพาะกรอบการบริหารดุลยภาพ BSC
ที่มา: นิรนาม เทียมทัน. (2549). การบริหารงานอย่างมียุทธ์ศิลป์ . กรุงเทพ

น.ส สมใจ มูลพงษ์



แนวคิดทฤษฎีการจัดการการบริหาร



แนวความคิดการจัดการเชิงระบบ

แนวความคิดการจัดการเชิงระบบ โดย Norbert Wiener (ค.ศ. 1958) เป็นการนำเอาแนวคิดเกี่ยวกับระบบ (system) มาประยุกต์ใช้ ซึ่งการที่จะเข้าใจแนวความคิดนี้ได้ดีนั้นจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบในอันดับแรกก่อน



ระบบ (system) คือ ส่วนต่าง ๆ จำนวนหนึ่ง ซึ่งสัมพันธ์และขึ้นอยู่ต่อกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อกระทำงานสิ่งบางอย่างให้สำเร็จผลตามต้องการ



ลักษณะสำคัญของระบบ

1. ในระบบใหญ่ (system) จะประกอบด้วยระบบย่อย (sub system)

2. ทั้งระบบจะมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาในลักษณะเป็น dynamic

3. การเคลื่อนไหวของระบบย่อย (sub system) จะมีผลกระทบซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ (chain of effect)

4. การเปลี่ยนแปลงของระบบหนึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบอื่น



ชนิดของระบบ



ระบบแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

1. ระบบปิด (closed system) เป็นระบบที่ไม่เกี่ยวพันกับสิ่งแวดล้อมภายนอก และสิ่งแวดล้อมภายนอกจะไม่มีอิทธิพลต่อกลไกของระบบ

2. ระบบเปิด (opened system) เป็นระบบที่ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสิ่งแวดล้อมภายนอกต่าง ๆ นั้นมีอิทธิพลต่อกลไกของระบบ



องค์ประกอบสำคัญของระบบ

ดังนั้น แนวความคิดการจัดการเชิงระบบ (system approach) เป็นแนวความคิดที่มององค์การและกลไกภายในองค์การว่าลักษณะเหมือนกับระบบ กล่าวคือถ้าจะพิจารณาองค์ประกอบส่วนนำเข้า (input) ขององค์การก็ได้แก่ ปัจจัยทางการจัดการต่าง ๆ เช่น วัตถุดิบ แรงงาน เครื่องจักร โดยส่วนนำเข้าเหล่านี้จะนำไปผ่านกระบวนการ (process) คือผ่านกระบวนการและกิจกรรมทางการบริหาร และในส่วนของผลลัพธ์ (output) ก็คือ สินค้า หรือบริหาร และนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ก็คือ กำไร ผลตอบแทนที่น่าพอใจของผู้ถือหุ้นและความอยู่รอเจริญเติบโตขององค์การ



การมองโดยภาพรวมขององค์การ อาจกล่าวได้ว่าองค์การเป็นระบบเปิด เนื่องมาจาก การทำงานโดยผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ออกมาเป็นความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ได้แก่ กฎหมาย เศรษฐกิจ การเมือง ลูกค้า คู่แข่งขัน เทคโนโลยี ฯลฯ ซึ่งความสำเร็จขององค์การจะมีประสิทธภาพมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ นอกจากนี้ก็มีระบบการควบคุม ประเมินผลงานเพื่อเป็นข้อมูลย้อนกลับหรือ feedback เพื่อนำไปสู่การแก้ไขและพัฒนาต่อไป



อ้างอิง : มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 2547. วิวัฒนาการของแนวคิดทางการจัดการ. [Online]./Available: URL:http://www.fareastern.ac.th/acad/mk/sirinapha/management/chapter3.htm

นางสาววัชรี ทองห่อ รหัส 5210125401052 การจัดการทั่วไป

การชำระภาษีด้วยวิธีใดบ้าง ?
การชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นอกจากผู้เสียภาษี จะชำระภาษีโดยการ ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว ถ้าในการยื่นแบบ แสดงรายการ และคำนวณภาษี ตามแบบแสดงรายการ ที่ยื่นนั้น มีภาษีที่ต้องชำระ หรือต้องชำระเพิ่มเติมอีก ก็ให้ชำระ หรือชำระเพิ่มเติม ต่อเจ้าหน้าที่สรรพากร พร้อมกับ การยื่นแบบนั้น โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับชำระ จะออกหลักฐานใบเสร็จ แสดงการรับเงินภาษี และถือเป็นหลักฐาน แสดงการยื่นแบบฯ ให้กับ ผู้ยื่นแบบแสดงรายการ ทุกราย การชำระภาษีเลือกวิธีการชำระได้ดังนี้
1. ชำระด้วยเงินสด
2. ชำระด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ได้เฉพาะที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตกรุงเทพมหานคร (โดยผู้ถือบัตรอิเล็กทรอนิกส์เป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียม)
3. ชำระด้วยเช็คหรือดราฟต์
3.1 เช็คที่ชำระต้องเป็นเช็ค 4 ประเภท ได้แก่
(1) เช็คธนาคารแห่งประเทศไทย (เช็คประเภท ก.)
(2) เช็คที่มีธนาคารค้ำประกัน (เช็คประเภท ข.)
(3) เช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย (เช็คประเภท ค.)
(4) เช็คที่ผู้มีหน้าที่ชำระเงินภาษีอากรเป็นผู้เซ็นสั่งจ่าย และใช้ชำระโดยตรง (เช็คประเภท ง.)
การใช้เช็คประเภท ง. ให้ปฏิบัติดังนี้
(ก) กรณีใช้ชำระภาษีในกรุงเทพมหานคร และในจังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร (เฉพาะอำเภอเมืองสมุทรสาคร และอำเภอกระทุ่มแบน) จังหวัดนครปฐม (เฉพาะอำเภอสามพราน) และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (เฉพาะอำเภอบางปะอิน) ต้องเป็นเช็คของธนาคาร หรือสาขาธนาคาร ซึ่งตั้งอยู่ใน ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งข้างต้นเท่านั้น
(ข) กรณีใช้ชำระภาษีในจังหวัด (อำเภอ) อื่นนอกจาก (ก) ให้ใช้ได้เฉพาะกรณีที่เปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารหรือ สาขาธนาคารซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดท้องที่อันเป็นภูมิลำเนาเท่านั้น
3.2 การสั่งจ่ายเช็คหรือดราฟต์ ให้ขีดคร่อม และสั่งจ่ายดังนี้
(1) ในกรุงเทพมหานคร ให้สั่งจ่าย “กรมสรรพากร” กับขีดฆ่าคำว่า “ผู้ถือ” ออก
(2) ในต่างจังหวัด
(ก) กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 และชำระภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
หรือธนาคารด้วยเช็คประเภท ง. ให้สั่งจ่ายแก่ “กรมสรรพากร” ถ้าเป็นเช็คประเภท ก. ข.
ค. ให้ติดต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
(ข) กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 และชำระภาษีที่ธนาคาร
-กรณียื่นแบบฯ ที่ ธนาคารกรุงไทย ให้สั่งจ่าย “กรมสรรพากร” และขีดฆ่าคำว่า
“ผู้ถือ” ออก
-กรณียื่นแบบฯ ที่ ธนาคารอื่น ๆ นอกเหนือ จาก ธนาคารกรุงไทย ให้สั่งจ่าย
“สรรพากรอำเภอ..... (ระบุชื่ออำเภอ)” และขีดฆ่าคำว่า “ผู้ถือ” ออก
4. ชำระด้วยธนาณัติ
1. ผู้มีเงินได้ที่ยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร
2. ส่งธนาณัติเท่ากับจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ ไปพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 (ห้ามหักค่าธรรมเนียม ในการส่งธนาณัติ) โดยสั่งจ่าย
อ้างอิง: http://www.rd.go.th/publish/560.0.html
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม : www.rd.go.th ,

มาลินี นิยมไทย


        
www.data-sheet.net
เว็บไซต์นี้มีหน้าตาเรียบๆ ไม่ต่างไปจาก "Google" แต่จะแสดงผลการค้นหาเป็นไฟล์เอกสารนามสกุล PDF เท่านั้น คุณสามารถพิมพ์คำค้นหาทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษได้ เมื่อเจอผลการค้นหาใดที่ต้องการดาวน์โหลด ให้คลิกขวา และเลือก Save Link As ได้ทันที ก็จะได้ไฟล์เอกสารมาเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ทันที

เท่านั้นยังไม่พอเว็บไซต์นี้ยังมีผลการค้นหาในรูปแบบของภาพแถมเพิ่มมาที่ด้านล่างสุดของหน้าเพจแต่ละหน้าด้วย

นอกจากนี้แล้วก็ยังมีเว็บไซต์ที่เปิดให้ใครก็ได้เข้าไปอัปโหลดไฟล์ เอกสารของตนเองที่ต้องการเผยแพร่สู่สาธารณะชนได้นำไปใช้ประโยชน์ นั่นคือ Scribd (ที่เราเคยรีวิวไปก่อนหน้านี้)

Data-Sheet.net - Your source for eBooks! Descarga gratuita de libros electrónicos »
data-sheet.ne

นางสาวเรวดี ศรีสุข เลขที่ 231



แนวคิดและการบริหารจัดการ

การบริหารจัดการ หมายถึง การดำเนินงาน หรือการปฏิบัติงานใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐ และ/หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ (ถ้าเป็นหน่วยงานภาคเอกชน หมายถึงของหน่วยงาน และ/หรือ บุคคล) ที่เกี่ยวข้องกับคน สิ่งของและหน่วยงาน โดยครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ เช่น (1) การบริหารนโยบาย (Policy) (2) การบริหารอำนาจหน้าที่ (Authority) (3) การบริหารคุณธรรม (Morality) (4) การบริหารที่เกี่ยวข้องกับสังคม (Society) (5) การวางแผน (Planning) (6) การจัดองค์การ (Organizing) (7) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Staffing) (8) การอำนวยการ (Directing) (9) การประสานงาน (Coordinating) (10) การรายงาน (Reporting) และ (11) การงประมาณ (Budgeting) เช่นนี้ เป็นการนำ “กระบวนการบริหาร” หรือ “ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญต่อการบริหาร” ที่เรียกว่า แพ็มส์-โพสคอร์บ (PAMS-POSDCoRB

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ ในปี พ.ศ. 2548 กล่าวไว้ว่า การบริหารจัดการ (management administration) การบริหารการพัฒนา (development administration) แม้กระทั่งการบริหารการบริการ (service administration) แต่ละคำมีความหมายคล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกันที่เห็นได้อย่างชัดเจนมีอย่างน้อย 3 ส่วน คือ หนึ่ง ล้วนเป็นแนวทางหรือวิธีการบริหารงานภาครัฐที่หน่วยงานของรัฐ และ/หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ นำมาใช้ในการปฏิบัติราชการเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารราชการ สอง มีกระบวนการบริหารงานที่ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ การคิด (thinking) หรือการวางแผน (planning) การดำเนินงาน (acting) และการประเมินผล (evaluating) และ สาม มีจุดหมายปลายทาง คือ การพัฒนาประเทศไปในทิศทางที่ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้าและมั่นคงเพิ่มขึ้น สำหรับส่วนที่แตกต่างกัน คือ แต่ละคำมีจุดเน้นต่างกัน กล่าวคือ การบริหารจัดการเน้นเรื่องการนำแนวคิดการจัดการของภาคเอกชนเข้ามาใช้ในการบริหารราชการ เช่น การมุ่งหวังผลกำไร การแข่งขัน ความรวดเร็ว การตลาด การประชาสัมพันธ์ การจูงใจด้วยค่าตอบแทน การลดขั้นตอน และการลดพิธีการ เป็นต้น ในขณะที่การบริหารการพัฒนาให้ความสำคัญเรื่องการบริหารรวมทั้งการพัฒนานโยบาย แผน แผนงาน โครงการ (policy, plan, program, project) หรือกิจกรรมของหน่วยงานของรัฐ ส่วนการบริหารการบริการเน้นเรื่องการอำนวยความสะดวกและการให้บริการแก่ประชาชน (วิรัช วิรัชนิภาวรรณ, การบริหารจัดการและการบริหารการพัฒนาขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2548), หน้า 5.)

นายอัตถ์ชัย ภู่วนิช เลขที่ 213



แนวคิดและการบริหารจัดการ

คำว่า การบริหาร (administration) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน “administatrae” หมายถึง ช่วยเหลือ (assist) หรืออำนวยการ (direct) การบริหารมีความสัมพันธ์หรือมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า “minister” ซึ่งหมายถึง การรับใช้หรือผู้รับใช้ หรือผู้รับใช้รัฐ คือ รัฐมนตรี สำหรับความหมายดั้งเดิมของคำว่า administer หมายถึง การติดตามดูแลสิ่งต่าง ๆ
ส่วนคำว่า การจัดการ (management) นิยมใช้ในภาคเอกชนหรือภาคธุรกิจซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเพื่อมุ่งแสวงหากำไร (profits) หรือกำไรสูงสุด (maximum profits) สำหรับผลประโยชน์ที่จะตกแก่สาธารณะถือเป็นวัตถุประสงค์รองหรือเป็นผลพลอยได้ (by product) เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงแตกต่างจากวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งหน่วยงานภาครัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการสาธารณะทั้งหลาย (public services) แก่ประชาชน การบริหารภาครัฐทุกวันนี้หรืออาจเรียกว่า การบริหารจัดการ (management administration) เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจมากขึ้น เช่น การนำแนวคิดผู้บริหารสูงสุด (Chief Executive Officer) หรือ ซีอีโอ (CEO) มาปรับใช้ในวงราชการ การบริหารราชการด้วยความรวดเร็ว การลดพิธีการที่ไม่จำเป็น การลดขั้นตอนการปฏิบัติราชการ และการจูงใจด้วยการให้รางวัลตอบแทน เป็นต้น นอกเหนือจากการที่ภาครัฐได้เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนหรือภาคธุรกิจเข้ามารับสัมปทานจากภาครัฐ เช่น ให้สัมปทานโทรศัพท์มือถือ การขนส่ง เหล้า บุหรี่ อย่างไรก็ดี ภาคธุรกิจก็ได้ทำประโยชน์ให้แก่สาธารณะหรือประชาชนได้เช่นกัน เช่น จัดโครงการคืนกำไรให้สังคมด้วยการลดราคาสินค้า ขายสินค้าราคาถูก หรือการบริจาคเงินช่วยเหลือสังคม

สมพงศ์ เกษมสิน ในปี พ.ศ. 2514 มีความเห็นว่า การบริหาร หมายถึง การใช้ศาสตร์และศิลป์นำเอาทรัพยากรบริหาร (administrative resource) เช่น คน เงิน วัสดุสิ่งของ และการจัดการ มาประกอบการตามกระบวนการบริหาร (process of administration) เช่น POSDCoRB Model ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ (สมพงศ์ เกษมสิน, การบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เกษมสุวรรณ, 2514), หน้า 13-14

ธงชัย สันติวงษ์ ในปี พ.ศ. 2543 กล่าวถึงลักษณะของงานบริหารจัดการไว้ 3 ด้าน คือ
1) ในด้านที่เป็นผู้นำหรือหัวหน้างาน งานบริหารจัดการ หมายถึง ภาระหน้าที่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ปฏิบัติตนเป็นผู้นำภายในองค์การ
2) ในด้านของภารกิจหรือสิ่งที่ต้องทำ งานบริหารจัดการ หมายถึง การจัดระเบียบทรัพยากรต่าง ๆ ในองค์การ และการประสานกิจกรรมต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
3) ในด้านของความรับผิดชอบ งานบริหารจัดการ หมายถึง การต้องทำให้งานต่าง ๆ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีด้วยการอาศัยบุคคลต่าง ๆ เข้าด้วยกัน (ธงชัย สันติวงษ์, องค์การและการบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 11, กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช, 2543), หน้า 21-22.

รัตนาพรรณ คงกล่ำ รหัส 5130125401250

วิวัฒนาการทฤษฎีการจัดการ

แนวคิดการจัดการเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในส่วนขององค์กรภาคธุรกิจที่ฝรั่งเศสโดย Henri Fayol ผู้นำกิจการด้านถ่านหินขนาดใหญ่ของยุโรป ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 (ค.ศ. 1880 ) โดยคิดค้นทฤษฎีชื่อ “ typical manufacturing enterprise” ซึ่งเขาเห็นว่า การจัดโครงสร้างการจัดการเพียงรูปเดียวก็เหมาะสมกับธุรกิจ คือ การแบ่งองค์กรออกเป็นฝ่ายตามแต่ละหน้าที่ (Functional) เพราะขณะนั้นการจัดการภายในองค์กรเริ่มปรากฏแรงงานประเภทเฉพาะทาง (Specialist)
ภาครัฐนำมาใช้อย่างจริงจัง เมื่อกองทัพสหรัฐมีความต้องการที่จะจัดองค์กรใหม่ในปี 1901 โดย Elihu Root ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สหรัฐในรัฐบาล Theodore Roosevelt
เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การบริหารกองทัพขนาดใหญ่ที่ต้องวิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจเพื่อข้อมูลไปสู่การผลิตอาวุธได้ตามความต้องการ การบริหารกองทัพกลับไม่เหมาะกับทฤษฎีตามหน้าที่ (Functional) ของ Fayol เพราะเป็นการบริหารแบบ Centralization ที่รวมศูนย์อำนาจไว้จุดเดียว การแก้ไขก็คือต้องการเป็นการกระจายอำนาจการตัดสินใจออกไปในแต่ละหน่วยแบบลดหลั่นกันหรือ Decentralization
หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง Pierre S. Du Pont และ Alfred P. Sloan ได้พัฒนาการจัดการแบบ Decentralization ขึ้นมา ซึ่งกลายเป็นหลักการสำคัญหนึ่งในประวัติศาสตร์ ของการจัดการในเชิงศาสตร์นั้นก่อนทศวรรษ เริ่มสนใจศาสตร์การจัดการสมัยใหม่ในเชิงวิชาการ เริ่มจาก Frederick Winslow Taylor พวกเขานิยมว่า “การจัดการ” ถูกนิยามว่า คือ “สิ่งที่ว่าด้วยองค์กร ไม่ใช่แค่ธุรกิจ แต่ละองค์กรจะแตกต่างกันเพียงวิธีการเท่านั้น”
ช่วงทศวรรษที่ 1950 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง คำว่า “ธุรกิจ” มีความสำคัญมากขึ้น นักธุรกิจอเมริกันประสบความสำเร็จจากการจัดการธุรกิจระหว่างสงคราม ทำให้หลักการจัดการธุรกิจได้รับความสนใจมากขึ้น
เมื่อได้มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นในโลก (ประมาณปี ค.ศ. 1880 เป็นต้นมา) สังคมเศรษฐกิจก้าวเข้าสู่ยุคโรงงาน และมีการนำเอาเครื่องจักรมาใช้ ปัญหาด้านการจัดการจึงเป็นสิ่งจำเป็น ต่อมาได้เกิดระบบโรงงาน โดยมีการลงทุน มีการใช้เครื่องจักร มีการผลิตแบบผลิตขนานใหญ่ รวมทั้งการแบ่งงานกันทำตามความถนัด ส่งผลกระทบทำให้รูปแบบการผลิตและการจัดการยุ่งยากและสลับซับซ้อน บทบาทของเจ้าของกิจการที่ต้องทำงานด้านการจัดการจึงสัดส่วนมากขึ้น มีการแยกหน้าที่การจัดการออกจากเจ้าของกิจการ โดยแบ่งเป็นหน้าที่งานการจัดการ สำหรับผู้บริหารกลุ่มใหม่ ที่เรียกว่า ผู้บริหารมืออาชีพ (Professional manager)
“การจัดการที่มีหลักเกณฑ์” โดย Frederick W. Taylor จึงได้เกิดขึ้นมาเป็นครั้งแรก และได้มีวิวัฒนาการเรื่อยมาตามลำดับ ได้แบ่งวิธีการศึกษาแนวความคิดต่าง ๆ ทางการจัดการเป็น 3 แนวความคิดดังนี้
1. แนวความคิดการจัดการสมัยเดิม
1.1 การจัดการที่มีหลักเกณฑ์ (Scientific management)
1.2 การจัดการตามหลักการจัดการทั่วไป (General principles of management)

2. แนวความคิดการจัดการcแนวมนุษยสัมพันธ์
2.1 การจัดการตามแบบมนุษยสัมพันธ์ (Human relations management)
2.2 การจัดการแบบพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral sciences management)
3. แนวความคิดการจัดการแนวใหม่
3.1 การจัดการแบบตัดสินใจ (Decisional approach management)
3.2 การจัดการตามสถานการณ์ (Situational approach management)
3.3 การจัดการเชิงระบบและเชิงกระบวนการ (System and process approach management)
3.4 การจัดการเชิงปริมาณ (Quantitative approach management)
2. แนวความคิดการจัดการสมัยเดิม
1.1 การจัดการที่มีหลักเกณฑ์ (Scientific management)
1.2 การจัดการตามหลักการจัดการทั่วไป (General principles of management)

http://uhost.rmutp.ac.th/kanlayanee.so/index-Lesson.htm

นางสาววัชรี ทองห่อ รหัส 5210125401052 การจัดการทั่วไป

การชำระภาษีด้วยวิธีใดบ้าง ?
การชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นอกจากผู้เสียภาษี จะชำระภาษีโดยการ ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว ถ้าในการยื่นแบบ แสดงรายการ และคำนวณภาษี ตามแบบแสดงรายการ ที่ยื่นนั้น มีภาษีที่ต้องชำระ หรือต้องชำระเพิ่มเติมอีก ก็ให้ชำระ หรือชำระเพิ่มเติม ต่อเจ้าหน้าที่สรรพากร พร้อมกับ การยื่นแบบนั้น โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับชำระ จะออกหลักฐานใบเสร็จ แสดงการรับเงินภาษี และถือเป็นหลักฐาน แสดงการยื่นแบบฯ ให้กับ ผู้ยื่นแบบแสดงรายการ ทุกราย การชำระภาษีเลือกวิธีการชำระได้ดังนี้
1. ชำระด้วยเงินสด
2. ชำระด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ได้เฉพาะที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตกรุงเทพมหานคร (โดยผู้ถือบัตรอิเล็กทรอนิกส์เป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียม)
3. ชำระด้วยเช็คหรือดราฟต์
3.1 เช็คที่ชำระต้องเป็นเช็ค 4 ประเภท ได้แก่
(1) เช็คธนาคารแห่งประเทศไทย (เช็คประเภท ก.)
(2) เช็คที่มีธนาคารค้ำประกัน (เช็คประเภท ข.)
(3) เช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย (เช็คประเภท ค.)
(4) เช็คที่ผู้มีหน้าที่ชำระเงินภาษีอากรเป็นผู้เซ็นสั่งจ่าย และใช้ชำระโดยตรง (เช็คประเภท ง.)
การใช้เช็คประเภท ง. ให้ปฏิบัติดังนี้
(ก) กรณีใช้ชำระภาษีในกรุงเทพมหานคร และในจังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร (เฉพาะอำเภอเมืองสมุทรสาคร และอำเภอกระทุ่มแบน) จังหวัดนครปฐม (เฉพาะอำเภอสามพราน) และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (เฉพาะอำเภอบางปะอิน) ต้องเป็นเช็คของธนาคาร หรือสาขาธนาคาร ซึ่งตั้งอยู่ใน ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งข้างต้นเท่านั้น
(ข) กรณีใช้ชำระภาษีในจังหวัด (อำเภอ) อื่นนอกจาก (ก) ให้ใช้ได้เฉพาะกรณีที่เปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารหรือ สาขาธนาคารซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดท้องที่อันเป็นภูมิลำเนาเท่านั้น
3.2 การสั่งจ่ายเช็คหรือดราฟต์ ให้ขีดคร่อม และสั่งจ่ายดังนี้
(1) ในกรุงเทพมหานคร ให้สั่งจ่าย “กรมสรรพากร” กับขีดฆ่าคำว่า “ผู้ถือ” ออก
(2) ในต่างจังหวัด
(ก) กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 และชำระภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
หรือธนาคารด้วยเช็คประเภท ง. ให้สั่งจ่ายแก่ “กรมสรรพากร” ถ้าเป็นเช็คประเภท ก. ข.
ค. ให้ติดต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
(ข) กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 และชำระภาษีที่ธนาคาร
-กรณียื่นแบบฯ ที่ ธนาคารกรุงไทย ให้สั่งจ่าย “กรมสรรพากร” และขีดฆ่าคำว่า
“ผู้ถือ” ออก
-กรณียื่นแบบฯ ที่ ธนาคารอื่น ๆ นอกเหนือ จาก ธนาคารกรุงไทย ให้สั่งจ่าย
“สรรพากรอำเภอ..... (ระบุชื่ออำเภอ)” และขีดฆ่าคำว่า “ผู้ถือ” ออก
4. ชำระด้วยธนาณัติ
1. ผู้มีเงินได้ที่ยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร
2. ส่งธนาณัติเท่ากับจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ ไปพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 (ห้ามหักค่าธรรมเนียม ในการส่งธนาณัติ) โดยสั่งจ่าย
อ้างอิง: http://www.rd.go.th/publish/560.0.html
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม : www.rd.go.th ,

Narin Sorananuphap

ทฤษฎีสองปัจจัยของเฮอร์เบิร์ก (Herzberg’ Two –Tactor Theory ) ( เพิ่มเติม )
เป็นทฤษฎีที่เสนอแนะว่าความพึงพอใจในการทำงานประกอบด้วยสองแนวคิด (ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ .2545 :313-315 ) คือ
1. แนวคิดที่มีขอบเขตจากความพึงพอใจ (Satisfaction) ไปยังความพึงพอใจ (Satisfaction) และได้รับอิทธิพลจากปัจจัยจูงใจ (Motivation Factor)
2. แนวคิดที่มีขอบเขตจากความไม่พึงพอใจ (Dissatisfaction) ไปยังความไม่มีความไม่พอใจ (no dissatisfaction) และได้รับอิทธิพลจากปัจจัยอนามัย (Hygiene Factor)
ทฤษฎีนี้ได้มีการพัฒนาโดย เฮอร์เบิร์ก ในปี ค.ศ.1950-1959 และในช่วงแรกของปี ค.ศ.1960-1969 ทฤษฎี 2 ปัจจัยประกอบด้วย 1 ปัจจัยจูงใจหรือจูงใจ 2 ปัจจัยการธำรงรักษาหรือปัจจัยสุขอนามัยดังภาพที่ 3 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ปัจจัยการจูงหรือตัวจูงใจ (Motivation Factor หรือ Motivators ) เป็นปัจจัยภายนอก (ความต้องการภายใน) ของบุคคลที่มีอิทธิพลในการสร้างความพึงพอใจในการทำงาน (job satisfiers ) เช่น ความก้าวหน้า ความสำเร็จ การยกย่อง เป็นต้น
2. ปัจจัยการธำรงรักษา (Maintenance Factor ) หรือปัจจัยอนามัย (hygiene factor ) เป็นปัจจัยภายนอกที่ป้องกันไม่ให้พนักงานเกิดความไม่พึงพอใจในการทำงาน การเสนอสุขอนามัยไม่ใช่วิธีการจูงใจที่ดีที่สุดในทัศนะของ เฮอร์เบิร์ก แต่เป็นการป้องกันความไม่พอใจ ประกอบด้วยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานหรือการขาดงานของพนักงาน เช่น นโยบายบริษัท การบังคับบัญชา ความมั่นคงในงาน ค่าตอบแทน สภาพการทำงาน

อัญชลี คำประชม

บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารจัดการที่สำคัญ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
เทคนิคการบริหารดุลยภาพ Balance Score Card หรือที่เรียกว่า การบริหารเชิงควบคุม ของเดวิด นอร์ตัน และแคปแลนด์
การบริหารจัดการสมัยใหม่ต้องมียุทธศาสตร์เป็นความเข้าใจกันอยู่ในปัจจุบัน กล่าวคือจะมีการให้ความสำคัญกับความชัดเจนในทิศทางอันหมายถึงเป้าหมายของการบริหารงานที่เกิดจากความริเริ่มเมื่อพนักงานเห็นทิศทางของงานขององค์กรชัดเจน จึงมุ่งที่จะสัมผัสทิศทางนั้นให้ได้ ดั้งนั้นเส้นทางหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานสามารถปรับเปลี่ยนเพื่อให้สั้นเข้า ลดความซับซ้อน ย่นระยะเวลาได้ยิ่งดี ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในเวลาอันรสเร็ว นี่คือพื้นฐานแนวคิดของการบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์ที่สามารถกำชัยชนะในเวลาอันรวดเร็ว
การบริหารจัดการควรมีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะปรับโครงสร้างและกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายงานและองค์กรได้ตลอดเวลาถ้าเราแนวคิดของ เดวิด นอร์ตันและแคปแลนต์ มาวิเคราะห์จะพบว่าการบริหารงานองค์กรนั้นเขาบอกว่าจะสร้างหรือพัฒนาความเข้มแข็งองค์ประกอบการบริหารทั้งสี่ด้านคือ ด้านการเงิน ด้านกระบวนการ การบริหารงานภายใน ด้านการเรียนรู้ การเติบโต และด้านลูกค้า โดยแต่ละด้าน จะต้องมีการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ทั้งในทางส่งเสริม สนับสนุนหรือขัดแย้งกัน
เดวิด นอร์ตัน และแคปแลนด์ เสนอให้ใช้เทคนิคการบริหารดุลยภาพบาร์ลาน สกอการ์ด เป็นเครื่องมือในการจัดการทรัพยากรขององค์กรให้สามารถวัดผลการดำเนินงานให้ออกมาเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของเงินหรือคุณค่าหรือศักยภาพที่จะทำให้กระบวนการบริหารจัดการงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเรียกการบริหารงานในลักษณะนี้ว่าการบริหารงานแบบมียุทธศาสตร์และเราก็ยอมรับกันว่าเป็นการบริหารงานแบบใหม่ (Modern Management) อีกรูปแบบหนึ่ง
หากเรายอมรับเอาแนวคิดการบริหารดุลยภาพ BSC เป็นการแบ่งยุคการบริหารสมัยเก่าและสมัยใหม่ โดยใช้จุดกำเนิดการบริหารดุลยภาพ BSC ราวปี 2533 ซึ่งในปีนี้ เดวิด นอร์ตัน และแคปแลนด์ได้ทำการวิจัยผลการดำเนินงานขององค์กรชื่อ Measuring Performance in the Organization Of the Future เป็นจุดการแบ่งความเก่า ความใหม่ ของแนวคิดและเทคนิคการบริหารจัดการคงจะยอมรับกันได้ การยอมรับเช่นนี้ก็ไม่ได้เสียหายแต่ประการใด หากยังอธิบายลักษณะการบริหารจัดการที่ชัดเจน ง่ายต่อการเข้าใจ มากขึ้น เสียอีก
นับตั้งแต่การกำเนิดการบริหารดุลยภาพ BSC วงการบริหารจัดการได้มีการกล่าวถึงอย่างจริงจังมาจนถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะช่วงวิฤตเศรษฐกิจต่างๆ ทั้งในอเมริกาใต้ และเอเชียรวมทั้งประเทศไทยมีการนำเอาเทคนิค BSC ไปประยุกต์ใช้กันอย่างกว้างขว้างทั้งภาครัฐและเอกชน
แม้ว่าเครื่องมือการบริหารดุลยภาพ BSC มิใช่เครื่องมือที่ดีที่สุดที่จะอธิบายถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของการบริหารจัดการก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีเครื่องมือใดที่จะเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันที่จะอธิบายการบริหารงานแบบมียุทธ์ศาสตร์ โดยเฉพาะกรอบการบริหารดุลยภาพ BSC
ที่มา: นิรนาม เทียมทัน. (2549). การบริหารงานอย่างมียุทธ์ศิลป์ . กรุงเทพฯ

นาย ภานุมาศ คงประเสริฐ รหัส 203 การจัดการทั่วไป



@ การศึกษาการจัดการเชิงปริมาณ(The quantitative management approach)เป็นทัศนะการจัดการซึ่ง นำเทคนิคทางคณิตศาสตร์ เครื่องมือสถิติและข้อมูลมาเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาทางการบริหารจัดการศาสตร์การจัดการ(Management science) หรือการวิจัยการปฏิบัติการ(Operation research)เป็นทัศนะการบริหาร เชิงปริมาณซึ่งประยุกต์ใช้โมคณิตศาสตร์ในการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆผู้ตัดสินใจจะใช้หลักเกณฑ์เชิงปริมาณในการเลือกระหว่างทางเลือกต่าง ๆ ที่มีอยู่ โดยเฉพาะในการวางแผนการจัดการปฏิบัติการ(Operations management)เป็นการบริหารซึ่งใช้เทคนิคเชิงปริมาณเพื่อปรับปรุงผลผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าและบริการเช่น การจัดการสินค้าคงเหลือ (Inventory management)เพื่อปรับปรุงการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการระบบข้อมูลการจัดการ(Management System : MIS)เป็นการบริหารจัดการที่มุ่งการเก็บรวบรวมข้อมูล และการส่งข้อมูล เพื่อสนับสนุนหน้าที่การจัดการ เช่นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์



แหล่งที่มา http://ptt-poy.blogspot.com/2008/12/management

นาย กระวี หิรัญวงศ์ รหัส 253 การจัดการทั่วไป



Frank B. And LillianM. Gilbreth (1868-1924 & 1878-1972)Gilbreths เป็นอีกคู่หนึ่งที่สนใจศึกษาในเรื่องเวลาและการเคลื่อนไหวพวกเขาได้นำกล้องถ่ายรูปและภาพถ่ายมาใช้ศึกษาลักษณะการทำงานของมนุษย์ทฤษฎีการจัดการตามระบบราชการ (Bureaucratic management)Max Weber (1864-1920)องค์การควรจะถูกบริหารบนพื้นฐานของเหตุผล และไม่เป็นส่วนตัวลักษณะที่สำคัญขององค์การแบบราชการของเวเบอร์ คือ

· มีการแบ่งงานกันทำเฉพาะด้าน

· มีการระบุสายการบังคับบัญชาอย่างชัดเจน

· บุคคลจะถูกคัดเลือกและเลื่อนตำแหน่งบนพื้นฐานของคุณสมบัติทางเทคนิค

· การบริหารกับการเป็นเจ้าขององค์การจะถูกแยกจากกัน

· ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่บนพื้นฐานของความไม่เป็นส่วนตัว

· มีการกำหนดกฎและระเบียบวิธีปฏิบัติการไว้อย่างเป็นทางการทฤษฎีการจัดการตามแบบหลักการบริหาร (Administrative management)Henri Fayol (1841-1925)เป็นบิดาของทฤษฎีการจัดการการปฏิบัติการ(Operational management theory)หรือบางทางก็ถือกันว่าเป็นบิดาของการบริหารจัดการสมัยใหม่เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ (Managerial activities) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมห้าอย่างคือการวางแผน(Planning), การจัดองค์การ(Organizing), การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ (Commanding),การประสานงาน (Coordinating), และการควบคุม (Controlling)






แหล่งที่มา http://ptt-poy.blogspot.com/2008/12/management-theory-1.html

น.ส.วรรณภา ปั้นนาค รหัส 5210125401038 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 ภาคปกติ

เว็บไซต์ www.greenpeace.or.th
เป็นเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรณรงค์ ทำหน้าที่พิทักษ์โลก ธรรมชาติ และส่งเสริมสันติภาพและในฐานะที่เราเป็นองค์กรระดับโลก เป้าหมายของกรีนพีซจึงเป็นการมุ่งป้องกันและยุติภัยคุกคามที่ร้ายแรงต่อความหลากหลายทางชีวภาพของโลกและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวเรา กรีนพีซเป็นองค์กรอิสระระดับโลกที่ลงมือทำเพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติ และพฤติกรรม ปกป้องและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และ ส่งเสริมสันติภาพ โดยทำสิ่งต่อไปนี้
• เร่งให้มีการพัฒนาพลังงานสะอาด เพื่อรับมือกับภัยคุกคามอันดับหนึ่งที่โลกต้องเผชิญอยู่ นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ภาวะโลกร้อน)
• ปกป้องคุ้มครองมหาสมุทรของเรา โดยสร้างความท้าทายกับการประมงที่เกินขนาดและทำลายล้าง พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายระดับโลกเพื่อการอนุรักษ์ทางทะเล
• ปกป้องผืนป่าดั้งเดิมของโลก รวมทั้งสัตว์พืช และคนที่ต้องพึ่งพาอาศัยป่า
• ทำงานเพื่อยุติการใช้อาวุธและสร้างสันติภาพบนโลก โดยจัดการกับสาเหตุของความขัดแย้ง และเรียกร้องให้มีการยกเลิกการใช้อาวุธนิวเคลียร์
• สร้างอนาคตที่ปราศจากสารพิษ ด้วยการใช้ทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าการใช้สารพิษในผลิตภัณฑ์ต่างๆและในโรงงานอุตสาหกรรม
• รณรงค์เพื่อการเกษตรแบบยั่งยืน โดยการปฏิเสธพืชตัดต่อพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) เพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ และสนับสนุนให้มีเกษตรกรรมที่รับผิดชอบต่อสังคม
กรีนพีซมีสำนักงานใน 40 ประเทศทั่วยุโรป อเมริกา เอเชีย อัฟริกา และ แปซิฟิค
เพื่อรักษาความเป็นอิสระเอาไว้ กรีนพีซไม่รับเงินบริจาคจากรัฐบาลหรือบริษัท แต่พึ่งพาเงินบริจาคจากผู้สนับสนุนรายบุคคล และเงินบริจาคจากมูลนิธิ
กรีนพีซรณรงค์ต่อต้านความเสื่อมถอยทางสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่พ.ศ. 2514 เมื่อเรือลำเล็กๆ ที่มีอาสาสมัครและนักข่าวล่องไปสู่หมู่เกาะอัมชิตกา ทางเหนือของรัฐอลาสก้า ที่ซึ่งรัฐบาลสหรัฐกำลังทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน ธรรมเนียม "การเป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" อย่างปราศจากความรุนแรงนี้ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน และเรือของเราเป็นส่วนสำคัญของงานรณรงค์ทั้งหมดของเรา
กรีนพีซดำรงอยู่เพื่อเปิดโปงอาชญากรรมทางสิ่งแวดล้อม และเพื่อท้าทายรัฐบาลและบริษัทที่ประสบความล้มเหลวที่จะดำเนินงานตามหน้าที่ในการปกป้องสิ่งแวดล้อมและอนาคตของเรา
ในการปฏิบัติภาระกิจของกรีนพีซนั่น กรีนพีซไม่มีพันธมิตรหรือศัตรูถาวร กรีนพีซส่งเสริมการถกเถียงที่เปิดเผยและเสนอข้อมูลทางเลือกด้านสิ่งแวดล้อมให้กับสังคม ใช้งานวิจัย การล๊อบบี้ และการเจรจาแบบสันติ เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย รวมถึงการสร้างข้อขัดแย้งแบบสันติวิธีที่ได้รับความสนใจจากสาธารณชน เพื่อเพิ่มความเข้มข้นและคุณภาพของการถกเถียงของสาธารณชนและกรีนพีซเชื่อว่าการดิ้นรนเพื่อปกป้องอนาคตของโลกเราไม่ใช่การ ทำเพื่อเรา แต่เพื่อคุณ กรีนพีซเป็นกระบอกเสียงของผู้สนับสนุน 2.8 ล้านคนทั่วโลก และกระตุ้นให้ประชาชนอีกหลายล้านคนลงมือทำทุกๆ วัน
ชื่อเรือของกรีนพีซ คือ เรนโบว์ วอร์ริเออร์ (นักรบสายรุ้ง) นำมาจากตำนานชนพื้นเมืองเผ่าครีในอเมริกาเหนือ ชื่อนี้สื่อถึงยุคสมัยที่ความละโมบของมนุษยชาติทำให้โลกล้มป่วย ในช่วงนั้นชนเผ่าหนึ่ง ซึ่งรู้จักกันในชื่อนักรบแห่งสายรุ้งได้ยืนหยัดขึ้นเพื่อปกป้องโลก
ป้ายผ้าที่มีข้อความยาวที่สุดที่กรีนพีซเคยทำสรุปทุกอย่างเอาไว้ ข้อความนั้นคือ "เมื่อต้นไม้ต้นสุดท้ายถูกโค่น แม่น้ำสายสุดท้ายปนเปื้อนด้วยมลพิษ และปลาตัวสุดท้ายตายไป เราจะค้นพบว่ามีเงินก็อยู่ไม่ได้..."


เพื่อนๆสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก www.greenpeace.or.th เราทุกคนสามรถช่วยโลกของเราได้นะคะ


ขอบคุณขอมูลจาก www.greenpeace.or.th